ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เวียดนาม ดาวรุ่งแห่งวงการ E-Commerce
แม้ว่าเวียดนามจะเริ่มเข้าสู่โลก E-Commerce ล่าช้ากว่าใครๆ เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย แต่ตลาด E-Commerce ของเวียดนามได้รับการประเมินว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตได้เร็วที่สุดในโลก รัฐบาลเวียดนามได้ให้ความสำคัญแก่ธุรกิจ E-Commerce เป็นอย่างมาก มีแผนแม่บทสนับสนุน E-Commerce ปี 2559-2563 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญให้ประชากรชาวเวียดนามซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 30% และมีการสนับสนุนจากภาครัฐบาลตั้งแต่ปี 2560 หน่วยงาน Vietnam E-Commerce and Information Technology Agency (VECITA) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ได้ตั้งเป้าหมายในปี 2563 ให้ธุรกิจ E-Commerce แบบ B2B (Business to Business) มีมูลค่า 30% ของมูลค่านำเข้า-ส่งออก และ แบบ B2C (Business to Consumer) มีสัดส่วนเป็น 5% ของมูลค่าการค้าปลีกภายในประเทศทั้งหมด
หลังจากที่เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เมื่อปี 2550 ทำให้เวียดนามเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของโลก มีหลากหลายประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม เปิดตลาดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเครือข่ายโทรคมนาคมมากขึ้น รัฐบาลจึงเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกรอบการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อรองรับธุรกิจ E-Commerce มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเวียดนาม
ด้วยจำนวนประชากรเวียดนามที่มีกว่า 90 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาว และอยู่ในช่วงทำงาน เป็นกลุ่มคนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูง มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือสูง สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ E-Commerce จะสามารถเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ และในอนาคต E-Wallet ซึ่งเป็นระบบการรับชำระเงินแบบออนไลน์ในเวียดนามกำลังถูกผลักดันให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยิ่งผลักดันให้การช้อปปิ้งออนไลน์ในเวียดนามครบวงจรและเติบโตมากยิ่งขึ้น
สมรภูมิการค้าขายแบบออนไลน์ในเวียดนามนั้น มีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากมายหลายเจ้า ทั้งนักลงทุนหน้าใหม่แบรนด์ท้องถิ่น และนักลงทุนข้ามชาติที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจ ทำให้ตลาด E-Commerce ในเวียดนามแข่งขันกันอย่างดุเดือด วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ 5 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ในสนามการค้าออนไลน์เวียดนาม กัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ทำการสำรวจโดย Vietnam Insider
5 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ในสนามการค้าออนไลน์
Shopee
เจ้าดังสัญชาติสิงคโปร์จาก Sea group ที่มีผู้เข้าใช้สูงที่สุดในเวียดนาม จำนวนเฉลี่ย 33.6 ล้านคน/เดือน (ปี 2562) มุ่งเน้นกลยุทธ์ให้ลูกค้าเทความสนใจมายัง Shopee ผ่านการล่อตาล่อใจด้วยโปรโมชั่นใหม่ๆ สุดคุ้มมาให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
Thegioididong
E-Commerce เจ้าถิ่น เน้นจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีชั้นนำ เข้าถึงกลุ่มคนเวียดนามรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เปิดรับเทคโนโลยีต่างๆ และสินค้าไอทีที่นำสมัยอยู่เสมอ โดยมีผู้เข้าใช้ถึง 29.3 ล้านคน/เดือน (ปี 2562)
Sendo
Startup ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเวียดนาม ที่ระดมทุน Series C (การระดมทุนขั้นที่ยิ่งใหญ่ของ Startup ซึ่งเป็นขั้นการระดมทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัทให้มากขึ้น) เป็น E-Commerce ตลาดแรกที่ได้รับใบอนุญาต E-Wallet โดยใช้ชื่อบริการชำระเงินว่า “Senpay” โดยจุดเด่นที่ทำให้ Sendo แข็งแกร่ง ก็คือ การสร้างพันธมิตรภายใน Ecosystem ให้เท่าเทียมกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า บริษัทขนส่ง และสถาบันการเงิน เป็นตลาดที่จำหน่ายสินค้าทุกประเภท ยกเว้นรถยนต์ และอาหารสด มีผู้เข้าใช้ 26.9 ล้านคนต่อเดือน (ปี 2562)
Tiki
