ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ผู้หญิงกับโอกาสและความท้าทายในโลก Tech Startup
เปิดมุมมอง คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ หรือคุณมิหมี CEO & Co-Founder หญิงแห่งบริษัท Techsauce Media ที่มาแบ่งปันประสบการณ์บริหารธุรกิจแพลตฟอร์มสนับสนุนสตาร์ทอัพและ Tech Ecosystem ไทยท่ามกลางวิกฤต และโอกาสของผู้ประกอบการหญิงในโลกธุรกิจ Tech Startup
อนาคตของผู้หญิงในโลกธุรกิจเป็นอย่างไร?
จากประสบการณ์ทำงานสายวิศวกรรมและเทคโนโลยี ส่วนตัวคุณมิหมีไม่ได้มองความแตกต่างระหว่างหญิงชาย แต่ให้คุณค่ากับความหลากหลายทางเพศรวมถึง LGBTQ ที่ทุกคนล้วนมีความสามารถ เช่น Audrey Tang รมต.กระทรวงดิจิทัล ไต้หวัน ที่เป็นผู้นำความคิดสาย Tech ที่ทาง Techsauce เคยเชิญมาร่วมงาน Techsauce Global Summit คุณมิหมีมองว่าสิ่งสำคัญคือการให้คุณค่าคนจากความสามารถที่เขามี ไม่เกี่ยวว่าเขาจะเป็นเพศอะไร
ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญวิกฤต มนุษย์ทุกคนคือปัจเจก ดังนั้นความเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ คือคนที่พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
ในส่วนของผู้ประกอบการหญิงจะมีจุดเด่นในการประสานความแตกต่างและจูงใจให้คนเชื่อมั่นและฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน และจากการที่ฟันฝ่าช่วงเวลาแห่งความวิกฤต คุณมิหมีถอดบทเรียนที่ผู้นำควรจะเรียนรู้ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
1.
Strategy development in a rapidly changing world
: จากที่มีวิกฤตโควิด-19 ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนว่าอาจเกิดวิกฤตขึ้นมาได้ตลอดเวลาและไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ แม้เราจะไม่สามารถพัฒนา Skill Set รับมือได้ แต่การมี Mindset ที่ถูกต้องจะช่วยรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น
· Define Extreme but Plausible Scenarios: Mindset ที่เราเตรียมพร้อมกับการคิด Worst Care เสมอ แต่การทำแผน Scenario Best Case/ Base Case/ Worst Case ยังไม่พอ ต้องมีการคิดนอกกรอบ หาไอเดียใหม่ น่านน้ำใหม่ ตามหลัก The Ansoff Matrix (Market Development, Market Penetration, Diversification, Product Development)
· Leadership’s style: เมื่อเกิดวิกฤต ทุกธุรกิจต้องประสบกับรายได้ที่ลดลง ขณะที่ยังมีค่าใช้จ่ายต้นทุนอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ปัญหาเรื่องกระแสเงินสดและการปรับลดคนเพื่อความอยู่รอด ในสถานการณ์นี้ คุณมิหมีเลือกที่จะประคองทีมทุกคนให้รอดไปด้วยกัน ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกคนต้องยอมปรับลดค่าตอบแทน และปรับตัว Upskill, Reskill เพื่อทำโปรดักส์ใหม่ๆ ในภาวะเช่นนี้ ความเด็ดขาดและชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำทีมงานไปสู่ทิศทางใหม่
2.
Leadership’s mindset
: ความคิดของผู้ประกอบการที่จะลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ผลงานใหม่ออกมา ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญของการทดลองคือการได้เรียนรู้จากความผิดพลาดและนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยคุณมิหมีกล่าวถึงทฤษฎี Business Model Portfolio จากหนังสือ The Invincible Company ที่ว่าด้วยในวันที่สถานการณ์ทุกอย่างดี ธุรกิจส่วนใหญ่จะโฟกัสกับธุรกิจ Cash Cow แต่ในขณะเดียวกันควรเริ่มมองหา Business Model ใหม่ควบคู่กันไปด้วย
ตัวอย่างเคสของ Ping An Insurance บริษัทประกันภัยและการเงินชั้นนำของจีน ภายใต้การนำของ Peter MA ที่เป็น Founder และ CEO โดยเมื่อธุรกิจประกันภัยรูปแบบเดิมต้องเผชิญความท้าทายจากโลกดิจิทัล MA ก็ตัดสินใจหาคนรุ่นใหม่อย่าง Jessica Tan มาเป็น Co-CEO ใช้ดิจิทัลพัฒนาธุรกิจเดิม ทำ Digital Transformation เสริม Core Business รวมไปถึงขยายธุรกิจใหม่ เช่น Telemed, Microlending และทำ Partnership กับสตาร์ทอัพอื่นๆ การ Diversify ธุรกิจของ Ping An ต่อยอดไปสู่ ONECONNECT ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่คิดค้นขึ้นมาใช้ในธุรกิจตัวเองออกให้บริการลูกค้ารายอื่น สร้างรายได้ให้บริษัท
3.
