ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หุ้นกู้ การลงทุนและความเสี่ยง
หุ้นกู้ คือ "ตราสารหนี้" ที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจการต่างๆ ของบริษัท เช่น เพื่อการลงทุนขยายกิจการ ซื้ออุปกรณ์ หรือเพื่อก่อสร้างโรงงาน หุ้นกู้สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่าๆ กัน ในประเทศไทยการออกหุ้นกู้โดยทั่วไปมักจะกำหนดมูลค่าไว้ที่หน่วยละ 1,000 บาท และหุ้นกู้ส่วนใหญ่มักกำหนดมูลค่าการซื้อขั้นต่ำไว้ที่ 100,000 บาทหรืออาจมากกว่านั้นในกรณีการขายให้นักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนรายใหญ่
ในการลงทุนผ่านหุ้นกู้ ผู้ซื้อหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ในขณะที่ผู้ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ ที่มาขอยืมเงินพร้อมสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้คืนให้ผู้กู้ในอัตราที่แน่นอน ตามระยะเวลาของสัญญาการกู้เงิน ซึ่งเป็นสัญญาระยะปานกลางถึงยาว เช่น หุ้นกู้อายุ 3 ปีจนถึง 10 ปี ซึ่งหุ้นกู้จะมีลักษณะเหมือนพันธบัตรรัฐบาล แตกต่างเพียงพันธบัตรรัฐบาล ออกโดยรัฐบาล ในขณะที่หุ้นกู้ออกโดยบริษัทเอกชน
ผลตอบแทนของหุ้นกู้ จะอยู่ในรูปของดอกเบี้ย การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน แต่สำหรับหุ้นกู้บางรุ่น อาจจ่ายปีละ 4 ครั้ง หรือทุกๆ 3 เดือน ก็ได้ และดอกเบี้ยที่ได้รับจากหุ้นกู้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 15% เช่นเดียวกับรายได้จากดอกเบี้ยชนิดอื่นๆ
ประเภทของหุ้นกู้
ในปัจจุบัน บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ได้ออกหุ้นกู้หลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้สนใจหุ้นกู้ของบริษัท และเพื่อให้บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ตัวอย่างของหุ้นกู้ที่มีออกจำหน่ายในปัจจุบัน เช่น
ส่วนหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) นั้นไม่ใช่ประเภทของหุ้นกู้ แต่เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
การจัดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ (Credit Rating)
การจัดอันดับเครดิต หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตวิธีหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากอันดับเครดิตแต่ละระดับจะมีสัญลักษณ์ตัวอักษร เช่น AAA หรือ AA เพื่อบ่งบอกความเสี่ยงในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกตราสาร สถาบันการเงินผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และนักลงทุน สามารถเข้าใจตรงกันได้ง่ายขึ้น ว่าทั้งผู้ออกตราสารหนี้ และตัวตราสารหนี้นั้นๆ มีความเสี่ยงมากกว่า เท่ากัน หรือน้อยกว่าตราสารอื่นๆ อย่างไร
อันดับเครดิตที่เปิดเผยสู่สาธารณะนั้น จัดทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) โดยมีทั้งสถาบันระดับสากล Standard & Poor’s (S&P’s), Moody’s และ Fitch Ratings ทำหน้าที่จัดอันดับเครดิตตราสารของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมไปถึงอันดับเครดิตของประเทศ และส่วนในประเทศไทยก็จะมี ทริสเรทติ้ง และ ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) อันดับเครดิตมีความหมายโดยย่อดังนี้ โดยอันดับที่จัดว่าลงทุนได้คือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป
ระดับที่น่าลงทุน |
TRIS |
Fitch |
Moody’s |
S&P |
คำอธิบาย |
AAA |
AAA(tha) |
Aaa |
AAA |
อันดับเครดิตสูงที่สุด มีความเสี่ยงต่ำที่สุดที่จะไม่สามารชำระหนี้ได้ตามกำหนด |
|
AA |
AA(tha) |
Aa |
AA |
อันดับเครดิตรองลงมา และถือว่ามีความเสี่ยงต่ำมากที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด |
|
A |
A(tha) |
A |
A |
ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ |
|
BBB |
BBB(tha) |
Baa |
BBB |
ความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับปานกลาง |
ความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นกู้
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้ ควรพิจารณาเป้าหมายการลงทุน และระยะเวลาในการลงทุนให้ชัดเจน รวมทั้งพิจารณาอันดับเครดิตของหุ้นกู้นั้นๆ ว่าตรงกับระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้หรือไม่ และวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ว่านำเงินไปทำอะไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่า นอกจากอันดับเครดิตที่ถูกประเมินแล้ว มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่บริษัทจะนำเงินกู้มาคืนเมื่อครบกำหนด
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร