ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
น้องมีบุญ ชวนรับบุญมาฆบูชา 5 วัดใกล้ MRT
ในเดือนนี้ มีวันสำคัญทางพุทธศาสนาคือวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก นอกจากนั้น ในวันนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญคือ พระสงฆ์ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์ ได้มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย รวมทั้งสิ้น 1,250 รูป พุทธศาสนิกชนจึงมักร่วมกันประกอบกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญ สร้างกุศลกัน วันนี้น้องมีบุญจึงอยากเชิญชวนเพื่อนๆ มาร่วมทางสายบุญ ด้วยวิธีเดินทางแบบสบายๆ ไปกับ MRT จะมีวัดไหนบ้าง เรามาลองไปกันเลย แต่ถ้าเพื่อนๆ คนไหนไม่สะดวก หรือไม่ได้อยู่ในจังหวัดกรุงเทพ ก็สามารถร่วมทำบุญง่ายๆ เพียงสแกน QR Code ก็เตรียมรับผลบุญแบบทันใจได้เช่นกัน และยังมั่นใจได้ว่าเงินที่ทำบุญนี้ ถึงวัดอย่างแน่นอน
วัดหัวลำโพง
เริ่มกันที่รถไฟฟ้า MRT สถานีสามย่านที่ใช้เวลาในการเดินเพียง 2 นาทีก็จะถึงวัดหัวลำโพง ที่เราอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่า เดิมทีนั้นวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดวัวลำพอง” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดหัวลำโพง และมูลนิธิร่วมกตัญญูด้วย
จากการสังเกตรูปทรงของอุโบสถหลังเก่า และเจดีย์เก่าแก่ของทางวัด คาดว่าหลังจากปีพ.ศ.2310 ที่เสียอยุธยาเสียกรุง และถูกทำลาย ชาวบ้านบางส่วนได้หนีลงมาทางตอนใต้ และมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบัน เพราะที่นี่ยังไม่มีผู้คนจับจองอาศัย และยังเดินทางไปมาสะดวกด้วยมีลำคลองต่างๆ ที่ใช้ในการสัญจร และเมื่อเกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ จึงเกิดเป็นวัดวัวลำพอง ที่ตั้งตามชื่อหมู่บ้าน
ต่อมาในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และพระราชทานนามสถานีกรุงเทพแห่งนี้ว่า สถานีหัวลำโพง โดยห่างจากวัดวัวลำพองเพียงแค่ 2 กิโลเมตร และเมื่อปีพ.ศ.2447 ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐิน ณ วัดสามจีน วัดตะเคียน และวัดวัวลำพอง ในการนี้ จึงพระราชทานนามให้แก่วัดเสียใหม่ว่า “วัดหัวลำโพง” ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า “พระพุทธมงคล” โดยมีความเชื่อว่า สามารถขอพรจากท่าน เพื่อให้แคล้วคลาดภัยจากศัตรู เด่นเรื่องการงาน และการเงินอีกด้วย
ที่อยู่ 728 ถนนพระราม 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
วัดอุทัยธาราม
สถานีต่อไปรถไฟฟ้า MRT สถานีเพชรบุรี ใกล้กับสถานีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดอุทัยธาราม หรือชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดบางกะปิ” เพราะตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือราวปี พ.ศ.2310 แต่ไม่แน่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาพ่ายศึก เหล่าทหารแม่ทัพทั้งหลายได้อพยพหนีลงมา จนมาพบเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของคลองบางกะปิ จึงเอาทรัพย์สมบัติมาฝังไว้ที่นี่เพื่อเดินทางหนีต่อไป จนเมื่อสงครามสิ้นสุดก็กลับมาที่เจดีย์แห่งนี้ และทำการบูรณะให้กลับมาเป็นวัดอีกครั้ง โดยสมบัติส่วนหนึ่งที่เคยแอบซ่อนเอาไว้ ก็นำมาบรรจุไว้อีกครั้งพร้อมวัตถุมงคล และพระบรมธาตุ
ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2487 ที่นี่ได้รับผลกระทบจากสงคราม เจดีย์ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดทำให้โค่นพังลงมา ทางวัดได้รอเวลาจนสงครามสงบ ในปี พ.ศ.2488 มีการขุดค้นฐานซากพระเจดีย์ ได้พบวัตถุโบราณต่างๆ เช่น พระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง พระยอดธง พระโคนสมอ พระพุทธรูปบูชา และพระบรมธาตุ จนได้พบหลักฐานต่างๆ ที่นำมาสู่การสรุปว่า พระยาอุทัย น่าจะเป็นผู้ที่ได้ทำการบูรณะ หรือสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา จึงได้นำนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อวัด
