ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Private Assets แบบ Semi-Liquid ทางเลือกลงทุนสินทรัพย์นอกตลาดที่มีสภาพคล่อง
จากประเด็นทางปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะเงินเฟ้อสูง รวมถึงนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกที่เร่งปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้สร้างแรงกดดันและความผันผวนต่อตลาดลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นและ/หรือตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายสาธารณะ (Public Assets) ซึ่งหากเป็นสถานการณ์โดยทั่วไป พอร์ตที่มีการลงทุนแบบผสมผสานทั้งในหุ้นและตราสารหนี้จะสามารถช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนให้แก่นักลงทุนได้ เนื่องจากค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ของผลตอบแทนในอดีตระหว่าง 2 สินทรัพย์นี้มักจะแปรผกผันกัน หากแต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2022 พอร์ตการลงทุนที่เน้นลงทุนใน Public Assets ต่างให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ในขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Private Assets กลับได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจาก Private Assets มีความผันผวนที่ต่ำกว่าการลงทุนใน Public Assets
สำหรับนิยามโดยทั่วไปของ Private Assets คือการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด สามารถแบ่งเป็น Private Equity, Private Credit และ Private Real Assets ซึ่งในแง่ของสินทรัพย์การลงทุนก็จะมีลักษณะที่คล้ายกับการลงทุนใน Public Assets แตกต่างกันที่สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ได้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายสาธารณะ (Public Exchange) และมักเป็นเพียงการเจรจาซื้อขายนอกตลาดผ่านผู้จัดการสินทรัพย์นอกตลาดมืออาชีพ ซึ่งการลงทุนใน Private Assets มีข้อดีที่นอกจากช่วยเรื่องของการกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนได้แล้ว นักลงทุนยังสามารถคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่มากขึ้นได้อีกด้วย โดยในอดีตที่ผ่านมา การลงทุนใน Private Equity สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ในระยะยาวและมีความผันผวนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีหุ้นโลก (MSCI World) ซึ่งการเสริมพอร์ตการลงทุนด้วย Private Assets จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนนั้นมีผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Risk Adjusted Return) ที่สูงขึ้นได้
อย่างไรก็ดี แม้การลงทุนใน Private Assets จะมีความน่าสนใจในเรื่องของผลตอบแทนและเรื่องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน แต่การที่นักลงทุนทั่วไปจะสามารถเข้าถึงการลงทุนในแบบ Private Assets ได้นั้นยังทำได้ยาก เนื่องจาก การลงทุนในสินทรัพย์ประเภท Private Assets มักมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการลงทุนที่แตกต่างจากการลงทุนทั่วไป อาทิ ระยะเวลาการลงทุน ที่จะมีการกำหนดช่วงเวลาถือครองและไม่สามารถไถ่ถอนเงินลงทุนก่อนเวลาที่กำหนดได้ (Lock-up Period) เป็นระยะเวลานาน ที่บางครั้งอาจยาวนานถึง 10 ปี รวมถึงการกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง (Minimum Investment) โดยมีหลายกองทุนที่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไว้ที่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบกองทุนปิด (Close-end Fund) ที่เมื่อระดมทุนได้ตามที่ต้องการแล้วก็จะไม่มีการเปิดให้นักลงทุนเข้าลงทุนเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ลักษณะของ Private Assets ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงลักษณะเฉพาะของการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Private Assets)
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกองทุนรวม Private Assets แบบ Semi-Liquid ที่เข้ามาช่วยลดข้อจำกัดของนักลงทุนรายบุคคลที่ต้องการลงทุนใน Private Assets แล้ว โดยนักลงทุนจะสามารถซื้อและขายหน่วยลงทุนได้เป็นรายเดือน และมีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ลดลง อย่างไรก็ตาม กองทุนรวม Private Assets แบบ Semi-Liquid นี้ยังจัดเป็นกองทุนประเภทซับซ้อน ดังนั้น ผู้ลงทุนรายบุคคลที่จะสามารถลงทุนได้จะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดเท่านั้น
ท้ายสุดนี้ ผมขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยการเน้นย้ำกับนักลงทุนว่า “การลงทุนใน Private Assets เหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว และอาจใช้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน มิใช่ลงทุนเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น เพราะการลงทุนใน Private Assets เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก (ความเสี่ยงระดับ 8+) อีกทั้งสินทรัพย์การลงทุน รวมถึงกองทุนจะมีสภาพคล่องที่ต่ำกว่าการลงทุนหรือกองทุนโดยทั่วไป นักลงทุนจึงต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ พิจารณาผลตอบแทน ความเสี่ยง และทำความเข้าใจก่อนการลงทุนนะครับ”
คำเตือน
บทความโดย คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566
ที่มา :
The Standard Wealth