ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
รายชื่อคณะกรรมการบริหาร | |
---|---|
1. พ.ต.อ.ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม | ประธานกรรมการบริหาร |
2. นายอาทิตย์ นันทวิทยา | กรรมการ |
3. นายประสัณห์ เชื้อพานิช | กรรมการ |
4. นายกานต์ ตระกูลฮุน | กรรมการ |
5. นาย กฤษณ์ จันทโนทก | กรรมการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการดำเนินการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ นโยบาย รวมถึงระเบียบของธนาคาร และมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของธนาคาร ตลอดจนดำเนินการต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคาร มอบหมาย เพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของธนาคาร และสอดคล้องกับพันธกิจของธนาคาร รวมทั้งมีหน้าที่ส่งเสริมให้มีการบริหารกิจการให้เป็นไปตามค่านิยมหลักของธนาคาร
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารยังมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในเรื่องดังต่อไปนี้
รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ | |
---|---|
1. นายเชาวลิต เอกบุตร | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. ดร.พสุ เดชะรินทร์ | กรรมการ |
3. นางปริศนา ประหารข้าศึก | กรรมการ |
นางสาวนิภาภรณ์ กุลเลิศประเสริฐ | เลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคาร โดยการให้คำแนะนำอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมเกี่ยวกับความเพียงพอของการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ค่านิยมและจริยธรรม
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับค่านิยมและจริยธรรมของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ คณะกรรมการตรวจสอบจะ
2 การกำกับดูแลองค์กร
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับกระบวนการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะทบทวนและให้คำแนะนำในกระบวนการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มธนาคารเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้
3 การบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะ
4 การทุจริต
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการป้องกันและตรวจพบการทุจริตของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะ
5 การควบคุมภายใน
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกลุ่มธนาคาร เพื่อที่จะตอบสนองความเสี่ยงที่มีอยู่ในกระบวนการกำกับดูแลกิจการ กระบวนการปฏิบัติงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจสอบจะ
6 การกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
คณะกรรมการตรวจสอบจะ
7 งานตรวจสอบภายใน
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มธนาคารคณะกรรมการตรวจสอบจะกำกับดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
7.1 กฎบัตรการตรวจสอบภายในและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
7.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบ
7.3 กลยุทธ์ของหน่วยงานตรวจสอบภายในและแผนงาน
7.4 งานตรวจสอบและการติดตาม
7.5 การปฏิบัติตามมาตรฐาน
8 หน่วยงานกำกับและควบคุม
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานกำกับและควบคุมของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะกำกับดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
9 ผู้สอบบัญชี
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับงานของผู้สอบบัญชีภายนอกของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การนำเสนอผลการตรวจสอบรายงานทางการเงิน และการหารือผลการตรวจสอบรวมถึงคำแนะนำสำหรับฝ่ายบริหาร โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะ
10 รายงานทางการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการกำกับดูแล (Oversight) การตรวจสอบรายงานทางการเงิน อย่างเป็นอิสระของกลุ่มธนาคาร รวมถึงดูแลให้มีการแก้ไขข้อตรวจพบในประเด็นต่างๆ เช่น การควบคุมภายใน กฎหมาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบและจริยธรรม โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะ
11 ความรับผิดชอบอื่นๆ
คณะกรรมการตรวจสอบจะ
การรายงาน
คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานสรุปการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการธนาคารเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย
รายชื่อคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล | |
---|---|
1. นายกานต์ ตระกูลฮุน | ประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล |
2. ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล | กรรมการ |
3. ดร. ประสงค์ วินัยแพทย์ | กรรมการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการ NCCG มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการสรรหาและการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการ ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร และการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร ตลอดจนการดำเนินการเรื่องอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
1. ด้านสรรหา
1.1 การสรรหากรรมการ
1.2 การสรรหาผู้มีอำนาจในการจัดการและที่ปรึกษาของธนาคาร
1.3 การสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัทย่อยของธนาคาร
กำกับดูแล กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคารให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ได้กรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน
นอกจากนี้ คณะกรรมการ NCCG ยังมีหน้าที่ดูแลให้มีการเปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการในรายงานประจำปีของธนาคาร และส่งนโยบายให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ
2 ด้านค่าตอบแทน
2.1 ค่าตอบแทนของกรรมการ
