ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รางวัลกับการเสียภาษี และสิ่งที่กฎหมายไม่เคยบอก (แต่เราต้องรู้)
เรื่อง: พรี่หนอม TAXBugnoms
Hi-Light:
"น้องปลายฟ้า" หนูน้อยผู้โชคดีจากการโหวตตั้งชื่อ "หลินปิง" คว้าเงินพร้อมรางวัลรถเก๋งมูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท กำลังเผชิญวิบากกรรมถูก "สรรพากร" ยื่นโนติสเรียกเก็บภาษีอีกกว่า 2.1 แสนบาท ยายโวยลั่นไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียภาษีถึง 2 ต่อ…
ถ้าใครได้อ่านพาดหัวข่าวแบบนี้ เชื่อเลยว่าหัวใจที่มีต้องรู้สึกเจ็บปวดอย่างแน่นอน เพราะดูเหมือนกรมสรรพากรจะไปรังแกเด็กซะอย่างนั้น ทำไมถึงใจร้ายใจดำมาเก็บภาษีเสียได้
แต่ถ้าเรามองให้ดีและแจกแจงเรื่องนี้ออกมาตามหลักการของกฎหมาย จะเห็นว่ามันมีความรู้มากมายซ่อนอยู่ และเราสามารถดูเป็นตัวอย่างการคิดได้แบบนี้เลยล่ะครับ
1. เงินรางวัลที่ได้ ต้องเสียภาษีไหม?
สิ่งแรกที่เราควรตั้งคำถาม คือ เงินรางวัลที่ได้มา เราต้องเสียภาษีแบบไหนอย่างไร ซึ่งเงินรางวัลแบบนี้ กฎหมายจะกำหนดไว้ตามนี้ คือ
2. น้องปลายฟ้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไหม?
เรามักแย้งในใจว่า น้องปลายฟ้ายังเด็กอยู่ แต่ในเรื่องของกฎหมายนั้นไม่มีคำว่า เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ มีแต่คำว่า ‘ผู้มีเงินได้’ ดังนั้น ถ้าน้องปลายฟ้าเป็นผู้มีเงินได้ น้องปลายฟ้าก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน
ดังนั้น น้องปลายฟ้าจะต้องนำเงินรางวัลจำนวน 1.6 ล้านบาท มายื่นภาษีให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เพียงแค่คำนวณจาก 2 วิธีนี้ คือ
วิธีเงินได้สุทธิ = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ซึ่งถ้าไม่รู้อะไรเลย การคำนวณน่าจะออกมาเป็นแบบนี้ครับ คือ
วิธีเงินได้พึงประเมิน = รายได้ x 0.5%
เมื่อได้จำนวนภาษีแล้ว มาดูกันต่อจะเห็นว่ากรณีนี้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 80,000 บาท ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มจำนวน 170,000 บาท
3. ทำไมกรมสรรพากรถึงเรียกภาษีเกินกว่าที่คำนวณได้
ตรงนี้ตอบด้วยเหตุผลง่าย คือ มีเรื่องของเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย ที่คิดเพิ่มจากยอดภาษี
จาก 3 คำถามเบื้องต้น จะทำให้เราตอบได้ว่า จากข่าวที่ว่ามา ถ้ามองกันดูแล้วจะเห็นว่าไม่ได้มีใครผิด เพียงแต่ทางน้องปลายฟ้า ได้รับรางวัลแล้วไม่รู้ว่าตัวเองต้องเสียภาษี ส่วนพี่สรรพากรก็ไม่ได้มาตรวจสอบทันที อาจจะเป็นเพราะระบบการตรวจสอบ หรือ กว่าจะเจอก็สาย ทำให้น้องปลายฟ้าต้องเสียเงินเพิ่มมากขึ้น
แต่สิ่งที่บอกเราทั้งหมดนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีก และสามารถนำไปวางแผนภาษีได้ เช่น ถ้าคุณยายของน้องอายุเกิน 65 ปี และถ้าหากรางวัลนั้นถูกเปลี่ยนจากชื่อน้องปลายฟ้าเป็นคุณยาย (โดยวิธีการที่ถูกต้อง เช่น ให้การส่งชิงโชครางวัลเป็นชื่อคุณยายทัั้งหมด หรือปรากฎว่าคุณยายเป็นผู้คิดชื่อนี้) แบบนี้ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลงได้เช่นเดียวกันครับ เพราะคุณยายได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทแรก โดยสามารถเอามาลบออกจากรายได้ 1,600,000 บาทได้ทันที แล้วค่อยคำนวณภาษีใหม่อีกทีหนึ่ง ซึ่งดูคร่าวๆ แล้วก็น่าจะประหยัดไปได้หลายหมื่นบาทเช่นเดียวกัน
มาถึงตรงนี้ สิ่งที่ผมอยากจะย้ำอีกทีว่า ใจความสำคัญของกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องของการวางแผนภาษีในขั้นตอนสุดท้าย แต่เป็นการทำความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการได้รับรางวัล เพื่อต่อยอดไว้สำหรับการคิดเรื่องภาษีอื่นๆ ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นครับ
อย่าลืมนะครับว่า ภาษีเป็นเรื่องของกฎหมาย ที่ว่ากันด้วยหลักฐาน
ดังนั้น อย่าทำอะไรตามความรู้สึกนะครับผมมมมม