ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านยังไงให้สุขใจกันทุกฝ่าย
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ชีวิตยามบั้นปลายในบ้านที่ตัวเองคุ้นเคย ได้อยู่กับลูกหลานมากกว่าจะเลือกไปอยู่บ้านพักคนชรา หรือแม้แต่ตัวลูกหลานเองก็ทำใจลำบากที่จะต้องให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายไปอยู่บ้านพักคนชราด้วยหลายๆ ปัจจัยทั้งความผูกพันหรือกลัวคนอื่นจะมองว่าอกตัญญูไม่อยากดูแลพ่อแม่ ซึ่งเป็นค่านิยมของสังคมไทย แต่ในความจริงการดูแลผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ยิ่งยากในการดูแล และยิ่งสภาพสังสมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ลูกหลานต้องทำงานหาเงิน เพื่อดูแลครอบครัวของตัวเองและดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า อาจเรียกว่าเป็นภาระที่หนักทั้งกายและใจ วันนี้เรามีเทคนิคดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ทุกฝ่ายสุขใจ ไม่รู้สึกหนักหนาเกินไปมาฝากกัน
1. ต้องเข้าใจว่าผู้สูงอายุที่ดูแลต้องการความช่วยเหลือมากแค่ไหน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในการดูแลของเราต้องการความช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหน เพื่อตัวเราเองจะได้ไม่ต้องเครียดและเหนื่อยเกินไปโดยทำเกินความต้องการ ทำรายการสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน อะไรที่ต้องทำในช่วงกลางวัน กลางคืนหรือช่วงวันหยุด เมื่อเวลาผ่านไปสักสัปดาห์คุณจะเริ่มเข้าใจและเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าผู้สูงอายุที่ดูแลต้องการความช่วยเหลืออะไรในแต่ละช่วงเวลาของวัน การจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำช่วยให้บริหารจัดการสิ่งที่ต้องทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
2. ยอมรับความจริงว่าคุณสามารถมีขีดจำกัด
ต่อเนื่องจากข้อที่แล้วเมื่อคุณรู้แล้วว่าผู้สูงอายุต้องการความช่วยเหลือมากแค่ไหน แต่ก่อนอื่นคุณต้องกลับมามองความสามารถของตัวเองว่าให้ความช่วยเหลือได้แค่ไหนเพื่อไม่ให้ทำร้ายสุขภาพของตัวเอง ต้องกลับมามองว่าแค่ตัวคุณเองสามารถทำได้ทั้งหมดจริงๆ หรือไม่ หรือคุณจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ต้องยอมรับความจริงว่าถ้าคุณฝืนทำมากเกินความสามารถของตัวเองในวันหนึ่งความอดทนจะระเบิดออกมาหรือสุขภาพของตัวคุณเองอาจแย่ลงและสุดท้ายคุณจะไม่สามารถดูแลพวกเขาได้เลย ทำรายการออกมาว่าเรื่องใดบ้างที่คุณต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งอาจเป็นคนอื่นในครอบครัวหรือจ้างมืออาชีพเข้ามาช่วยเหลือในสิ่งที่เกินกำลัง
3. หาคนมาช่วยดูแล
4. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคนในครอบครัว
ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายที่คนในครอบครัวเช่นพี่น้อง ญาติสนิทจะคุยตกลงเพื่อแบ่งหน้าที่กันในการดูแลผู้สูงอายุ แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะคนเพียงคนเดียวไม่สามารถรับผิดชอบภาระที่หนักได้ตลอดเวลา อาจเป็นการคุยแบ่งหน้าที่กัน หรือแบ่งวันกันดูแล เพื่อไม่ให้แต่ละคนต้องรับภาระหนักเกินไปโดยไม่มีเวลาพักผ่อนซึ่งอาจก่อความเครียดและปัญหาสุขภาพ
5. ลดความตึงเครียดเรื่องการเงิน
การดูแลผู้สูงอายุอาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ คนในครอบครัวเช่น พี่น้อง ญาติสนิทอาจต้องตกลงกันว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนไหน อะไรที่จะประหยัดได้บ้าง เช่นเปลี่ยนจากการไปโรงพยาบาลเอกชนมาใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ ยาชนิดเดียวกันอาจเลือกใช้ยี่ห้อที่ถูกกว่า การจ้างผู้ช่วยเป็นวันๆ ตามที่จำเป็นแทนการจ้างเป็นรายเดือนเป็นต้น
ความกตัญญูต่อบุพการีเป็นคุณค่าที่งดงามของสังคมไทย และเชื่อว่าไม่มีลูกคนไหนที่ไม่อยากดูแลพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ของตัวเอง แต่ต้องยอมรับว่าการดูแลผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เริ่มสุขภาพไม่ดีดูแลตัวเองได้น้อยลง บางเรื่องจำเป็นต้องใช้มืออาชีพในการดูแล หรือต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง การทำประกันสุขภาพให้พ่อแม่ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีสุขภาพที่ดีอยู่จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อรองรับค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถศึกษาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพจาก SCB ได้ที่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/health-insurance.html
อ้างอิง
https://dailycaring.com/keeping-aging-parents-at-home-5-top-caregiving-tips/