2.2 ค่าตอบแทนของผู้มีอำนาจในการจัดการ
2.3 ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคาร
กำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และการจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการของบริษัทย่อยของธนาคารให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ และกำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดแก่ผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคาร โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนที่ชัดเจน โปร่งใส และสอดคล้องกับความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน
3. ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร
3.1 พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ของธนาคาร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและพัฒนากรรมการและบุคลากรของธนาคารให้มีจำนวน ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับความหลากหลายของบุคลากรทั้งด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ
3.2 กำหนดนโยบายและกำกับให้มีการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น โดยระบุตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่แทน พร้อมจัดให้มีระบบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม
3.3 พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการปลูกฝังและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
4 ด้านการกำกับดูแลกิจการ
4.1 กำหนดนโยบายด้านกำกับดูแลกิจการของธนาคารที่สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงนโยบายอื่น ๆ ของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบ และติดตามเพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลกิจการ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายให้มีความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
4.2 กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้สอดคล้องกับหลักกำกับดูแลกิจการของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมาย รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอื่นที่มีมาตรฐานระดับสากล
4.3 กำกับดูแลให้ธนาคารมีกลไกในการดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิที่พึงมีตามที่กฎหมายบัญญัติ
4.4 กำหนดแนวทางและจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร (ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการธนาคาร นายกกรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อย) ด้วยวิธีการประเมินตนเอง และ/หรือ การประเมินแบบไขว้เป็นประจำทุกปี โดยอาจจัดให้ที่ปรึกษาภายนอกประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคาร นายกกรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อยอย่างน้อยทุก 3 ปี หรือตามความเหมาะสม เพื่อนำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการธนาคาร
รายชื่อคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม | |
---|---|
1. พ.ต.อ.ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม | ประธานกรรมการ |
2. พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล | กรรมการ |
3. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล | กรรมการ |
4. นายกฤษณ์ จันทโนทก | กรรมการ |
5. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท | กรรมการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
รายชื่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง | |
---|---|
1. นายเกริก วณิกกุล | ประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง |
2. นายพสุ เดชะรินทร์ | กรรมการ |
3. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท | กรรมการ |
4. นาย กฤษณ์ จันทโนทก | กรรมการ |
นายเกรียง วงศ์หนองเตย | เลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
รายชื่อคณะกรรมการเทคโนโลยี | |
---|---|
1. ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล | ประธานกรรมการเทคโนโลยี |
2. นาย อาทิตย์ นันทวิทยา | กรรมการ |
3. นาย กฤษณ์ จันทโนทก | กรรมการ |
4. นาย อรพงศ์ เทียนเงิน | กรรมการและเลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
รายชื่อคณะกรรมการจัดการ | |
---|---|
1. กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ประธานกรรมการ |
2. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง | กรรมการ |
3. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกฎหมายและควบคุม | กรรมการ |
4. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงิน | กรรมการ |
5. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale | กรรมการ |
6. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth | กรรมการ |
7. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME | กรรมการ |
8. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Retail and Business Banking | กรรมการ |
9. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Integrated Channels | กรรมการ |
10. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking | กรรมการ |
11. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน | กรรมการ |
12. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล | กรรมการ |
13. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Information Technology | กรรมการ |
14. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร | กรรมการ และเลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการจัดการมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการของธนาคารให้เป็นไปตามกลยุทธ์ บรรลุเป้าหมายทางการเงินและเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญ รวมถึงดูแลการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคาร
นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดการยังมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
รายชื่อคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน | |
---|---|
1. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ประธานคณะกรรมการ |
2. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านธุรกิจ | กรรมการ |
3. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์และการเงิน | กรรมการ |
4. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี | กรรมการ |
5. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านปฏิบัติการ | กรรมการ |
6. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officer | กรรมการ |
7. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Strategy Officer | กรรมการ |
8. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Risk Officer | กรรมการ |
9. รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Chief Wholesale Banking Officer | กรรมการ |
10. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief SME Banking Officer | กรรมการ |
11. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Wealth Banking Officer | กรรมการ |
12. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief SSME and Retail Banking Officer | กรรมการ |
13. รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center | กรรมการ |
14. ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานบริหารการเงิน | กรรมการและเลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
รายชื่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง | |
---|---|
1. Chief Executive Officer | ประธานกรรมการ |
2. President 3 ท่าน | กรรมการ |
3. Chief Risk Officer | กรรมการ |
4. Chief Financial Officer | กรรมการ |
5. Chief Legal and Control Officer | กรรมการ |
6. Chief Technology Officer | กรรมการ |
7. Chief Strategy Officer | กรรมการ |
8. ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านธุรกิจพิเศษ | กรรมการ |
9. ผู้บริหารสูงสุดธุรกิจพิเศษ | กรรมการ |
10. Chief Credit Officer | กรรมการและเลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
รายชื่อคณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน | |
---|---|
1. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ประธานคณะกรรมการ |
2. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง | กรรมการ |
3. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงิน | กรรมการ |
4. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Credit | กรรมการ |
5. ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารความเสี่ยงทางการเงิน | กรรมการ และเลขานุการ |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดนิยามกรรมการอิสระเข้มกว่าประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) | ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 (ศูนย์จุดห้า) ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย |
(ข) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการหรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร |
(ค) | ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร หรือบริษัทย่อย |
(ง) | ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตาม (ง) ข้างต้น รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ธนาคารหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของธนาคารหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจดังกล่าวไม่นับรวมธุรกรรมด้านการรับฝากเงินซึ่งเป็นธุรกรรมปกติของธนาคาร การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน |
(จ) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคารสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ |
(ฉ) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ |
(ช) | ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของธนาคาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคาร |
(ซ) | ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของธนาคารหรือบริษัทย่อยหรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของธนาคารหรือบริษัทย่อย |
(ฌ) | ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคาร |
ทั้งนี้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (ก) ถึง (ฌ) แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (Collective Decision) ได้
ในกรณีที่บุคคลที่ธนาคารแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเป็นบุคคลที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง (ง) หรือ (ฉ) ให้ธนาคารได้รับการผ่อนผันข้อห้ามการมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าดังกล่าว ก็ต่อเมื่อธนาคารได้จัดให้มีความเห็นคณะกรรมการธนาคารที่แสดงว่าได้พิจารณาตามหลักในมาตรา 89/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้วว่า การแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอิสระด้วย
1. จรรยาบรรณด้านการประกอบธุรกิจ
ธนาคารให้ความสำคัญในการดูแลให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณด้านประกอบธุรกิจ ดังต่อไปนี้
1.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ต่อ เจ้าหนี้ และลูกค้า ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการ และระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงนโยบายการต่อต้านและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
1.2 ปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความระมัดระวัง รอบคอบ
1.3 มุ่งให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยดำเนินการให้มีผลประกอบการที่ดีเลิศอย่าง สม่ำเสมอ
