ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
จับผิดคนโกหกได้ทันทีด้วยการขอหลักฐานทางภาษี
เรื่อง: พรี่หนอม TAXBugnoms
Hi-Light:
“ยอดส่งของวันนี้ 500 Order คร่าาา”
“ขอบคุณลูกค้าใจดีทุกท่าน ของออกไปหมดแล้ว”
“โอนทันทีเลยนะครับผม เหลือเพียง 3 ชิ้นสุดท้าย”
“จองด่วน ก่อนปิดคอร์สเร็วๆ นี้ ไม่มีอีกแล้วว ครั้งนี้ครั้งเดียว”
ถ้าใครเล่นเฟซบุ๊กเป็นประจำ คงจะเห็นฟีดข่าวซ้ำๆ เหล่านี้วนไปวนมา ทั้งขายของออนไลน์ ขายคอร์สน่าเรียน เทคนิคต่างๆ ไปจนถึงโชว์รูปถ่ายพร้อมบ้านรถเพื่อเป็นหลักการันตีความสำเร็จที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ เรื่องพวกนี้คือสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นมาได้หมด เพราะภาพที่เห็นในเบื้องหน้าสามารถใช้เงินจ่ายได้อยู่ ทั้งแชทมาอวยแบบดีๆ รีวิวเพจ สร้างเอนเกจ เพิ่มยอดไลค์ รูปสลิปยาวๆ ที่ใช้ส่งไปรษณีย์ ไปจนถึงกล่องเปล่าที่มีไว้พร้อมถ่ายรูปโชว์ ทั้งหมดนี้ ใช้เพื่อเพิ่มสิ่งที่เรียกว่า “ความน่าเชื่อถือ” (ถ้าไม่เชื่อก็ลองหางานรับจ้างพวกนี้ในกูเกิ้ลดูสิ มีมากมายทั้งในเฟซบุ๊กกรุ๊ปต่างๆ หรือเว็บรับจ้างงานชื่อดังต่างๆ ที่มีในอินเทอร์เน็ต)
หลายคนอาจจะนึกถามในใจว่าทำไมพรี่หนอมถึงรู้ แหม...บอกกันตรงๆ เลยครับ เคยสอบถามและลองใช้บริการดูมาหลายอย่างแล้ว เพื่อทดสอบว่ามันดีจริงไหม และมันช่วยจริงได้หรือเปล่า (โดยเฉพาะพวกเทคนิคโปรโมทเพจแบบหลากหลายแนวทาง) ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็พบว่า อ่า...กลับไปตั้งใจทำงานให้ดีดีกว่า ถ้ามีคนชอบขึ้นมาเดี๋ยวมันก็ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือที่แท้จริงให้กับเราเองนั่นแหละ
ดังนั้น ขอออกตัวไว้ก่อนว่า เรื่องทั้งหมดที่เขียนมานี้ และต่อจากนี้ไป เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้ต้องการจะบอกว่าควรหรือไม่ควร แต่แค่แชร์ประสบการณ์บางส่วนให้ฟังเท่านั้นครับ
โอเคครับ...กลับมาเรื่องของความรู้ทางภาษีกันดีกว่า หัวข้อวันนี้ตั้งคำถามว่า
เราจะรู้ได้ยังไงว่า คนไหนโกหก แล้วเรื่องภาษีมันมีผลกระทบยังไงกับชีวิตเรา
ถึงทำให้จับได้ ลองมาดูวิธีจับผิดกันแบบง่ายๆ ดูครับ
เริ่มต้นจาก เช็กด้วยคำถามสั้นๆ อย่าง “ออกใบกำกับภาษีให้ได้ไหม” และถ้าหากธุรกิจที่เราถามไปเขาขายดีจริงและทำถูกต้องตามกฎหมาย เขาจะสามารถออก “ใบกำกับภาษี” ให้เราได้ทันที เพราะเงื่อนไขของการออกใบกำกับภาษีได้นั้น ต้องเป็นธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องตามกฎหมาย และธุรกิจเหล่านี้อย่างน้อยที่สุดมักจะต้องมีรายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป (หมายเหตุเพิ่มเติม : จำนวนเงินที่ว่านี้เป็นเงื่อนไขทางกฎหมายที่กำหนดให้ธุรกิจที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องครับ)
