ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
บุก E-commerce เปิดตลาดกัมพูชา ฝ่าโควิด 19
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ทุกคนต้องปรับการทำงานจากเดิมออฟฟิศเป็นทำงานจากบ้าน (Work from Home) แต่สำหรับผู้ประกอบการนั้นไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ธุรกิจจำเป็นต้องรักษาและก้าวเดินต่อไป
การหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดที่สามารถเอาชนะวิกฤติจาก Covid-19 ได้ในขณะนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะไม่เพียงแต่การค้าในตลาดของไทย ในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างกัมพูชาก็น่าสนใจลงทุนเช่นกัน
กัมพูชา ประเทศที่เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ปัจจุบันการค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบดั้งเดิม แต่การค้าในรูปแบบของออนไลน์ กลับมีการเติบโตโดดเด่น เนื่องจากได้รับแรงหนุนรัฐบาล และการขยายตัวของแพลตฟอร์มที่ให้บริการขายสินค้าทางออนไลน์ ดังนั้น E-commerce หรือการค้าขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ จึงเป็นอีกช่องทางสำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา
เว็บไซต์ ecommerceasean.com เดือนกุมภาพันธ์ 2020 พบว่า กัมพูชามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 15.8 ล้านคน จากประชากร 16.6 ล้านคน ในจำนวนนี้ซื้อของออนไลน์มากถึง 7.8 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.8 ล้านคนในปี 2024 อายุที่ใช้มากที่สุด 25-34 ปี แต่ละคนใช้จ่ายประมาณคนละ 1,500 บาท นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังพบว่า คนกัมพูชาส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 76 มีบัญชีบนอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้สำหรับบริการ Social Network และร้อยละ 96.4 ใช้บริการ Social Network ด้วยโทรศัพท์มือถือ และส่วนมากที่ซื้อก็เป็นสินค้าไทย จำพวกเครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และสินค้าแฟชั่น ตามลำดับ ทั้งนี้พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เติบโตขึ้นก็เนื่องจากแพลตฟอร์มการชำระบนออนไลน์ทันที ทำให้คนรู้สึกปลอดภัย เชื่อใจมากขึ้น จึงซื้อกันมากขึ้น โดยขอนำเสนอ E-commerce 3 ยักษ์ใหญ่ ผู้นำทางด้านการค้าขายสินค้าในกัมพูชา
1. Tinh Tinh E-Commerce
(อ่านว่า ตึญ ตึญ แปลว่า “ซื้อ ซื้อ”) เปิดตัวเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2019 เป็นตลาดสินค้าออนไลน์สัญชาติกัมพูชาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นรายแรก และเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับยกย่องจากนักพัฒนาว่าใหญ่ที่สุดในกัมพูชา โดยจะให้บริการออนไลน์แบบครบวงจร และทำหน้าที่เป็นตัวแทนด้านโลจิสติกส์อีกด้วย
2. AliExpress
ผู้นำ E-Commerce ยักษ์ใหญ่จากจีน ภายใต้ Alibaba โดยในปี 2019 เน้นกลยุทธ์สนับสนุนผู้ประกอบการ Local to Global เป็นการเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม E-Commerce ขยายไปทั่วโลกมากกว่า 150 ประเทศ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก และได้ขยายตลาดมายังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการตั้งศูนย์กระจายสินค้าในไทย สร้างโอกาสให้ไทยสามารถกระจายสินค้าต่อไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ได้สะดวก ซึ่งคนกัมพูชาส่วนใหญ่นิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม AliExpress เพราะให้บริการช้อปปิ้งออนไลน์ครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อ, ความปลอดภัยในการชำระเงิน และความแม่นยำในการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อ
3. Facebook
เป็นช่องทางที่นิยมใช้ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากที่สุด จากสถิติของ We are Social ณ เดือนมกราคม 2018 พบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊คในกัมพูชามีจำนวนสูงถึง 7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2017 และจากการสำรวจของกรมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) พบว่าการทำโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คสามารถเข้าถึงคนกัมพูชาได้มากกว่าครึ่งของจำนวนผู้ใช้บัญชีบนเครือข่ายเฟซบุ๊คและคนกัมพูชานิยมค้นหาสินค้าจากเฟซบุ๊คมากกว่าเว็บเบราเซอร์อื่น การประกาศขายสินค้า มีทั้งโพสต์ใน Marketplace และโพสต์ขายกันเองในบัญชีส่วนตัว และแฟนเพจ
นอกจากนี้ ยังมีแพลตฟอร์มอื่นของผู้ให้บริการท้องถิ่นให้บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ อาทิ Gladmarket, Mall855, MyPhsar และ RoseRb.com อีกด้วย
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการค้าขายผ่านทางออนไลน์ในกัมพูชา หนีไม่พ้นเรื่องของระบบการขนส่ง เนื่องจากรหัสไปรษณีย์ และเลขที่ตั้งยังไม่เป็นระบบ แต่กัมพูชาก็ได้แก้ปัญหาด้วยการกำหนดพิกัด GPS ได้อย่างแม่นยำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ คนกัมพูชาส่วนมากไม่มีบัตรเครดิตใช้ นิยมจ่ายเงินสดเมื่อสินค้าถึงมือ และต้องการรับสินค้าทันทีที่สั่ง ผู้ขายออนไลน์จึงใช้วิธีว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งสินค้าจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า หรือเลือกใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างขนส่งสินค้า โดยไม่คิดค่าจัดส่งสินค้า
ความนิยมการค้าผ่านระบบออนไลน์ที่นิยมมากขึ้นจึงเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดการค้าออนไลน์ในกัมพูชา SCB มีสำนักงานตัวแทนในนาม “กัมพูชาพาณิชย์” ตั้งอยู่ที่ประเทศกัมพูชาจำนวน 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ เสียมเรียบ,พนมเปญ, พระตะบอง และสีหนุวิลล์ ที่พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนทุกธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้าผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชา
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ -ที่นี่- #SCBInternationalBanking #TheMostAdmiredBank #SiamCommercialBank
ข้อมูล : กัมพูชาพาณิชย์ (Cambodia Commercial Bank – CCB)
อ้างอิง :
1. สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ. “การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ประเทศกัมพูชา.” (accessed 1 April 2020).
3. eCommerce in Cambodia 2020 - eCommerce ASEAN (accessed February 2020).
4. ส่องเทรนด์โลก: เกาะติดกระแสการค้าสินค้าออนไลน์ในกัมพูชา (accessed October 2018)