1.4 เก็บรักษาความลับ และไม่ใช้ข้อมูลภายใน หรือข้อมูลอันเป็นความลับเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทาง ที่มิชอบ แก่ตนเองและผู้อื่น
1.5 ปกป้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำซึ่งอาจนำมาสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
2. มาตรฐานการให้บริการ
ธนาคารต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย โดยจัดให้มีมาตรฐานการให้บริการ ดังนี้
2.1 มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียได้รับการบริการอย่างดี
2.2 มีระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบ และการควบคุมภายในที่รอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ข้อผิดพลาดในการให้บริการ
2.3 มีระบบการบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับธุรกิจ เพื่อให้ธนาคารสามารถจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและรับมือได้อย่างเหมาะสม
3. พนักงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ธนาคารดูแลและจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานทุกคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
3.1 สรรหาและรักษาพนักงานที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานมีโอกาสในความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ
3.2 ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเป็นธรรมและให้เกียรติ
3.3 ไม่เลือกปฏิบัติโดยอ้างเหตุความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ อายุ ศาสนา หรือความพิการ
3.4 ให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงาน บนพื้นฐานของการประเมินผลงานที่เป็นธรรม
3.5 จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า
3.6 เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไว้เป็นความลับและไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานออกไปหาประโยชน์อื่น
3.7 ดูแลไม่ให้เกิดการคุกคาม โดยการแสดงออกทางคำพูดหรือกิริยาท่าทางที่อาจกระทบต่อเกียรติหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นในที่ทำงาน
3.8 จัดให้มีช่องทางต่างๆ ในการร้องเรียน แจ้งเบาะแส หรือรายงานข้อสงสัยเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ การไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
3.9 กรณีมีการสอบสวนเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ธนาคารพึงให้การดูแลพนักงานในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับและตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
3.10 จัดให้มีการดำเนินการทางวินัยกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือกฎระเบียบ ตามความเหมาะสมของผลกระทบและลักษณะของการกระทำความผิด และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
3.11 ธนาคารจะยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหลักปฏิบัติร่วมกับพนักงานทุกคน โดยจะให้พนักงานเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน
4. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
ธนาคารให้ความสำคัญและปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
4.1 ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพและเป็นธรรมตามแนวปฏิบัติ Market Conduct ของธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้สิทธิขั้นพื้นฐานของลูกค้าที่พึงได้รับ 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะรับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย
4.2 มีการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน ไม่เรียกรับสินบน และ/หรือผลประโยชน์ ของกำนัล ทรัพย์สิน และการเลี้ยงสังสรรค์ในรูปแบบใดๆ ที่ส่อถึงเจตนาดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างไม่ถูกต้อง
4.3 จัดให้มีการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า
4.4 จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร โดยครอบคลุมถึงเงื่อนไขและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอัตราค่าบริการและดอกเบี้ยที่ถูกต้อง ชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจและมีข้อมูลเพียงพอแก่การตัดสินใจ รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์จะต้องสื่อสารอย่างโปร่งใสด้วยข้อความที่ชัดเจน ไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด
4.5 จัดให้มีช่องทางและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และจัดการประเด็นต่างๆ ที่ลูกค้าร้องเรียนอย่างชัดเจนและเหมาะสม เช่น รับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์หรือสาขาที่ให้บริการ เป็นต้น
5. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ธนาคารจัดให้มีมาตรการเพื่อบริหารจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ดังต่อไปนี้
5.1 มีการควบคุมดูแล และป้องกันเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการระหว่างกันที่ไม่เหมาะสม โดยกำหนดนโยบาย ระเบียบวิธปฏิบัติ กระบวนการในการพิจารณา และอนุมัติรายการ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคาร
5.2 การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
ก. จัดให้มีมาตรการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์และให้มีการเปิดเผยการมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่อาจเข้าถึงข้อมูลภายใน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลจากตำแหน่ง หน้าที่ หรือการปฏิบัติงาน เพื่อหา ผลประโยชน์ในทางมิชอบแก่ตนเองหรือผู้อื่น
ข. กำหนดให้มีการแบ่งแยกสถานที่การปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน โดยจัดให้หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์แยกออกจากกัน เพื่อการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
5.3 การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและรายการที่เกี่ยวโยงกัน
