ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จัก ‘Smart Beta’ กลยุทธ์ลงทุนแบบผสมผสานสู้สภาวะตลาด
‘Smart Beta’ หนึ่งในการลงทุนที่ถูกพูดถึงในประเทศไทยมาหลายปีแล้ว และมีนักลงทุนที่เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งการลงทุนด้วย Smart Beta นี้ คือการลงทุนด้วยระบบที่มีกฎการลงทุนที่แน่นอน (Rule-Based Investment) การลงทุนแบบ Smart Beta เป็นการลงทุนที่อยู่ตรงกลางระหว่างการลงทุนแบบ Active และ Passive ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์แบบ Active ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด ในขณะเดียวกันมีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์แบบ Passive ที่กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกและให้น้ำหนักหลักทรัพย์อย่างชัดเจน โดยมีการคัดเลือกและให้น้ำหนักหลักทรัพย์ตามปัจจัย (Factor) ที่มีผลต่อการสร้างผลตอบแทน
กลยุทธ์ Smart Beta นั้นมีการค้นคว้าและถูกนำมาใช้ในการลงทุนในตลาดหุ้นของหลายๆ ประเทศมากว่า 20 ปี โดย 5 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
นอกจากนี้ การจัดพอร์ตการลงทุนด้วย Smart Beta ทำให้นักลงทุนสามารถทำความเข้าใจผลตอบแทนที่เกิดได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เราสามารถใช้ Smart Beta เพื่อการลงทุนในระยะยาว (Strategic Allocation) หากเชื่อว่าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่น ปัจจัยด้านมูลค่าพื้นฐาน (Value) จะสามารถสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนระยะสั้น (Tactical Allocation) โดยเลือกปัจจัยที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน อาจเลือกลงทุนในปัจจัยด้านคุณภาพ (Quality) เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มเสถียรภาพจากบริษัทที่มีคุณภาพสูงในเชิงรายได้ กำไร และการบริหารจัดการ
สำหรับกลยุทธ์ที่นิยมกัน ได้แก่ Core-Satellite คือการแบ่งเงินลงทุนเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งมีการลงทุนในระยะยาวซึ่งเป็นส่วนของ Core โดยส่วนนี้อาจจะลงทุนในกองทุนแบบเชิงรับ เช่น SET Index Fund หรือลงทุนในหุ้นที่มีสไตล์ Defensive เช่น Quality หรือ Large Cap และส่วนที่เหลือคือ Satellite ซึ่งสามารถลงทุนในกองทุน Smart Beta ต่างๆ และสับเปลี่ยนกองทุน Smart Beta ไปเรื่อยๆ หรือจะเลือกลงทุนในกองทุน Smart Beta หลายกองทุนพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะตลาด ซึ่งประโยชน์ของ Core-Satellite นี้จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถสร้างพอร์ตที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนเอง และยังช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตอีกด้วย
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุน Smart Beta เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดโดยรวมแบบ Active แต่มีการคัดเลือกและให้น้ำหนักหลักทรัพย์ตามปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผลตอบแทนที่ชัดเจนและเป็นระบบ อีกทั้งค่าธรรมเนียมไม่แพง มีความใกล้เคียงกับกลยุทธ์แบบ Passive นอกจากนี้กลยุทธ์ Smart Beta สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายในด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการกระจายความเสี่ยง การลงทุนระยะสั้น และ/หรือระยะยาว โดยเลือกสับเปลี่ยนปัจจัยการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
ในปี 2022 ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 3.53% ซึ่งนับว่าเป็นปีที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของเงินเฟ้อและสงคราม ซึ่งหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเกินจาก SET Index คือหุ้นในกลุ่ม Quality และหุ้นขนาดใหญ่ (Large Cap) ส่วนสไตล์ที่ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนักคือหุ้นกลุ่ม Momentum แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2023 สไตล์การลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และเห็นได้ว่าการลงทุนด้วยสไตล์ Momentum, Quality และ Large Cap ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหนือตลาด (เมื่อเทียบกับ SET Index) ได้ ทั้งนี้ เมื่อมองถึงสภาวะตลาดในปัจจุบันที่ยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก ทั้งความเสี่ยงการเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตธนาคารในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมไปถึงนโยบายด้านการเงินของธนาคารกลาง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่การลงทุนในสไตล์ Quality และการลงทุนในหุ้น Large Cap มีโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเกินได้ในปี 2023
คำเตือน:
บทความโดย คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2566
ที่มา :
The Standard Wealth