ดังนั้น เวลาที่เราไปซื้อของร้านไหนที่ดูเหมือนจะขายดีจัดๆ แบบว่าแพ็คของไม่ทัน หรือ กูรูที่ไหนที่เหมือนจะบอกว่าเปิดใหญ่ดูแพง หรือที่นั่งใกล้เต็มแล้ว ลองขอใบกำกับภาษีเขาดูครับ ถ้าเขาออกได้ตามปกติ แปลว่าเขาขายดีจริง อันนี้มั่นใจได้ ยิ่งถ้ามีการจดเป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทชัดเจน แบบนี้สบายใจได้เลยว่าตัวจริงไม่ได้โม้ในระดับหนึ่ง
แต่ถ้าเขาบอกไม่รู้จักหรือออกไม่ได้ โดยที่ไม่มีเหตุผลชัดเจนว่าทำไม นั่นแปลว่าธุรกิจนั้นไม่ใช่ธุรกิจขายดีจริงเหมือนที่พูดมา (เพราะรายได้จริงๆ ก็ไม่ได้เยอะขนาดที่โม้นี่หว่า) หรือไม่ก็แปลว่าขายดีจริงๆ แหละ แต่ฉันหนีภาษีจ้า! เลยออกหลักฐานอะไรพวกนี้ไม่ได้นั่นเอง
ถ้ามองแล้วดูเหมือนจะเป็นกรณีแรกที่ขี้โม้ว่าขายดี ก็จบกันได้ทันที อย่าไปซื้อดีกว่าเพราะว่าไม่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าเป็นกรณีหลังที่พูดมา คือขายดีจริงแต่หนีภาษี อันนี้ใครอยากจะสนับสนุนหรือซื้อก็ตามใจ แต่ถ้าไม่อยากล่ะก็ มีช่องทางให้แจ้งเบาะแสผ่านทางกรมสรรพากรได้นะ กรณีที่เห็นว่าไม่ถูกต้องแล้วอยากจะผดุงความยุติธรรม (พิมพ์ค้นหาว่า แจ้งเบาะแส กรมสรรพากร ใน google ได้เลย เจอแน่นอนครับผม)
ทีนี้มันไม่ได้จบแค่ร้านค้าหรือคนขายของเท่านั้น แต่มันมาต่อเนื่องกับคนรอบตัวของเราที่เห็นๆ กันอยู่ บางคนเราเห็นว่าเขาดูรวยจัง แต่ถ้าอยากรู้ว่ารวยจริงไหม ลองถามสิว่า พี่ครับ ปีหนึ่งนี่พี่เสียภาษีเท่าไร? หรือวางแผนภาษียังไง ? บางทีคำตอบที่ได้รับอาจจะเป็นว่า พี่ไม่เสียภาษี หรือ ภาษีคืออะไรไม่รู้จัก จนทำให้เราสับสนไปสักพักว่า เอ๊ะ นี่พี่รวยจริงหรือเป็นแค่สิ่งจอมปลอมกันแน่?
เรื่องทั้งหมดที่เล่ามา มันสะท้อนให้เราเห็นด้วยว่า จริงๆ แล้วธุรกิจในประเทศเราหลายอย่าง รวมถึงคนบางคน ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้อง จะด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่สนใจยังไงก็แล้วแต่ ซึ่งในอีกแง่มุมหนึ่ง มันก็ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสงสัยได้เช่นเดียวกัน เพราะขนาดธุรกิจยังไม่ซื่อสัตย์ต่อสังคม แล้วผู้บริโภคจะหวังว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับนั้นมันถูกต้องตามจริงหรือเปล่า หรือทั้งหมดก็เป็นแค่คำโฆษณาเพื่อให้สินค้าขายได้ หรือ ภาพลักษณ์ที่เฉิดฉายได้อย่างไม่อายใคร โดยไม่สนใจถึงความถูกต้องใดๆ ที่ควรจะเป็น
อุ้ย… ทั้งหมดนี้เป็นแค่ประสบการณ์และความคิดเห็นนะครับผม
แต่ถ้าใครมีอะไรอยากจะแชร์หรือเพิ่มเติม เรายินดีรับฟังจ้า