ก. กำหนดระเบียบว่าด้วยการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน กำหนดกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อประโยชน์ต่อธนาคารและผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
ข. การเข้าทำรายการระหว่างธนาคารกับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องไม่มีลักษณะถ่ายเทผลประโยชน์ของธนาคารไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ค. พนักงานธนาคารที่มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมใด ต้องไม่เข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจพิจารณาธุรกรรมนั้น เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารอย่างเต็มที่
5.4 การรับหรือให้ของขวัญ การรับรองและผลประโยชนอื่นๆ
ก. การรับ/ให้ของขวัญ การรับรอง และผลประโยชน์อื่นๆ ของธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ต้องดำเนินด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ เป็นไปอย่าง สมเหตุสมผล และมีมูลค่าเหมาะสม ตามกาลเทศะ ธรรมเนียม จารีตประเพณี
ข. ไม่ติดสินบน ตอบแทน เสนอให้ หรือเรียกร้อง ผลประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม ทั้งทางตรง และทางอ้อม กับลูกค้า หน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือบุคคลที่สาม เพื่อก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการใช้วิจารณญาณที่เป็นกลางในการตัดสินใจ หรือก่อให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นต่อการกระทำในหน้าที่ หรือทำให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันไม่สมควร
6. การจัดการข้อมูล
ธนาคารให้ความสำคัญกับการรักษาความลับและการจัดการข้อมูลทั้งของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และข้อมูลธนาคาร โดยมีการจัดการข้อมูลต่างๆ ให้เหมาะสม รัดกุม ดังนี้
6.1 การจัดการข้อมูล
ก. ปกป้อง จัดเก็บ ดูแลข้อมูลของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า รวมถึงข้อมูลของธนาคารตามที่กฎหมายกำหนดให้พึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย โดยจะต้องทำการเก็บรวบรวม ดูแลรักษาและใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่ธนาคารได้กำหนดไว้
ข. ไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และข้อมูลของธนาคาร เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า พนักงาน คู่ค้า หรือธนาคารแล้วแต่กรณี หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
6.2 การสื่อสาร
ก. ธนาคารมุ่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของธนาคารต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชนทั่วไปอย่างถูกต้องครบถ้วนทั่วถึงและทันกาล รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ข. การสื่อสาร แถลงการณ์ หรือการให้ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ธุรกิจของธนาคาร ลูกค้า พนักงาน และ คู่ค้า ต้องมีความถูกต้องเหมาะสม โดยการกระทำ ดังกล่าวต่อสื่อมวลชน หรือสื่อใดๆนั้น ต้องกระทำโดยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลในนามของธนาคารเท่านั้น
7. การกำกับดูแลโดยรวม
ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปด้วยความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคาร รวมถึงหลักธรรมาภิบาล ดังต่อไปนี้
7.1 ธนาคารยึดมั่นในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่กำหนดโดยหน่วยงานทางการที่ควบคุมดูแลธนาคารในฐานะธนาคารพาณิชย์ และบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย ในการมุ่งพัฒนางานกำกับดูแลกิจการของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
7.2 จัดให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ รวมทั้งตระหนักถึงความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของธนาคาร รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานเอง
7.3 จัดให้มีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ซึ่งสามารถทำหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของธนาคาร รวมถึงมีการจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ ให้กับหน่วยงานดังกล่าวอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
7.4 จัดให้มีการกำกับดูแลเพื่อสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ โดยให้มีการบริหารจัดการ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขและมาตรการป้องกันภายใต้กรอบกฎหมาย กฎเกณฑ์ หลักธรรมาภิบาล นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคาร
8. การแข่งขันทางการค้าและการระงับข้อพิพาท
ธนาคารให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดย
8.1 ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติต่อพันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าอย่างเสรีและแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยไม่มีการตกลงร่วมกันระหว่างธนาคารในการกำหนดราคาซื้อ ขาย หรือเงื่อนไขการให้บริการที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า รักษาความลับภายใต้หลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่แสวงหาข้อมูลของพันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าอย่างไม่สุจริตและไม่เป็นธรรม
8.2 กำหนดแนวปฏิบัติในการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่าแก่ลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระและต้องไม่ขัดขวางลูกค้าในการเปลี่ยนไปใช้บริการกับธนาคารอื่นจนเกินพอดี
8.3 ไม่กล่าวโจมตีคู่แข่ง หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด
8.4 หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ธนาคารพึงจัดให้มีกระบวนการที่เหมาะสมในการระงับหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
9. สังคมและสิ่งแวดล้อม
