ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Digital Detox ลดความเครียดมนุษย์ยุคดิจิทัล
Digital Detox คืออะไร
ในยุคที่หลายคนกลายเป็นมนุษย์ติดหน้าจอ สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกตั้งแต่ตื่นนอนคือต้องหยิบมือถือมาเช็คดูสารพัดแอปโซเชี่ยลมีเดีย และก็เป็นอย่างนี้ตลอดทั้งวัน การที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันแทบจะตลอดเวลา ทำให้เกิดแนวคิด “Digital Detox” หมายถึงการมีช่วงเวลาหนึ่งที่คนเราลดการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอย่าง สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต ในการเข้าถึงโซเชียลมีเดียให้น้อยลง แล้วหันมาใช้เวลากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในชีวิตจริงโดยปราศจากสิ่งรบกวน ซึ่งจะช่วยให้ลดความตึงเครียดที่สะสมในตัวเราจากการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลตลอดเวลา
ทำไมควรทำ Digital Detox บ้าง
จากการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าในปี 2563 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึงวันละ 11 ชั่วโมง โดยใช้เวลาไปกับการใช้แอปโซเชี่ยลมีเดีย เช่น Facebook, LINE, Instagram มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.3% แม้การใช้เทคโนโลยีท่องโลกโซเชี่ยลจะเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน แต่การใช้งานมากเกินไปอาจแสดงถึงพฤติกรรมการเสพติด (behavioral addiction) ที่ส่งผลต่อร่างกาย จิตใจและปัญหาสังคมได้ ดังต่อไปนี้
· เกิดความเครียด : ขณะทีหลายคนจินตนาการชีวิตที่ไร้มือถือ แท็ปเลตไม่ออก แต่ผลการวิจัยเรื่องความเครียดโดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Associations) พบว่าหนึ่งในห้าของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่บอกว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดในชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้แล้วก็ต้องเช็คอีเมล ข้อความ โซเชี่ยลมีเดียตลอดเวลา มีการศึกษาโดยนักวิจัยในสวีเดนพบว่า ผู้ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจะมีความเชื่อมโยงกับปัญหานอนไม่หลับ อาการซึมเศร้า และมีความเครียดเพิ่มขึ้น
· รบกวนการนอน : การนอนหลับเต็มอิ่มเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี ซึ่งมีผลการศึกษาว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนักก่อนเข้านอนจะมีผลกับการนอนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีแนวโน้มทำให้วิตกกังวล นอนไม่หลับ และระยะเวลานอนสั้นลง อีกทั้งยังพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้เทคโนโลยีในช่วงเวลานอนกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายอีกด้วย
· กระทบกับ Work-Life Balance : การเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลตลอดเวลา ทำให้การขีดเส้นแบ่งเรื่องงานกับชีวิตส่วนตัวยากขึ้น เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่บ้านหรือลาพักร้อน ก็อดไม่ได้ที่จะเช็คเมล์ หรือตอบข้อความจากเพื่อนร่วมงาน จากงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร “Applied Research in Quality of Life” กล่าวว่าการใช้เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญกับ Work-Life Balance ของแต่ละคน ซึ่งการที่มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ส่งผลต่อความเครียดในการทำงาน และความรู้สึกว่าทำงานมากเกินไป
· เห็นชีวิตคนอื่นในโซเชี่ยลแล้ว ไม่มีความสุขกับชีวิตตัวเอง : การที่เราท่องโลกโซเชี่ยลที่เต็มไปด้วยเรื่องราวชีวิตดีๆ ของคนอื่นๆ อย่างคนรอบตัว หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่รู้จัก ดาราเซเล็บ อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบว่าทุกคนล้วนมีชีวิตที่ดีกว่าเรา ทั้งๆ ที่สิ่งที่คุณเห็นบนโซเชี่ยลเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของชีวิตพวกเขา ความรู้สึกนี้เป็นพิษร้ายกับจิตใจของเรา การทำ Digital Detox จากโลกโซเชี่ยลเป็นวิธีการช่วยให้เรากลับมาสนใจกับสิ่งสำคัญจริงๆ กับชีวิตเรา โดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
