ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
กักตัวอยู่บ้านกับลูกให้สุขใจ...ทำอะไรดีนะ?
เมื่อพ่อแม่ Work from Home และลูกปิดเทอมหรือโรงเรียนปิด ออกไปเที่ยวที่ไหนอย่างเคยก็ไม่ควร ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะใช้เวลากับลูกที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า “อยู่กับลูกของเรา ที่บ้านของเรา” กับกิจกรรมและช่วงเวลาดีๆ ที่มีร่วมกัน
1. ทำอาหาร ปูทักษะดีๆ ให้ชีวิต
ชวนลูกลองทำอาหาร กระบวนการตั้งแต่เลือกเมนูนั้น เรายังสามารถสอดแทรกสาระประโยชน์ด้วยการพูดคุยถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละประเภทได้ด้วยนะคะ ที่สำคัญพ่อแม่อาจต้องวางใจให้ลูกได้ลองหยิบจับเครื่องครัว เช่น มีด เขียง เป็นต้น แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นเด็กๆ ยังได้ฝึกอดทนรอคอย เพราะการทำอาหารเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา กว่าจะตระเตรียม ปรงสุก จัดโต๊ะ ล้วนใช้เวลาทั้งสิ้น และสุดท้ายเด็กๆ ได้เรียนคู้คุณค่าของการรับประทานอาหาร ว่ากว่าจะได้มาแต่ละจานนั้นต้องใช้อะไรบ้าง จะได้ไม่ทานอาหารเหลือทิ้ง และแน่นอน อาหารที่เราทำกันเองในครอบครัวแบบนี้ ย่อมสะอาด ถูกสุขอนามัย วางใจได้จริงๆ
2. ทำงานบ้าน สร้างวินัยเชิงบวก
ในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน เราเริ่มได้จากการเก็บของเล่นเมื่อเสร็จ ครั้งแรกหากลูกปฏิเสธ จูงมือชวนลูกมาเก็บด้วยกันเลย ถือว่าเป็นงานบ้านส่วนตนที่ต้องให้ดูแลรับผิดชอบ และหากลูกเริ่มโต เราสามารถมอบหมายงานบ้านทั้งส่วนตน และส่วนรวมเพิ่มเข้าไป เช่น พับผ้าของตนเองที่เป็นงานส่วนตน และกวาดบ้าน เช็ดโต๊ะทานอาหาร ล้างจานให้คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นงานส่วนรวม เด็กๆ จะได้รู้หน้าที่ มีวินัย และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
3. อ่านหนังสือนิทาน / วรรณกรรม เสริมจินตนการและตรรกะ
หนังสือกับเด็กเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากส่งเสริมให้เป็นเด็กรักการอ่านแล้ว ยังสามารถช่วยกล่อมเกลาความคิด และสร้างความสนุกได้ด้วย ในเด็กที่เริ่มเข้าชั้นประถม เราอาจจะลองให้สรุปใจความ หรือสอบถามความคิดเห็นว่า เพราะเหตุใดตัวละครตัวนี้จึงทำเช่นนั้น สะท้อนถึงความคิดหลังได้อ่าน หัดเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล
4. ทำงานประดิษฐ์ สร้างสมาธิและความคิดสร้างสรรค์
งานประดิษฐ์แบบง่ายๆ ได้ประโยชน์ทั้งสร้างสมาธิ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และความสัมพันธ์ของมือและดวงตา เช่นการร้อยลูกปัด ความพยายามที่จะจับลูกปัด และเส้นเอ็นร้อยเข้าด้วยกัน หากเด็กที่กำลังจะพ้นช่วงปฐมวัยอาจจะลองทำตุงใยแมงมุม ต้องใช้สมาธิมากขึ้นไปอีก เพราะมีการพันอ้อมหน้าไขว้หลัง ทั้งยังต้องดึงให้ตึง ให้ไหมพรมเรียงเส้นเรียบเสมอกัน หรือหากใครจะลองเย็บผ้า ปักผ้า งานปั้น หรือทำเปเปอร์มาเช่ ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุก เด็กๆ ยังสามารถใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว สามารถนำมาประดับบ้านให้สวยงาม สร้างความภาคภูมิใจให้เด็กๆ อีกด้วย
5. เล่น และออกกำลังกาย เติมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
เพราะหน้าที่ของเด็กคือ “การเล่น” ดังนั้นงานเล่นจึงเป็นงานที่สำคัญมากๆ สำหรับเด็ก แต่ต้องเป็นการเล่นแบบอิสระ ดิน น้ำ ทราย โคลน ปีนป่าย ให้เด็กได้พัฒนาระบบ sensory จิตใจ ควบคู่ไปกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน หรือกฎกติการในการเล่นด้วย
6. บันทึกปิดเทอม สะท้อนความคิด-จิตใจ
เด็กที่สามารถพูดได้ เล่าเรื่องได้ หรือเขียนหนังสือได้ ลองชวนลูกๆ เขียนบันทึกประจำวัน หรือบันทึกรายสัปดาห์ ชวนลูกสรุป และสะท้อนความรู้สึกนึกคิด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในยามที่เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ คือการที่รู้อะไรไม่เท่ารู้ใจตนเอง
สุดท้ายนี้ ถึงแม้เด็กๆ หลายคนจะต้องปิดเทอมยาวนานกว่าปกติ ไม่มีซัมเมอร์ พ่อแม่อย่าลืมเรื่องสุขลักษณะนิสัย เวลาทานอาหาร และเวลานอนยังควรต้องสม่ำเสมอ ตรงเวลา และทุกงานที่ลูกทำ อย่าลืมชมลูกๆ ทุกครั้งด้วย ชมแบบระบุพฤติกรรมที่ดี สิ่งที่ลูกทำ เช่น “คุณแม่ชื่นชมหนูมากเลยนะคะลูก ที่หนูเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ หนูมีความรับผิดชอบมากๆ เลยค่ะ” และขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่ตอนนี้ต้องเข้าสู่โหมด Working From Home เราจะสู้ไปด้วยกัน!