ภายในบริเวณวัด มีพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 15.30 เมตร ยาว 38.00 เมตร หน้าบันแกะไม้แกะสลักรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซุ้มประตู หน้าต่าง ปูนปั้นลายพุดตานเครือเถาวัลย์ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ประตูหน้าต่างแกะสลักเครือเถาวัลย์ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองเหลืองสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 1.50 เมตร และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสัมฤทธิ์สิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 1 ศอก
ที่อยู่ 2 ถนนกำแพงเพชร 7 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
มาถึงรถไฟฟ้า MRT สถานีพระราม 9 ไม่ไกลจากสถานี เป็นที่ตั้งของวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 9 สร้างขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาน้ำเน่าเสีย จึงใช้วิธีเติมอากาศที่บึงพระราม 9 ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาชุมชนบริเวณดังกล่าว และสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนโดยมูลนิธิชัยพัฒนา ในปีพ.ศ.2533 นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 8-2-54 ไร่ เพื่อสร้างวัด
ในการสร้างวัดแห่งนี้ เน้นความเรียบง่าย และประหยัดเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชม โดยใช้งบประมาณในการสร้างพระอุโบสถไม่เกิน 3 ล้านบาท ลดขนาดของพระอุโบสถจากเดิมที่จุคนได้ 100 คน เหลือ 30-40 คน เน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ โดยพลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสถาปัตยกรรม และศิลปินแห่งชาติ จึงได้น้อมเอากระแสพระราชดำรัส ใช้ศิลปกรรมผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย กับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมจากวัดต่างๆ เช่น รูปทรงเสาพระอุโบสถ จากพระอุโบสถวัดราชาธิวาส, มุขประเจิด จากพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์, และการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบัน จากพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ โดยโครงสร้างพระอุโบสถเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้นปิดทอง เฉพาะที่ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 ช่อฟ้าใบระกาเป็นลวดลายปูนปั้น ไม่ปิดทอง ประดับกระจกผนัง และเสาก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีขาว บานประตูหน้าต่างใช้กรอบอะลูมิเนียม ลูกฟักเป็นกระจก เพดานพระอุโบสถเป็นเพดานไม้แบบเรียบ ฝังไฟเป็นระยะ โคมไฟในแนวกลาง เดิมออกแบบเป็นโคมหวด หรืออัจกลับแบบเรียบ แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายโคมระย้าเป็นพุทธบูชา ประดับไว้แทนรวม 4 ช่อ พื้นพระอุโบสถ เดิมออกแบบเพียงปูนขัดมัน แต่มีผู้ศรัทธา บริจาคทุนทรัพย์ให้ปูหินแกรนิตตลอดถึงพื้นโถงและบันไดหน้าหลัง พื้นกำแพงแก้วปูหินทรายสีเหลือง และสีแดงน้ำตาล ลูกนิมิต ทำเป็น 2 แบบ ที่มุมทั้ง 4 เป็นหลักเสมาหินทรายสีเขียวจำหลักเป็นรูปเสา หัวเสาประดับลายดอกบัว ติดไว้ที่กึ่งกลางบันไดอีก 2 จุด ที่กึ่งกลางด้านซ้ายและขวาของพระอุโบสถ ติดแผ่นเสมาหินแกรนิตแบบเดียวกันไว้บนแท่นสูงจากระดับพื้นกำแพงแก้วเล็กน้อย กำแพงแก้วก่ออิฐฉาบปูนเป็นช่วงสั้นๆ เฉพาะ 2 ข้าง บันไดทั้ง 4 ด้าน และที่มุมทั้ง 4 โดยปลูกดอกไม้เป็นแนวเชื่อม และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
ที่ตั้ง 999 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
วัดกุนนทีรุทธาราม
สถานีต่อไป รถไฟฟ้า MRT สถานีห้วยขวาง ที่ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 10 นาที ก็จะถึงวัดกุนนทีรุทธาราม หรือที่คุ้นกันดีในนามวัดห้วยขวาง เป็นอีกวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.2428 แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง เพียงแต่ทราบว่ามีพระที่ปกครองมาก่อนหลายรูป และมีนางคล้าย ไม่ทราบนามสกุลเป็นผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2455 พระอาจารย์เปลี่ยน และพระอาจารย์ปั้น สุปันโน แห่งวัดประชาระบือธรรม ร่วมกับชาวบ้านสร้างพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ 1 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ.2527 นางฟ้อน ซื่อสัตย์ ได้บริจาคที่ดินให้กับทางวัดเพิ่มเติมอีก 8 ไร่ จนรวมแล้วทางวัดมีที่ดินทั้งสิ้น 21 ไร่ 9 งาน 381 ตารางวา โดยแบ่งส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที
ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งประอุโบสถหลังเก่า ประดิษฐานพระประธานคือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาด หน้าตัก 60 เซนติเมตร สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ และพระประธานองค์ใหม่ คือ พระพุทธชินราชลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง 158 เซนติเมตร พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวา เศษทองที่เหลือจากการหล่อพระประธาน ได้นำมาหล่อรูปเหมือนพระอาจารย์ปั้น สุปันโน ขนาดเท่าองค์จริง และหล่อพระพุทธรูปขนาด 51 เซนติเมตรที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเหลือ เป็นที่เคารพนับถือจากชาวบ้านเป็นจำนวนมาก
ที่อยู่ 88 ซอยอินทามระ 59 แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง ประเทศไทย 10400
วัดธรรมาภิรตาราม
สถานีสุดท้าย รถไฟฟ้า MRT สถานีบางซื่อ หากเดินเท้าใช้เวลาเพียง 12 นาทีก็จะถึงวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2300 โดยอ้างอิงจากการเก็บข้อมูล และหลักฐานของกรมศิลปากร โดยเดิมทีวัดมีชื่อว่า “วัดสองพี่น้อง” ซึ่งพื้นที่ของวัดเคยเป็นสวนมาก่อน จึงอุดมไปด้วยพืชพรรณต่างๆ และยังมีต้นโพธิ์ใหญ่ขนาด 2-3 คนโอบ ต่อมา เมื่อความเจริญเข้ามาถึงวัด มีการตัดถนนก็เรียกกันว่า วัดสี่แยก และชื่อวัดสะพานสูง มาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จมาที่วัด แล้วทรงตรัสว่า วัดนี้มีสะพานสูงเป็นเครื่องหมายควรชื่อวัดสะพานสูง ทุกคนจึงพากันเรียกว่าวัดสะพานสูงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมา ในปี พ.ศ.2482 ที่มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย ก็มีการเปลี่ยนชื่อวัดที่เป็นภาษาไทยแท้ ให้เป็นภาษาที่ต้องแปลอีกครั้ง โดยวัดสะพานสูง ก็ได้รับชื่อจากเจ้าคณะดุสิต กรุณาตั้งให้เป็น “วัดธรรมาภิรตาราม” แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกว่าวัดสะพานสูงเช่นเคย
ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถเก่าแก่ ซึ่งไม่ทราบว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ใช้การก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูนสัณฐานโบสถ์ด้านนอกทำคล้ายท้องเรือสำเภา รูปแบบการสร้างแบบอยุธยา หรืออาจจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา แต่ด้วยอายุที่เก่าแก่มากยากเกินจะทำการบูรณะ จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.2512 มีพระพุทธรูปหลวงพ่อสุโขทัย เป็นพระประธาน ส่วนพระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่ออู่ทอง ทำด้วยหินทรายแดง ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ แบบสมัยอู่ทอง หน้าตักกว้าง 168 เซนติเมตร ส่วนสูงจากทับเกษตรถึงยอดเปลวรัศมี สูง 227 เซนติเมตร
นอกจากนั้น ยังมีพระสถูปเจดีย์แบบย่อเหลี่ยมไม้ กว้างด้านละ 6 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร เป็นพระเจดีย์องค์เดิม ซึ่งผ่านการปฏิสังขรณ์มาแล้ว และได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุจากกรมศิลปากร
ที่อยู่ 170 ถนนเตชะวณิช แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
https://goo.gl/maps/JAXaP6aShHBtWBZbA
>> สแกน QR Code ทำบุญทันใจ
>> กด “ยอมรับ” ให้ธนาคารที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลรายการนี้ ให้แก่ กรมสรรพากร และ/หรือ หน่วยรับบริจาค เพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
>> ใส่จำนวนเงินบริจาค กดปุ่มยืนยัน เพียงเท่านี้ เงินก็จะถูกส่งไปเข้าบัญชีของวัดโดยตรง
ข้อมูลบริจาคที่ส่งไปกรมสรรพากรจะถูกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยเราสามารถคลิกดูรายละเอียดข้อมูลที่บริจาค E-Donation ไปแล้ว ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง่ายสะดวกทันใจ สายบุญยุคดิจิทัล
สามารถเลือกวัดที่ต้องการทำบุญเพิ่มเติม ผ่านการ สแกน QR Code ได้ที่ >>
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/other-services/e-donation.html
ทำบุญสุขใจ ผ่าน SCB EASY App โดยตรง เลือกวัดที่ต้องการทำบุญ ได้ที่ >>
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/easy-donation.html