ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Work From Home ยังไง ให้ภาวะจิตใจยัง O.K.
ในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่กระจาย ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเก็บตัวอยู่กับบ้านกันต่อไป และการทำงานจากบ้าน หรือ Work from Home (WFH) ก็เริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2-3 บางคนอาจเริ่มเกิดความรู้สึกแปลกๆ เซ็ง เบื่อหน่าย หดหู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาบ่งชี้ว่าการทำงาน WFM เป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ยิ่งในช่วงที่มีวิกฤตไวรัสโควิด-19 แบบนี้ การดูแลสุขภาพจิตให้ดีสำคัญเป็นอย่างมาก แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพจิตในสถานการณ์ที่ต้อง Work from Home
1. สำรวจตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?
ก่อนอื่นให้สังเกตตัวเองว่าเรามีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า : เหงา โดดเดี่ยว ถูกตัดขาดจากคนอื่น หยุดคิดเรื่องงานไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการลำดับความสำคัญของงาน รู้สึกไม่แน่ใจว่าผลการทำงานดีหรือไม่ นอนไม่หลับ หากเริ่มมีความรู้สึกแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็หมายความว่าสุขภาพจิตเราเริ่มมีปัญหาแล้ว
2. จัดตารางกิจวัตรประจำวัน
สังเกตมั้ยว่าเวลาตอนอยู่บ้านจะเดินเร็วกว่าตอนอยู่ที่ทำงานเสมอ ดังนั้น การทำตารางชีวิตและทำตามที่แพลนไว้อย่างเคร่งครัดไม่เพียงแต่ทำให้เราสามารถ WFH มีประสิทธิภาพด้วยการเคลียร์งานให้จบแต่ละวัน ไม่ให้มีเหลือค้าง แต่ยังช่วยให้บริหารชีวิตเวลางานและเวลาส่วนตัวได้ดีขึ้น การมีเวลาเริ่มงานและเลิกงานที่แน่นอนจะทำให้การทำงานไม่ล่วงล้ำเวลาของครอบครัว คุณจะสามารถปิดสวิตซ์เรื่องงานและพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
3. อย่าทำงานในห้องนอน
ข้อนี้สำคัญมาก มีผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการ WFH รบกวนการนอนหลับ เพราะคนไม่สามารถตัดเรื่องงานออกจากสมองได้ ถ้ายิ่งเอางานไปทำในห้องนอนก็ยิ่งทำให้นอนไม่หลับไปกันใหญ่ ควรต้องมีห้องทำงานหรือโซนทำงานโดยเฉพาะซึ่งพอเลิกทำงานแล้ว ก็ออกจากตรงนั้นไปยังได้ไม่คิดถึงเรื่องงานอีก ยิ่งถ้าในบ้านใครที่ต้อง WFH หลายคน ก็ควรจะมีโซนทำงานของใครของมันจะได้ไม่ให้รบกวนสมาธิกัน
4. สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานบ่อยๆ
การที่เราได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมทางออนไลน์ผ่านแอปต่างๆ หรือส่งข้อความทาง LINE จะช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นในการทำงานและคงความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงาน ที่สำคัญการได้ติดต่อสื่อสารกับคนอื่นจะช่วยให้เราเครียดน้อยลงส่งผลดีถึงประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง
5. ใช้สิ่งที่ชอบเยียวจิตใจ
แม้เราอาจต้องเจอความเครียดจากการ WFH แต่เมื่อหมดเวลางานแล้วก็ต้องหาอะไรมาเยียวยาจิตใจให้หายเครียด ใครเป็นสายกินก็หาของกินอร่อยๆ มาทำโภชนาบำบัด ใครชอบออกกำลังกายก็จัดไปให้เต็มที่ หรือบางทีการได้พักมองวิวสวนสีเขียวดอกไม้ใบหญ้านอกบ้านก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้ การคิดถึงด้านดีของ WFH อย่างการไม่ต้องตื่นแต่เช้า ไม่ต้องผจญรถติด ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง ฯลฯ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้เราปรับจิตใจรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ดีขึ้น
อ้างอิง