ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ตายแล้วไปไหนไม่รู้… แต่ที่รู้ต้องไปเสียภาษี
เรื่อง: พรี่หนอม TAXBugnoms
Hi-Light:
หลายคนคงเคยได้วลียอดฮิตอย่าง ‘
Nothing is certain except for death and taxes.’
ของ Benjamin Franklin ที่แปลว่า
‘ไม่มีอะไรที่แน่นอนเท่าความตาย และ การจ่ายภาษี’
วันนี้คอลัมน์ สปภ. สร้างเสริมประสบการณ์ภาษีของพรี่หนอมจะมาอธิบายวลีนี้กับความสัมพันธ์กับระบบภาษีไทยให้ทุกคนฟังครับ
เราลองสมมติสถานการณ์ง่ายๆ กันก่อนครับ เช่น ถ้านายบักหนอมเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งที่มีรายได้เดือนละประมาณ 100,000 บาท เรียกว่าอยู่ในระดับตัวท็อปของวงการมนุษย์เงินเดือนเลยทีเดียว แถมยังมีรายได้จากการให้เช่าที่ดินอีกเดือนละ 50,000 บาทต่อเดือนจากทรัพย์สินทีได้รับจากคุณพ่อเป็นมรดกตกทอดมา
นายบักหนอมแต่งงานกับภรรยา มีลูกน้อยอยู่หนึ่งคน ทุกวันนี้ดูแลทั้งภรรยาและลูกเป็นอย่างดี โถว พ่อเทพบุตรในฝัน คนดีแบบนี้หาได้ยากจริงๆ (เหมือนชีวิตจริงพรี่หนอมเป๊ะเลยครับ)
แต่แล้วฟ้าก็เหมือนมากลั่นแกล้ง นายบักหนอมทำงานอยู่ดีๆ ทำโอที (Over Time) ดึกไปหน่อย มีเป็นอันต้องหัวใจวายล้มฟุบคาโต๊ะทำงานไป เจ้านายมาเจอตอนเช้าก็เห็นแต่ร่างไร้วิญญานของนายบักหนอมเสียแล้ว และออฟฟิศที่ว่านี้ก็จะไม่กล้ามีใครพูดประโยค
“งานหนักไม่เคยฆ่าคนอีกต่อไป”
คำถามคือนายบักหนอมตายแล้วไปไหนคงไม่มีใครรู้ แต่ถ้ามาดูภาระภาษีในชีวิตของนายบักหนอมตามหลักของกฎหมายแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าน่าสนใจกันเลยล่ะครับ
ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน Google จะพบว่าอันดับแรกของการค้นหาคือเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งให้ความหมายของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
ข้อแรกคำว่า ‘บุคคลธรรมดา’ คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจได้ทั้งนั้น ว่าหมายถึงคนปกติทั่วไปหรือใครก็ตามที่มีชีวิตอยู่ คนนั้นคือบุคคลธรรมดาทั้งหมดนั่นแหละ
แต่ข้อ 3 ที่เขียนว่า ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี อันนี้บอกเลยครับว่า อ่านแล้วมีสะดุ้งกันหลายคน ถ้าหากนายบักหนอมคนเมื่อตะกี้ ตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเองนี่แหละ แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่งนี่แหละจ้า
เอ๊ะ!! แต่ถ้านายบักหนอมตายไป หลังจากนั้นก็ไม่ได้เงินเดือนแล้วนี่หว่า ก็แปลว่าไม่ต้องเสียภาษีใช่ไหม คำตอบคือ ไม่แน่ใจจ๊ะ! เพราะว่า หลังจากตายแล้ว ถ้าที่ดินที่ให้เช่ายังทำรายได้อยู่ แล้วเมียของนายหนอมกับลูกน้อยยังไม่ได้รับมรดกที่ดินก้อนนี้เสียที มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ศพนายบักหนอมที่นอนสงบอยู่ใต้ดิน หรือ อังคารที่ลอยไปตามน้ำนั้น ยังมีภาระต้องเสียภาษีอยู่ตามข้อที่ 4 ที่เรียกว่า
กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
นั่นเอง
เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า เรื่องของภาษีนี่มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มีทั้งการเสียภาษีในชื่อตัวเองปกติ ตัวเองที่ตายแล้ว และมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ซึ่งถ้าหากจัดการเรื่องภาษีได้ไม่ดี มันก็อาจจะมีปัญหาชีวิตได้เหมือนกันนะครับผม
ดังนั้น เราอย่ามีมรดกมากเลย แล้วก็พยายามทำงานเดือนชนเดือนไปดีกว่า ชีวิตจะได้มีความสุข ไม่ต้องมาทุกข์ใจเรื่องภาษี ตายไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายอะไรให้ยุ่งยาก แบบนี้ดีกว่าไหมน้า
อ่า.. พรี่หนอมเกรงว่าแบบนี้อาจจะตายไม่สงบแทนนะครับ ฮ่าๆ