Experiment: Build Measure and Learn
: เมื่อธุรกิจเจอกับสถานการณ์วิกฤต Leader ต้องสร้าง Mindset ทีมงานให้มองว่า Fail เป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่จะนำไปเรียนรู้และปรับปรุง ดังนั้นจากไอเดียจำนวนมาก จะถูกนำไปทดลองทำจริงว่าจะไปต่อได้หรือไม่ เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างทางความคิดให้ทีมงานตั้งคำถาม เสนอไอเดีย กล้าทดสอบ วัดผล และเรียนรู้
4.
Agile Culture & Mindset
: วิกฤตโควิดให้บทเรียนสำคัญเกี่ยวกับ New Era ที่ทุกคนต้องพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเข้ามากระทบและพร้อมปรับเปลี่ยนรับสถานการณ์ หนึ่งในสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือการสร้าง Agile Culture ในองค์กร ประกอบด้วยการสร้าง Trust & Empowerment ให้ทีมงาน นำเสนองาน Prototype ที่จะไปทดลองตลาดได้, มุ่งเน้น Customer-Centric ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ธุรกิจ พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความคิดเห็นของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ธุรกิจ
5.
Go far, Go Together
: คีย์สำคัญของการทำธุรกิจปัจจุบัน คือการจับมือร่วมกันกับพันธมิตรธุรกิจและเติบโตไปด้วยกัน
ในมุมมองของคุณมิหมี สถานการณ์วิกฤตเป็นสิ่งที่เรามีโอกาสเจอได้ตลอดเวลา ทุกๆ วันก็เหมือนวิกฤต ให้ทำเต็มที่แล้วอยู่กับปัจจุบัน Change เป็นโอกาสที่จะอยู่รอดได้ ถ้าไม่ปรับตัวก็จะอยู่รอดยาก แนวคิดการมองปัญหาเป็นส่วนหนึ่งชองชีวิตสามารถใช้กับทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย.
ความท้าทายของผู้หญิงในธุรกิจสตาร์ทอัพ
จากสถิติ*เกี่ยวกับผู้หญิงที่เป็น Founder หรือ Co-Founder สตาร์ทอัพทั่วโลก พบว่า Founder หรือ Co-Founder ผู้หญิง สามารถสร้างรายได้ให้กิจการได้สูงกว่าผู้ชาย ($730,000 vs $662,000) แต่ในมุมของการลงทุนพบว่า สตาร์อัพของ Founder/Co-Founder หญิงกลับได้รับเงินลงทุนน้อยกว่ากิจการของ Founder ผู้ชายล้วนมากกว่าครึ่ง ($935,000 vs $2,120,000)
คุณมิหมีได้ไปพูดคุยถามความเห็นเกี่ยวกับสถิติดังกล่าวกับนักลงทุนในไทย ซึ่งได้รับคำตอบว่าผู้หญิงถูกมองว่าต่อไปจะมีครอบครัว แต่งงานมีลูก แล้วอาจจะไม่มีโฟกัสทางธุรกิจ จึงอยากจะลงทุนในกิจการของผู้ชายที่น่าจะโฟกัสเรื่องงานมากกว่า เหตุผลที่สองที่คุยในกลุ่ม Founder และนักลงทุน คือ นักลงทุนในโลก Tech และ Digital (VC) ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ความสัมพันธ์ในเชิงสังคม (Connection) ที่จะดีลธุรกิจกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจึงไม่เหมือนกับผู้ชายกับผู้ชาย และเมื่อย้อนกลับไปดูสถิติกลุ่มนักลงทุน (VC) ในสหรัฐ** พบว่า VC ที่มีอำนาจในระดับการตัดสินใจได้ในองค์กร เป็นผู้หญิงเพียง 13% ขณะที่ 64% ของ VC ในสหรัฐไม่มีพาร์ทเนอร์ผู้หญิงเลย และจะมี 14% ของเงินทุน VC เท่านั้นที่จะไปลงทุนในสตาร์ทัพที่ Founder มีผู้หญิงอยู่ในทีม
*MassChallenge, BCG Publication “Why Women-Owned Startups Are a Better Bet”
**Crunchbase
คุณมิหมีมองว่าในภาวะที่ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อทัศนคติของนักลงทุนผู้ชายได้ สิ่งที่ทำได้คือการเพิ่มปริมาณนักลงทุนผู้หญิงหรือโปรแกรมสนับสนุนผู้ประกอบการหญิง สร้าง Role Model ผู้ประกอบการหญิง นักลงทุนหญิง และในฐานะที่คุณมิหมีเป็น Ecosystem Builder ของวงการสตาร์อัพไทย ก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการผสมผสานความหลากหลายทางเพศ (Diversity) เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงบนเวทีฟอรั่ม โดยเน้นการเพิ่มผู้ร่วมเสวนา (Panelist) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อเป็น Role Model สร้างแรงบันดาลใจ และทำให้ความคิดเห็นบนเวทีมีมิติที่หลากหลาย ทั้งนี้ คุณมิหมีเชื่อว่าทุกสังคมที่มีความหลากหลายจะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผล (Productivity) และความสร้างสรรค์ (Creativity) มากขึ้น
ที่มา : การสัมมนา NIA SCB IBE#4 Innovative Women Enterprise พลังแห่งผู้นำหญิงสู่องค์กรฐานนวัตกรรม : “Future of Women Entrepreneur in the Next Era” คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder บริษัท Techsauce Media