ขาใหญ่เจ้าถิ่น เปิดตัวตั้งแต่ 2553 เริ่มจากจำหน่ายหนังสือ ต่อมาได้เพิ่มสินค้าประเภทเครื่องสำอาง และอุปกรณ์ไอที จุดเด่น คือ นำส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้ภายใน 2 ชั่วโมง และเมื่อปี 2562 ได้เข้าซื้อกิจการ Ticketbox ซึ่งเป็นบริการจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ทำให้ยอดขายในปี 2562 มีผู้เข้าใช้ถึง 24.4 ล้านคนต่อเดือน
Lazada
บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนที่มี Alibaba อยู่เบื้องหลัง มีบทบาททำให้การแข่งขันในตลาด E-Commerce เวียดนามคึกคัก เป็นตัวแปรสำคัญด้านความหลากหลายของสินค้า การบริการหลังการขาย ความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า และโปรโมชั่นต่างๆ มีผู้เข้าใช้ 23.8 ล้านคนต่อเดือน (ปี 2562)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาด E-Commerce เวียดนามจะเติบโตสูง แต่คนเวียดนามยังขาดความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์ ทำให้ส่วนใหญ่นิยมชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า (Cash on Delivery) แต่รัฐบาลก็พยายามผลักดันให้คนเวียดนามหันมาใช้ E-Wallet กันมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายลดสัดส่วนการใช้เงินสดในการทำธุรกรรมต่างๆ ให้เหลือเพียง 10% ของธุรกรรมทางการเงินทั้งหมด ภายในปี 2563
จะเห็นได้ว่ากระแสธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามมีสัญญาณเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากจำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงานซึ่งคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นอย่างดี และมีศักยภาพในการซื้อสูง ดังนั้น E-Commerce จึงเป็นช่องทางจำหน่ายที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและสะดวก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในการเข้าสู่ตลาดเวียดนามผู้ซึ่งมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ /en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
:
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโฮจิมินท์ซิตี้ เวียดนาม
ข้อมูลอ้างอิง
1. Datareportal. “Digital 2019 sportlight : Ecomerce in Vietnam.”
https://datareportal.com/reports/digital-2019-ecommerce-in-vietnam (19/9/2020)
2.Eurasia Review News & Analysis. “Vietnam’s Booming E-Commerce Market-Analysis.”
https://www.eurasiareview.com/30012020-vietnams-booming-e-commerce-market-analysis/ (19/5/2020)
3.ปิยะขวัญ ชมชื่น. “Law for Asean ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในเวียดนาม.”
4. DITP. “ตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในเวียดนาม.”
https://www.ditp.go.th/contents_attach/232072/232072.pdf (22/5/2020)
5. Kantar Worldpanel. “Covid-19 Vietnam’s consumer changes & retail movements.”
https://www.kantarworldpanel.com/global/News/COVID-19-Consumer-changes-and-retail-movements (22/5/2020)
6. Vietnam Insider. “What e-commerce marketplaces in Vietnam look like in 2020?.”
https://vietnaminsider.vn/what-e-commerce-marketplaces-in-vietnam-look-like-in-2020/ (25/5/2020)
7. Techsauce. “Vietnam Startup Ecosystem เผย Startup Landscape เวียดนามครบทุกมุมที่คนอยากเข้าต้องรู้”
https://techsauce.co/tech-and-biz/vietnam-startup-ecosystem-2018 (25/5/2020)
8. Techsauce. “Sendo E-Commerce จากเวียดนามระดมทุน Series C ไปกว่า 61 ล้านดอลลาร์ โดยมีกสิกรไทยเข้าร่วมลงทุน.”
https://techsauce.co/news/sendo-e-commerce-series-c-funding (25/5/2020)
9.Thumbs up. “มาเรียนรู้กับ Startup Funding ในแต่ละระดับให้ดีกันยิ่งขึ้น.”
https://www.thumbsup.in.th/how-funding-rounds-differ-seed-series (26/5/2020)
10. Techsauce. “Tiki เว็บ E-Commerce ชั้นนำของเวียดนามซื้อกิจการ Ticketbox.”
https://techsauce.co/news/tiki-e-commerce-in-vietnam-acquires-ticketbox (26/5/2020)
11. RYT9. “เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ: เวียดนามกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การชำระเงินแบบ e-Payment.”
https://www.ryt9.com/s/exim/2880983 (26/5/2020)
12. Globthailand.com.”E-Commerce เวียดนามมุ่งสู่มูลค่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563.” https://globthailand.com/vietnam-07022020/ (30/6/2020)