· เกิดอาการ FOMO : การกลัวว่าจะตกกระแสสังคม (Fear of missing out – FOMO) ทำให้ต้องออนไลน์อยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวพลาดเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แล้วจะคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง จึงต้องหมั่นเช็กมือถือดูข้อความ แช็ท ไถฟีดอยู่เรื่อยๆ
สัญญาณที่บอกว่าคุณควรทำ “Digital Detox” ได้แล้ว
· เครียด และกระวนกระวายเมื่อหามือถือไม่เจอ
· รู้สึกว่า “ต้อง” เช็คมือถืออยู่ตลอดเวลา
· หดหู่ กังวล หรือโกรธ หลังจากเล่นโซเชียลมีเดีย
· หมกมุ่นกับยอดไลค์ คอมเมนท์ แชร์ในโพสต์ของคุณ
· กลัวว่าจะพลาดบางอย่างไปถ้าไม่คอยเช็กมือถือ
· พบว่าตัวเองนอนดึกหรือตื่นเช้าเพื่อมาเล่นมือถือ
· ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าไม่ได้เช็กมือถือ
อยากทำ Digital Detox ต้องเริ่มยังไง
สำหรับคนที่อยากทำ Digital Detox มีแนวทางที่จะเริ่มต้นได้ด้วยตัวคุณเอง
· สำหรับหลายๆ คน เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ Digital Detox อย่างเต็มรูปแบบ เพราะยังคงต้องออนไลน์เรื่องงาน เรื่องเรียน และอื่นๆ สิ่งที่สำคัญคือการทำให้การ Digital Detox เข้ากับตารางชีวิตของเราเอง เช่นถ้าเราต้องใช้มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงาน ก็ลองมาทำ mini-detox หลังเลิกงาน เลือกเวลาที่เราจะปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกอย่าง แล้วใช้เวลากับกิจกรรมที่ “ปลอด” ดิจิทัล ไม่มีโซเชี่ยลมีเดีย ข้อความแมสเซส วิดีโอออนไลน์ เป็นต้น
· ตั้งลิมิตว่าจะให้เทคโนโลยีดิจิทัลอะไรเข้ามาในช่วงเวลาของแต่ละวัน เพื่อให้เป็นผลดีกับสภาพจิตใจและช่วยให้เราจดจ่อกับกิจกรรมในชีวิตจริงที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่ถูกโลกดิจิทัลดึงความสนใจ เช่น ฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์ในแอปฟังเพลง ขณะออกกำลังกาย แต่ตั้ง airplane mode เอาไว้จะได้ไม่ถูกกวนโดยข้อความหรือ notification จากแอปต่างๆ หรือการงดใช้มือถือในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ตอนกินข้าว โดยเฉพาะกินข้าวร่วมกับผู้อื่น ตอนตื่นนอน/ก่อนเข้านอน หรือตอนที่อยู่เพื่อนหรือครอบครัว ทั้งนี้มีผลวิจัยกล่าวว่าการลิมิตเวลาใช้โซเชี่ยลมีเดียให้ได้ที่วันละ 30 นาที จะช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้าได้
· ขจัดสิ่งรบกวน : อีกทางหนึ่งคือการปิดข้อความเตือน (notification) จากแอปต่างๆ ในมือถือ เพราะจะช่วยให้เรากำหนดเวลาการใช้มือถือของเราได้ แทนที่จะต้องกดอ่านข้อความ เช็กแอปทุกครั้งที่มีข้อความเด้งขึ้นมา
· เลือกวันใดวันหนึ่งในสัปดาห์ เป็นวันปลอดอุปกรณ์ดิจิทัล หรือถ้าเรารู้สึกว่าใช้เวลากับแอป เว็บไซต์ หรือเกมไหนมากเกินไป ก็พยายามจำกัดเวลาใช้งานแอปนั้นๆ
แม้ชีวิตในโลกยุค 4.0 จะมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน แต่การกลับมาสู่โหมดที่ปราศจากเทคโนโลยีบ้างอาจจะช่วยให้เราได้ปรับใจ ปรับอารมณ์ หันกลับมาใส่ใจและพูดคุยกับคนในชีวิตจริงที่อยู่ตรงหน้า สร้างพลังใจในการใช้ชีวิตอย่างเข้มแข็งต่อไป
เพราะเรื่องความเครียดส่งผลต่อสุขภาพใจและสุขภาพกาย แนะนำทำประกันสุขภาพคุ้มครองทั้ง OPD แบบเหมาจ่าย IPD ผู้ป่วยใน มีตรวจสุขภาพประจำปี วัคซีน สายตา ทำฟัน แพทย์ทางเลือก ตั้งครรภ์ คลอดบุตร พร้อมดูแลทั้งสุขภาพกายและใจให้แข็งแรงในทุกวัน
คลิกดูข้อมูลประกัน OPD คุ้มครบ จบหายห่วง
ที่มา
https://www.verywellmind.com/why-and-how-to-do-a-digital-detox-4771321
https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx