ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เจรจาธุรกิจ พิชิตใจคนเมียนมา
ในบรรดาผู้ประกอบการต่างชาติทั้งหลาย ผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบในการทำการค้า การลงทุนกับเมียนมาจากทำเลที่ตั้งซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับเมียนมาเป็นระยะทางถึง 2,401 กิโลเมตร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายการค้าการลงทุนในเมียนมาว่ายังมีอีกมาก สำหรับธรรมเนียมในการติดต่อธุรกิจกับชาวพม่าที่น่ารู้เพื่อให้การเจรจาธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นมีดังนี้
1. การแต่งกาย
สำหรับคนเมียนมานั้นการแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จในการทำงาน การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแบรนด์ สภาพใหม่ และมีความพิถีพิถัน ผู้ชายควรสวมเสื้อสีขาว หรือสีสุภาพ (ไม่ถึงกับต้องใส่สูท ผูกเนคไท แต่การแต่งกายควรบ่งบอกถึงความมีรสนิยม) ส่วนผู้หญิงควรสวมกระโปรงยาวคลุมข้อเท้า หรือกางเกงกับเสื้อสูท
2. การทักทาย
วัฒนธรรมการทักทายของคนเมียนมาไม่มีการพนมมือไหว้ หากเป็นเพศตรงข้ามจะโค้งตัวลงเล็กน้อย ไม่ควรยื่นมือไปเพื่อ Shake-hands จะถือว่าเป็นการไม่สุภาพ เมื่อพบหน้ากันควรกล่าวคำว่า “มิงกะลาบา” แปลว่า สวัสดี แต่อาจมีนักธุรกิจชาวเมียนมาบางท่านที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมไทย เมื่อต้องพบเจอคนไทยก็อาจจะทักทายด้วยการไหว้ได้ สำหรับการเรียกคู่สนทนาจะเรียกด้วยคำนำหน้า แล้วตามด้วยชื่อเต็มทุกส่วน สำหรับคำนำหน้า ผู้หญิง “ดอว์” ผู้ชาย “อู”
3.การเริ่มต้นเจรจาธุรกิจ
ในการเจรจาธุรกิจ เมื่อพบกันครั้งแรกไม่ควรคุยลึกลงรายละเอียด ควรเป็นการคุยแนะนำตัว และควรคุยเพื่อผูกมิตร สำหรับรายละเอียดของธุรกิจนั้นควรคุยกันในนัดครั้งถัดไป นิยมคุยกันแบบพบเจอหน้า หรือทางโทรศัพท์ เพราะคนเมียนมาไม่นิยมสื่อสารกันทางอีเมล์ หรือโทรสาร สำหรับการเจรจาธุรกิจสำหรับคนเมียนมาอาจต้องใช้เวลา และมีกระบวนการที่ยาวนาน ในการเจราแต่ละครั้งควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป รักษาความสัมพันธ์ เป็นการแสดงความให้เกียรติของคู่สนทนา
4.ว่าด้วยเรื่องของนามบัตร
ภาษาที่ใช้บนนามบัตร ควรเป็นภาษาอังกฤษ และควรประกอบด้วย ชื่อ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา คนเมียนมาให้ความสำคัญกับคนที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา ในการยื่น-รับนามบัตร และสิ่งของอื่นๆ ควรใช้มือข้างขวา หงายมือขึ้น แล้วมือซ้ายจับรองที่ข้อศอกข้างขวา เมื่อได้รับนามบัตรมาแล้วให้อ่านรายละเอียดบนนามบัตร แล้วสามารถวางบนโต๊ะระหว่างสนทนาได้ แต่ห้ามนำสิ่งของใดมาวางทับ เพราะจะถือว่าไม่ให้เกียรติกัน
5. การเข้าเขตศาสนสถาน
คนเมียนมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากๆ วัดถือเป็นหัวใจสำคัญของคนที่นี่คือการเข้าวัด สวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญ นั่งสมาธิ ศึกษาพระธรรม เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่ และเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาธุรกิจ ควรศึกษากฎระเบียบในการเข้าศาสนสถานให้อย่างครบถ้วน
ในการเข้าวัดนั้นจะต้องถอดรองเท้าและถุงเท้า แม้ว่าอากาศจะร้อน หรือฝนจะตกเปียกแฉะก็ตาม ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ สวมกางเกง กระโปรง หรือโสร่ง ที่มีความยาวคลุมข้อเท้า สวมเสื้อมีแขน และคอไม่กว้างเกินไป
6.ของขวัญของที่ระลึก
ในการติดต่อนัดเจรจาธุรกิจควรตรงต่อเวลา และมีของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ติดมือไปด้วย เช่น หนังสือสารานุกรม หรือนิตยสารภาษาอังกฤษ หรือ เครื่องสำอางจากต่างประเทศ (สำหรับผู้หญิง) เพื่อสร้างความประทับใจ หากมีความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกัน อาจสอบถามความต้องการล่วงหน้าถึงของฝากเมื่อต้องเดินทางกลับประเทศไทย
7. การร่วมรับประทานอาหาร
ในการร่วมรับประทานอาหารเพื่อเจรจาธุรกิจควรเป็นมื้อกลางวัน หรือมื้อเย็น สำหรับคนเมียนมานั้น สามารถเจรจาต่อรองทางธุรกิจระหว่างมื้ออาหารได้บ้าง แต่มารยาทในการรับประทานอาหาร ควรให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นผู้ตักอาหารก่อน และผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าจะเป็นผู้ตักอาหารให้
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
: ธนาคารไทยพาณิชย์เมียนมา
https://www.scb.co.th/mm/corporate-banking.html
แหล่งอ้างอิง
1.ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. “วัฒนธรรม “. https://www.ditp.go.th/contents_attach/92716/92716.pdf (23/11/2020)