ดูแลลูกเรียนออนไลน์ยังไงให้เวิร์ค

จากวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้โรงเรียนต้องเลื่อนการเปิดภาคเรียนออกไปถึงเดือนกรกฎาคม และถ้าถึงตอนนั้นสถานการณ์ยังไม่ดีเท่าที่ควร ก็มีแนวคิดที่จะนำการเรียนการสอนผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์มาปรับใช้ในภาคการศึกษาที่จะมาถึง ซึ่งก็ไม่ใช่เฉพาะเมืองไทยแต่หลายประเทศทั่วโลกก็ใช้แนวทางนี้ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธีดูแลการเรียนออนไลน์ของลูกให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์เต็มที่

online-learning1

พยายามจำกัดเวลาดูหน้าจอ

ตามประกาศจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะการใช้สื่อออนไลน์ว่า ในแต่ละวันไม่ควรปล่อยให้เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 ปีและเด็กโตชั้นประถมขึ้นไปดูหน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงและ 2 ชั่วโมงตามลำดับ อย่างไรก็ดีในสถานการณ์จำเป็นเช่นนี้ ในเด็กโตอาจต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง แต่ก็ต้องควบคุมเวลาดูหน้าจอไม่ให้มากเกินไป โดยแบ่งเวลาไปทำแบบฝึกหัดบ้าง อ่านหนังสือบ้าง ส่วนในส่วนเด็กเล็กควรจำกัดที่ 1 ชั่วโมงเหมือนเดิม และหากเนื้อหาการเรียนออนไลน์ในเด็กเล็กไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามพัฒนาการเด็ก (เช่นเร่งเรียนวิชาการ) ก็ควรหลีกเลี่ยงการเรียนออนไลน์

ดูแลอุปกรณ์/สภาพแวดล้อมให้ส่งผลต่อสายตาลูกน้อยทีสุด

อุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์ พวกจอมอนิเตอร์ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ก็มีผลต่อสุขภาพตาของลูกที่ต้องมองหน้าจอนานๆ ถ้าทำได้การให้เรียนผ่านหน้าจอที่มีขนาดใหญ่เพื่อเด็กจะได้ไม่ต้องใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอมากเกินไป ที่สำคัญต้องดูแลการนั่งเรียนออนไลน์ของลูกให้ระยะห่างระหว่างศีรษะกับหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ที่ประมาณ 50 ซ.ม. ซึ่งเป็นระยะที่มองจอได้โดยไม่ต้องใช้เพ่งสายตามากเกินไป และสายตาไม่ต้องรับแสงสว่างจากหน้าจอโดยตรง นอกจากนี้ ควรปรับแสงของหน้าจอไม่ให้สว่างเกินไป  และไม่ให้ภายในห้องมืดเกินไป เพราะการนั่งอยู่กับหน้าจอที่สว่างในห้องมืด รวมถึงจอที่สว่างมากเกินไป จะส่งผลต่อสายตาได้ การติดตั้งแผ่นกรองแสงหน้าจอ แว่นป้องกันแสงยูวีก็เป็นตัวช่วยถนอมสายตาอีกทางหนึ่ง

ให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่

ที่จริงแล้วการไปโรงเรียนไม่ได้มีแค่เรียนอย่างเดียว แต่เด็กยังได้วิ่งเล่นทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นการยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายทำให้สุขภาพแข็งแรง ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนรูปแบบมาเรียนออนไลน์ที่บ้านที่ไม่มีตรงส่วนนี้ประกอบกับการต้องกักตัวเพราะโควิด-19 เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนก็อาจรู้สึกเบื่อเซ็งไม่น้อยทีเดียว ในช่วงพักเบรกหรือเรียนออนไลน์เสร็จแล้ว ก็ควรพาลูกมาทำกิจกรรมกลางแจ้ง วิ่ง ขี่จักรยาน ฯลฯ ออกกำลังกายชดเชยจากที่เขาไม่ได้วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ที่ไปโรงเรียน

จัด Online Hangout เป็นครั้งคราว

ต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้ เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ที่ต้องการสังคม ซึ่งสังคมของเขาก็คือการไปพบปะพูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน ซึ่งเมื่อสิ่งนี้ขาดหายไป เด็กๆ ก็รู้สึกว่าชีวิตเขาไม่เหมือนเดิมและอาจจะเหงาและคิดถึงเพื่อน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงให้การติดต่อกับเพื่อนๆ ไม่ขาดหาย คุณพ่อคุณแม่อาจรวมกลุ่มจัด Online Hangout ผ่านแอปต่างๆ ให้เด็กได้พูดคุย แบ่งปันความรู้สึก เห็นหน้าค่าตากันให้คลายเหงาได้บ้าง หรือถ้าสนิทกับเพื่อนคนไหนเป็นพิเศษก็ลองจัดให้เรียนออนไลน์ไปพร้อมกัน ลูกจะรู้สึกได้เรียนกับเพื่อนเหมือนอยู่โรงเรียน สร้างความกระตือรือร้นให้การเรียนออนไลน์ไม่น่าเบื่อ

ช่วยสนับสนุนลูกในการเรียนออนไลน์

เนื่องจากการเรียนออนไลน์ลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวเด็กเองก็ต้องปรับตัวพอๆ กับที่ผู้ใหญ่ที่ต้องปรับตัวกับการ Work From Home คุณพ่อคุณแม่เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้กำลังใจลูกปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ การนั่งเรียนเป็นเพื่อนลูกในตอนแรก เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจไม่เครียดหรือกังวลมากเกินไป ตลอดจนพูดคุยรับฟังความรู้สึกและความคิดเห็นของลูกถึงสิ่งที่ได้จากการเรียนออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสื่อสารให้คุณครูทราบเพื่อปรับปรุงพัฒนาการสอนให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับเด็กมากที่สุด


การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง อย่างไรก็ดีการเรียนของเด็กๆ ที่จะเปิดเทอมช่วงเดือนกรกฎาคมก็ยังคงต้องมีต่อไป ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ค่าเทอมคือค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่เราจำเป็นต้องจ่าย ในช่วงเวลาที่ไม่ราบรื่นนี้ Speedy Cash e-Card สำรองเงินสดพร้อมใช้ในบัญชีตลอด 24 ชั่วโมง สมัครง่ายทางแอป SCB EASY นับเป็นทางออกที่จะช่วยเราผ่านสถานการณ์ฉุกเฉินไปได้ สนใจดูเพิ่มเติม คลิก - ที่นี่ -

ข้อมูล :

Facebook หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก

https://med.mahidol.ac.th/um/th/article/information/07162015-1601-th
https://www.wemall.com/blog/3253/monitor
https://www.pobpad.com