ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
กลยุทธ์เพิ่มผลตอบแทนให้พอร์ต
“การบริหารพอร์ตการลงทุน” หลายคนได้ฟังประโยคนี้แล้วอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากในทางปฏิบัติ แต่ความจริงแล้วมีหลักการง่าย ๆ เช่น กระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่กระจัดกระจายมากจนเกินไป มีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของตัวเอง หรือมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง เป็นต้น
นอกจากหลักการดังกล่าว นักลงทุนก็ต้องมองหาวิธีที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือพยายามวางกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงผลตอบแทนให้ดีขึ้น ซึ่งเคล็ดลับสำคัญประการหนึ่งที่นักลงทุนนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลตอบแทน คือ การเลือกสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น ควรเลือกหุ้นหรือตราสารหนี้หรือลงทุนทั้งสองอย่าง ควรลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทขนาดเล็ก ควรเลือกกลยุทธ์ลงทุนแบบเชิงรับหรือแบบเชิงรุก ที่สำคัญต้องปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หมายความว่า สินทรัพย์ลงทุนมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตลงทุนโดยรวม ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภทและเปรียบข้อดี ข้อด้อย ก่อนตัดสินใจลงทุน
หุ้น vs. กองทุนรวมหุ้น
การลงทุนหุ้นโดยตรง นอกจากจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูง มีความยืดหยุ่นสูง ปรับกลยุทธ์การลงทุนได้คล่องตัว แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันต้องใช้เวลาในการติดตามข้อมูลและอาศัยประสบการณ์การลงทุนค่อนข้างสูง และถึงแม้ตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นแต่หุ้นไม่ได้ขึ้นทุกตัว ดังนั้น ควรกำหนดสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นกับเงินส่วนที่เก็บไว้เพื่อจุดประสงค์อื่นให้เหมาะสม เช่น ควรแบ่งเงินลงทุนกองทุนรวมหุ้นกระจายความเสี่ยง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและกระจายการลงทุนในหุ้นหลายตัว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยกรณีที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน
หากจะลงทุนในหุ้นโดยตรงควรเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีภายใต้มูลค่าที่เหมาะสม ส่วนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นก็เลือกจากนโยบายการลงทุนว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
หุ้นขนาดใหญ่ vs.หุ้นขนาดกลางและเล็ก
ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนหุ้น คือ การเลือกหุ้นตามขนาดธุรกิจซึ่งดูจากมาร์เก็ตแคป คือ หุ้นขนาดใหญ่และหุ้นขนาดกลางและเล็ก จากนั้นก็เลือกลงทุนตามกลุ่มที่สนใจ หากสนใจหุ้นขนาดใหญ่ก็มองว่าเป็นหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลายาวนาน ผ่านการขยายตัวจนเติบโตมั่นคงและมีส่วนแบ่งการตลาดจนอยู่ตัว และเป็นหุ้นที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวและสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในลักษณะเงินปันผล
สำหรับหุ้นขนาดกลางและเล็ก มักถูกมองว่ามีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งต่ำกว่าหุ้นขนาดใหญ่และมีบทวิเคราะห์ให้ศึกษาไม่มากนัก ทำให้เมื่อถึงเวลาตัดสินใจเลือกลงทุนก็มักจะเน้นหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งความจริงแล้วหากเลือกหุ้นขนาดกลางเล็กและเล็กได้ถูกต้อง โดยเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีก็สามารถลงทุนได้ โดยปีเตอร์ ลินซ์ กล่าวเอาไว้ในหนังสือ Beating the Street ว่าการกระจายการลงทุนไปในหุ้นโตเร็วเป็นทางเดียวที่ช่วยให้พอร์ตการลงทุนชนะตลาดได้ หมายความว่า ถ้าพอร์ตลงทุนมีส่วนผสมของหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างเหมาะสมอาจทำให้ผลตอบแทนชนะตลาดได้
หุ้นคุณค่า vs. หุ้นเติบโต
หุ้นคุณค่าจะมีลักษณะสำคัญต้องประกอบด้วยอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ในระดับที่สูง อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) อยู่ในระดับต่ำ และอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio) อยู่ในระดับที่ต่ำ
การลงทุนในหุ้นคุณค่าจึงเป็นการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาวและมีความผันผวนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นประเภทอื่น ซึ่งเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจหดตัวหรือเกิดวิกฤติ คือ เมื่อนักลงทุนมองไปข้างหน้าแล้วเชื่อว่ายังมีความไม่แน่นอนสูง การลงทุนหุ้นคุณค่าจึงได้รับความนิยมค่อนข้างสูง
ส่วนใหญ่แล้วการลงทุนหุ้นคุณค่าเป็นการลงทุนในกิจการที่มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนักตามความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันระดับสูง ผลกำไรมีการเติบโตสม่ำเสมอต่อเนื่อง มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับและยากที่คู่แข่งจะมาแข่งขันได้ง่าย ที่สำคัญราคาหุ้นในปัจจุบันมีราคาต่ำกว่ามูลค่ากิจการที่แท้จริง
หุ้นเติบโต เป็นหุ้นที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่นและรวดเร็วกว่าหุ้นตัวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของสินทรัพย์ รายได้และกำไร ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด เหตุผลที่ควรมีหุ้นเติบโตไว้ในพอร์ต คือ ผลตอบแทนอยู่ในระดับสูงในระยะเวลาการถือหุ้นที่ไม่นาน
หุ้นเติบโตเหมาะกับนักลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนค่อนข้างสั้น (ต่ำกว่า 1 ปี) และรับความเสี่ยงจากความผันผวนของการลงทุนได้สูง เพราะผลการดำเนินงานหรือประเด็นการลงทุนจะมีส่วนการปรับตัวของราคาหุ้นประเภทนี้เสมอ
Active Management vs. Passive Management
การจัดพอร์ตแบบ Active Management จะศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์ในแต่ละช่วงของภาวะเศรษฐกิจ โดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง และขายสินทรัพย์ที่มีราคาแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ภายใต้ความคาดหวังผลตอบแทนในระดับที่สูง ขณะเดียวกัน สามารถปรับพอร์ตได้ตลอดเวลา ด้วยการดูจังหวะการลงทุน การถือสินทรัพย์และเงินสดในแต่ละช่วงให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
การจัดพอร์ตแบบ Passive Management เน้นการลงทุนที่เลียนแบบดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการอ้างอิง (Benchmark) ทำให้ได้รับอัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่อ้างอิง หมายความว่า ต้องยอมรับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นไปตามดัชนีอ้างอิง ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด
จึงมีความเสี่ยงอยู่ในระดับเดียวกันกับดัชนีที่อ้างอิงนั้น ๆ
การจัดสรรสินทรัพย์
การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) คือ การวางแผนกระจายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์การลงทุน หลายประเภทที่แตกต่างกันไปเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุน โดยพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงและระยะเวลาที่ต้องการลงทุน
หากจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนอย่างเหมาะสม จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะราคาของสินทรัพย์แต่ละประเภทจะตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน รวมทั้งใช้เวลาในการปรับขึ้นลงของราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภทในระดับที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจำนวนมากในคราวเดียวได้เป็นอย่างดี