9.1 ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และระมัดระวังในการพิจารณาดำเนินการใดๆ ในเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของสาธารณชน (Public Interest) นอกจากนี้ธนาคารมุ่งดำเนินการ และให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวมอย่างสม่ำเสมอ
9.2 ธนาคารให้ความสำคัญในการดูแลด้านความปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบใดๆ กับชุมชนใกล้เคียง และส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม
จรรยาบรรณนี้ใช้ถือปฏิบัติกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ของธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ “พนักงาน” ให้หมายรวมถึง ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับชั้น รวมถึงพนักงานที่มีสัญญาจ้างทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นพนักงานที่มีสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่มีกำหนดระยะเวลา
1. ธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
1.1 กรรมการและผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ภาคอุตสาหกรรมและประเทศชาติ รวมถึงจัดให้มีการกำหนดนโยบายเรื่องธรรมาภิบาลที่ดีให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนมีการจัดทำจรรยาบรรณและสื่อสารให้พนักงานและผู้บริหารนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และทิศทางการดำเนินงาน รวมถึงจัดให้มีการกำกับควบคุมดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนดูแลให้ผู้บริหารของธนาคารและฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.3 การดำเนินธุรกิจของธนาคารอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานทางการ ดังนั้นกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นจึงต้องกำหนดนโยบายโดยมีผู้บริหารของธนาคารในฐานะฝ่ายจัดการทำหน้าที่ผลักดันให้มีการนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำกับดูแลให้ธนาคารดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง
1.4 กรรมการต้องดูแลให้ธนาคารมีนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับความเสี่ยงที่สำคัญของธนาคาร รวมทั้งดูแลให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ มีความเป็นมืออาชีพ และไม่ถูกครอบงำจากหน่วยงานที่ประกอบธุรกิจ นอกจากนั้น ผู้บริหารของธนาคารจะต้องทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งปกป้องดูแลผลประโยชน์ของธนาคารและจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
2. การรักษาผลประโยชน์ รวมถึงภาพลักษณ์ เกียรติภูมิ ชื่อเสียงและคุณธรรมอันดีงาม
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พึงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดังต่อไปนี้
2.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ไม่ให้คำสัญญา หรือข้อผูกพันในเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทำการด้วยความรอบคอบระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถยึดมั่นต่อความเป็นจริง ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้กรอบแนวทางหลักการตัดสินใจทางธุรกิจ (Business Judgement Rule) รวมทั้งคำนึงถึงและรักษาผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ ด้วยความใส่ใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรหรือการดำเนินการต่างๆ ขององค์กร
2.2 การรักษาผลประโยชน์ของธนาคารต้องเกิดจากการกระทำโดยชอบธรรม ไม่กระทำการช่วยเหลือสนับสนุนหรือยอมเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ตามหลักธรรมาภิบาลของการดำเนินธุรกิจ
2.3 พึงระมัดระวังการกระทำ หรือการแสดงออกในด้านต่างๆ รวมถึงการใช้ Social Media ที่อาจส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์ของธนาคารได้
2.4 การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรจะต้องถูกต้อง เที่ยงตรง ตรงไปตรงมา และมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
3. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของธนาคารเป็นสำคัญและต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตนเองจะต้องไม่มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ขัดกันกับผลประโยชน์ของธนาคาร และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม
4. ความเชื่อถือได้ของข้อมูล
ข้อมูลทุกประเภทของธนาคารต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและถูกต้อง
4.1 ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ต้องอาศัยความถูกต้องของข้อมูลของธนาคาร ในการติดตามการดำเนินงานของธนาคาร และในการตัดสินใจ ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือกันในการจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องโดยบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานอย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
4.2 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องร่วมมืออย่างเต็มความสามารถกับผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกเมื่อได้รับการร้องขอ
5. การรักษาความลับของข้อมูล
5.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลของธนาคารที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ยกเว้นเป็นไปตามกฎหมายหรือได้รับการอนุมัติจากธนาคาร การรักษาความลับของข้อมูลของธนาคาร รวมถึงข้อมูลของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ แผนงาน กลยุทธ์ วิธีการดำเนินการและระบบงาน ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้ทราบหรือจัดทำขึ้นจากหน้าที่งานในธนาคารไปใช้ในทางอื่น นอกเหนือจากงานที่ตนรับผิดชอบ และจะไม่นำข้อมูลไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ไม่ว่าในขณะที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือพ้นสภาพจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วก็ตาม
5.2 การเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลใดๆ ของลูกค้าแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีการ หรือสื่อใดๆ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าให้แก่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล
