ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เวียดนามเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดให้ชีวิตดีกับ e-Wallet
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยแบบไร้เงินสดของผู้บริโภคทั่วโลก จนทำให้เกือบทุกประเทศตื่นรับกับกระแสสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการใช้เงินสดอย่างเวียดนาม
จากการที่เวียดนามมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ทันสมัย และรัฐเน้นนโยบายมุ่ง สู่การเป็นสังคมไร้เงินสด โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 การทำธุรกรรมเงินสดในเวียดนามต้องเหลือ 10% ของธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการใช้จ่ายผ่านระบบ e-Payment ในประเทศต้องเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านธุรกรรมต่อปี ด้วยมาตรการพัฒนาระบบ e-Payment ให้ครอบคลุมการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนเวียดนามให้มากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้บริโภครายได้ปานกลางที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายมาสู่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Payment มากขึ้น เห็นได้จากมูลค่าการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment ในเวียดนามสูงถึง 6.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 เพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อนหน้า และคาดว่ามูลค่าการชำระเงินผ่านระบบดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวแตะระดับ 12.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565
ปัจจุบันเวียดนามมีระบบรับชําระเงินออนไลน์ e-Wallet ที่พัฒนาโดยสถาบันการเงินต่างๆ โดยมีธนาคาร 18 แห่ง ให้บริการ ทำให้จำนวนผู้ซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในตัวเมือง จะมีความคุ้นเคยกับการจ่ายเงินด้วย e-Wallet ไม่ว่าจะเป็นค่ากาแฟ ค่าไฟ หรือค่าแท็กซี่ เป็นอย่างมาก จนมีผู้ให้บริการ 3 เจ้าใหญ่ ที่สามารถครองตลาดเป็นที่นิยมของคนท้องถิ่นและคนต่างชาติที่ทำงานในเวียดนาม ดังนี้
1.
MoMo
e-Wallet
ผู้ให้บริการที่มีลูกค้ากว่า 12 ล้านคน และมีร้านค้าที่เข้าร่วมกว่า 1 แสนแห่ง มีแอปพลิเคชันเป็นภาษาเวียดนามอย่างเดียว มีต้นกำเนิดจาก VinaPhone ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเวียดนาม เน้นรับชําระค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับลูกค้าของ VinaPhone โดยเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกที่ให้บริการ e-Wallet กับลูกค้าของตัวเอง
2.
Moca e-Wallet
หนึ่งใน Mobile Payment Providers อันดับต้นของเวียดนาม ที่สามารถใช้ผ่านแอปพลิเคชัน Grab มีทั้งภาษาเวียดนามและภาษาอังกฤษ โดยในแอป จะมี e-Wallet จ่ายค่าเดินทาง (GrabCar, GrabBike) จ่ายค่า เดลิเวอรี่ (GrabExpress) จ่ายค่าอาหาร (GrabFood) จ่ายบิล โอนเงิน เติมเงินมือถือ และจ่ายค่าสินค้าในร้านค้าซึ่งผู้ใช้จะต้องมีบัญชีผูกกับธนาคารในเวียดนาม เพื่อเติมเงินและตัดจ่าย จาก e-Wallet ได้
3.
Zalo Pay
เจ้าของคือ ZION เป็น Call Mobile App ซึ่งมีผู้ใช้งานหลักถึง 70 ล้านคนในเวียดนาม Zalo Pay มาจากแอป Zalo ที่มีแต่ภาษาเวียดนาม เป็นแอปแชทอันดับหนึ่งเหมือน WeChat ในจีน และ Line ในไทย
นอกจากนี้ ยังมี TrueMoney จากไทย ที่เปิดให้บริการ TrueMoney Wallet ในเวียดนาม โดยให้บริการ e-Money, e-Payment, โอนเงิน และเป็นช่องทางการชำระเงิน รวมทั้งยังมี TrueMoney เวียดนาม ภายใต้ บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ได้ใบอนุญาต Wallet เป็นการต่อยอดการให้บริการธุรกรรมทางการเงินมากขึ้นกว่าเดิม โดยต่อเดือนมียอดการทำธุรกรรมมากกว่า 1 ล้านรายการ และมีลูกค้ามากกว่า 500,000 คนทำธุรกรรมกับตัวแทน TrueMoney และ TrueMoney Wallet และ AirPay ของสิงคโปร์ ซึ่งให้บริการอยู่เช่นกัน
ธุรกิจ e-Wallet ในเวียดนามที่มีการแข่งขันสูงนี้เข้ามาแก้ปัญหา (pain point) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการ ทำให้เกิดรูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วในการซื้อขาย ลดข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ มีความปลอดภัยเพราะไม่ต้องพกเงินสด หรือไม่มีค่าธรรมเนียมเหมือนการใช้บัตรเครดิต เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการในการสร้างประสบการณ์บนดิจิตอลแพลตฟอร์มให้เกิดกับผู้บริโภคอีกด้วย
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ -ที่นี่-
#SCBInternationalBanking # TheMostAdmiredBank #SiamCommercialBank
ขอบคุณข้อมูลจาก: ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโฮจิมินท์ซิตี้ เวียดนา ม
อ้างอิงข้อมูล :
1 ธนาคารแห่งประเทศไทย. “ระบบการชําระเงิน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม” . https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconMakhongCanelArea/Vietnam/Doclib_Financial_VN/vietnam%20payment%20system.pdf (ค้นหาเมื่อ 9 เมษายน 2563)
2. RYT9. “ เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ: เวียดนามกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การชำระเงินแบบ e-Payment ” https://www.ryt9.com/s/exim/2880983 (ค้นหาเมื่อ 9 เมษายน 2563)
3. Grab. “ What is Moca wallet on Grab app ”. https://help.grab.com/passenger/en-vn/360001970387-What-is-Moca-wallet-on-Grab-app (ค้นหาเมื่อ 9 เมษายน 2563)
4. fintechnews.sg. “ Vietnam’s Zalo Pay Brings Payments To Social Media in Vietnam ”. https://fintechnews.sg/10595/vietnam/vietnams-zalo-pay-brings-payments-social-media/ (ค้นหาเมื่อ 9 เมษายน 2563)