5.3 การรักษาความลับของข้อมูลนี้ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงาน และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ซึ่งหมายความถึง ข้อมูลที่สามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ ชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง วันเดือนปีเกิด เพศ อายุ ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ การศึกษา และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ และข้อมูลทางการแพทย์ด้วย ข้อมูลดังกล่าวจะสามารถเปิดเผยได้เฉพาะเจ้าของข้อมูลและผู้เกี่ยวข้องที่ธนาคารกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในงานธนาคาร หรือเมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวโดยใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง และพึงรักษาความลับอย่างเคร่งครัด
6. การใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์
ห้ามผู้ที่รู้ข้อมูลภายในหรือข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งของตนเอง และ/หรือบุคคลอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม
7. การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยจะไม่สนับสนุนหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้ธนาคารเป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการถ่ายเท ปกปิด หรืออำพรางแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
8. การต่อต้านการคอร์รัปชั่นและสินบน
กลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่ในการศึกษา และทำความเข้าใจกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและสินบนของธนาคาร และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
9. การพนัน การดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด
9.1 ห้ามเสพ ครอบครอง ซื้อ ขาย ขนย้าย สิ่งเสพติด หรือสารควบคุม (ยกเว้นยาตามใบสั่งของแพทย์) ไม่ว่าประเภทใดๆ และไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ
9.2 ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือการต้อนรับลูกค้าตามระเบียบปฏิบัติของธนาคาร และต้องไม่ดื่มจนมึนเมาหรือขาดสติ
9.3 ห้ามเล่นการพนันทุกประเภทไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม
10. การให้ และการรับของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง
10.1 ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน จากผู้ประกอบธุรกิจกับธนาคาร รวมทั้งผู้ที่กำลังติดต่อ เพื่อดำเนินธุรกิจกับธนาคาร
10.2 ต้องไม่เรียกร้องหรือแสดงอากัปกิริยาที่แสดงเจตนาทั้งทางตรงและทางอ้อมว่าต้องการรับเงินและ/หรือทรัพย์สิน และ/หรือประโยชน์อื่นใดที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจในนามธนาคารเว้นแต่ได้รับในโอกาสที่เป็นพิธีการ หรือตามธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นที่ดีงามหรือจารีต ทางการค้า
10.3 การแลกเปลี่ยนของขวัญ ของกำนัล หรือการเลี้ยงตอบแทนตามประเพณีนิยม เช่น การรับประทานอาหารหรือการเลี้ยงรับรองกับบุคคลอื่น เป็นต้น สามารถทำได้ตามความเหมาะสมเพื่อรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจ โดยไม่มีการรับและการให้ของขวัญ ของกำนัลในรูปแบบของเงินสด หรือทรัพย์สินสิ่งมีค่าเสมือนเงินสด อาทิเช่น ทอง เพชรนิลจินดา หรือตราสารทางการเงินที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เช็คของขวัญ เป็นต้น
11. ทรัพย์สินขององค์กร
11.1 ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของธนาคารมิให้สูญหาย เสียหาย หรือนำไปใช้ ในทางที่ผิด ความรับผิดชอบนี้ไม่เพียงแค่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการต้องใส่ใจที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาความปลอดภัย และการตื่นตัวต่อสถานการณ์และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้ทรัพย์สินของธนาคารเกิดความสูญหาย เสียหาย หรือถูกใช้ในทางที่ผิดด้วย
11.2 ทรัพย์สินของธนาคารหมายความรวมถึงเงินสด เครื่องมือทางการเงิน ข้อมูลของธนาคารทรัพย์สินทางปัญญา โปรแกรมระบบงานคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เอกสาร เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวก ยานพาหนะ ชื่อธนาคาร เครื่องหมายสัญลักษณ์ของธนาคาร และวัสดุอุปกรณ์
11.3 ทรัพย์สินทางปัญญาหมายความรวมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้าความลับทางการค้า หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นทรัพย์สินมีค่าของธนาคาร ทุกคนมีหน้าที่ปกป้องดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของธนาคารให้พ้นจากการนำไปใช้ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ
12. การทำงานอื่นหรือกิจกรรมภายนอก
12.1 การดำเนินธุรกรรมหรือกิจการส่วนตัวใดๆ จะต้องแยกออกจากการดำเนินกิจการของธนาคารไม่ใช้ชื่อธนาคารในการดำเนินธุรกรรมส่วนตัว ดำเนินกิจการในระดับที่เหมาะสม (at arm’s length) หรือเป็นการทำธุรกรรมที่เป็นธรรมเนียมการค้าปกติ เสมือนการทำธุรกรรมกับบุคลลทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ โดยมุ่งประโยชน์ต่อองค์กรเป็นหลัก หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดกรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ จะต้องจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว
12.2 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ มีความระมัดระวัง และความถูกต้อง/ซื่อสัตย์สุจริตรวมทั้งการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับ นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด
12.3 ผู้บริหารหรือพนักงานต้องไม่เป็นพนักงานขององค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรในกลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือทำกิจกรรมภายนอกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
12.4 ผู้บริหารหรือพนักงานที่จะไปเป็นกรรมการ คณะทำงาน ที่ปรึกษา วิทยากร หรือทำกิจกรรมภายนอกให้กับบุคคลอื่นใดที่ไม่ใช่องค์กรในกลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ต้องได้รับการอนุมัติล่วงหน้าจากผู้มีอำนาจอนุมัติที่ธนาคารกำหนด
13. การคุกคาม
ยึดมั่นในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพโดยปราศจากการคุกคามใดๆ เช่น การคุกคามทางวาจา การคุกคามทางกาย การคุกคามทางเพศ การคุกคามทางข้อความ รูปภาพหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
14. Whistleblower
ธนาคารมีช่องทาง Whistleblower ให้พนักงานสามารถร้องเรียนให้ข้อมูล หรือแจ้งเบาะแสการทุจริต คอร์รัปชั่น รวมถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ กฎระเบียบ จรรยาบรรณ เพื่อความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
ผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือเกิดผลกระทบในทางลบใดๆ
ธนาคารถือว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ จะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบในทางลบของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนหรือหาข้อเท็จจริงมีหน้าที่ในการรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือมีการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ที่เป็นพยาน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงและอาจเป็นความผิดตามกฎหมายได้
15. บทสรุป
ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และคุณธรรม ถือเป็นหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของธนาคารและในขณะเดียวกัน ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่เป็นเลิศ ความมุ่งมั่นดังกล่าวต้องเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานทุกคน และแสดงออกอย่างชัดเจน ทั้งโดยวาจา การกระทำ และการวางตัว การแสดงออกด้วยความเคารพ ความนอบน้อม สุภาพ จริงใจ ใส่ใจ และด้วยความกระตือรือร้น จะต้องปรากฏชัดเจน ในการติดต่อกับลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อหน้า การพูดคุยทางโทรศัพท์หรือ การติดต่อเป็นลายลักษณ์อักษร หรือการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ตาม
วัฒนธรรมการให้บริการที่เป็นเลิศนี้ จะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืนและยาวนานก็ต่อเมื่อพนักงานทุกคนปฏิบัติต่อกันเช่นนั้นด้วยความกระตือรือร้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ การ ทำงานร่วมกันเป็นทีม และความพร้อมตอบสนอง เป็นคุณลักษณะที่พนักงานพึงเรียนรู้จากกันและกัน
การปฏิบัติตามจรรยาบรรณจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ และวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร ซึ่งจะส่งผลให้ การดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจของธนาคารอย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคมในที่สุด
อุดมการณ์และจรรยาบรรณ SCB
ธนาคารไทยพาณิชย์ 1 ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมตามหลักบรรษัทภิบาล ควบคู่กับความมุ่งมั่นในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจให้เติบโตควบคู่กันได้อย่างยั่งยืน
ธนาคารไทยพาณิชย์มีเจตนารมณ์ ที่จะส่งเสริมหลักการนี้ไปยังคู่ธุรกิจ2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ร่วมนำหลักการและแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อการขยายผลออกสู่สังคม และเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB (SCB Supplier Code of Conduct)” ขึ้นเพื่อให้คู่ธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป โดยธนาคารไทยพาณิชย์สนับสนุนให้คู่ธุรกิจดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพ ดูแลด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งติดตามการนำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB” ไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กรณีที่คู่ธุรกิจปฏิบัติไม่สอดคล้องกับ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB” ธนาคารไทยพาณิชย์ขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินการใดๆ กับคู่ธุรกิจ โดยพิจารณาจากผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น
1 ธนาคารไทยพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกิจการในเครือทั้งหมดของธนาคารทั้งภายในและต่างประเทศ
2 คู่ค้าธุรกิจ หมายถึง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือ ผู้ให้บริการ แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงกิจการในเครือทั้งหมด และผู้รับจ้างช่วงของผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือ ผู้ให้บริการดังกล่าว
1. จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
2. แรงงานและสิทธิมนุษยชน (Labor & Human Rights)
3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health & Safety)
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินงานด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม รักษาสภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ดังนี้
5. กฎหมายและข้อกำหนด (Laws & Regulations)
ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 1 คน ได้แก่ นางศิริบรรจง อุทโยภาศ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัท เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับ การประชุมของคณะกรรมการธนาคาร และการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งสนับสนุนให้การกำกับดูแลกิจการเป็นไปตามมาตรฐานบรรษัทภิบาลที่ดี
• คุณสมบัติ
• หน้าที่ความรับผิดชอบ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลักของเลขานุการธนาคาร คือการสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ สำหรับหน้าที่ รับผิดชอบโดยเฉพาะของเลขานุการธนาคารรวมถึงหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด