ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ปลดล็อกสูตรสำเร็จบริหารทีมงานในแบบผู้นำหญิง
จากประสบการณ์ด้านพัฒนาผู้นำองค์กร ดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ Partner & CEO แห่งบริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด พบว่าแม้ผู้บริหารองค์กรในประเทศไทย 80-90% จะเป็นผู้ชาย แต่ปัจจุบันนี้สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปมาก ผู้ชายให้การยอมรับผู้หญิง และผู้บริหารหญิงมีความสามารถสูงในการเป็นผู้นำสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมงาน สามารถทำให้ลูกน้องเห็นได้ว่าจะ Lead พวกเขาอย่างไร แล้วมีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะทำให้ Lead ทีมงานได้ง่ายขึ้นและ Lead ได้ถูกทาง
Compassionate, Empathy จุดเด่นผู้นำหญิง
ปัจจุบันทั่วโลกมองว่าผู้หญิงมีความสำคัญกับบทบาทความเป็นผู้นำมากกว่าที่เคยเป็นมา แต่ยังไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจนำไปสู่ความสำเร็จ จากผลการวิจัยทั่วโลก พบว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคนทุกเพศทุกวัยรวมทั้งเปิดกว้างกับกลุ่ม LBGTQ คนจะอยากเข้าทำงานมากกว่าบริษัทที่ไม่เปิดกว้างเรื่องความหลากหลายเกือบ 10 เท่า และมีความภูมิใจในองค์กรมากกว่า 6.3 เท่า และอยากทำงานที่นี่ต่อไป 5.4 เท่า และถ้าองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลาย (Diversity) ยอดขายกำไรจะเพิ่มขึ้น และมีนวัตกรรมมากขึ้น จากการได้คนเก่งมากทำงานและคนทำงานไม่ค่อยออก ซึ่งทั้งหมดนี้ศักยภาพของผู้หญิงสามารถทำให้เกิดขึ้นมาได้ เพราะงานวิจัยพบว่าผู้หญิงมีจุดเด่นด้านด้วยความเห็นอกเห็นใจ (Compassionate) ความซื่อสัตย์ (Honest) ความสร้างสรรค์ (Creative) มากกว่า ซึ่งจะช่วยองค์กรทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้
ในองค์กรชั้นนำระดับ Fortune 500 มีผู้หญิงเป็นเบอร์หนึ่ง อยู่ 21คน บริษัทในประเทศไทย มีผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งบริหารระดับสูง 32% เป็นเบอร์หนึ่ง 24% และมีผู้หญิงเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร 16.2% แม้ประเทศไทยจะมีประชากรผู้หญิงมาก แต่บทบาทความเป็นผู้นำยังไม่มากเท่าที่ควร เพราะแม้ผู้หญิงจะมีความสามารถ แต่ก็ต้องเผชิญกับการเสียสละทางหน้าที่การงานเพื่อครอบครัว ประกอบกับภาวะความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในช่วงวัยกลางคน ทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายต่อก้าวหน้าทางอาชีพของผู้หญิง อย่างไรก็ดีผู้นำหญิงก็มีจุดเด่นเรื่องความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้คนที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วย
เราเป็นผู้นำแบบไหน?
ผู้นำหรือ Leader คือคนที่มีความสามารถที่จะโน้มน้าว สร้างแรงบันดาลใจคนให้ไปกับเราได้ การโน้มน้าวมีหลายแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งผู้นำองค์กรไทยที่เก่งจะมี 6 คุณลักษณะของผู้นำที่ดร.สุทธิโสพรรณศึกษาจากผู้นำคนไทยโดยเฉพาะได้แก่
1)
ผู้นำนักสำรวจ (Uncharted Explorer)
เป็นผู้นำที่เป็นนักฝัน ชอบทำงานสร้างสรรค์ ทำเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่ก็ศึกษาข้อมูลก่อนลงมือทำ
2)
ผู้นำนักรบผู้พิชิตความสำเร็จ (Success Warrior)
ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ เน้นเป้าหมายเป็นสำคัญ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย และพาคนไปสู่เป้าหมาย
3)
ผู้นำสื่อสารให้ได้ใจคน (Empathic Communicator)
สามารถสื่อสารโน้มน้าวคน โดยสื่อสารให้ลูกทีมรู้ว่าตนเองเกี่ยวข้องกับเป้าหมายอย่างไร ทำให้คนอยากมีส่วนร่วม
4)
ผู้นำแบบผนึกพลัง (Synergistic Winner)
ชอบนำทีม สอนลูกน้อง คุยกับคน ถนัดบริหารจัดการความขัดแย้ง
5)
ผู้นำประสานความหลากหลาย (Diversity Promoter)
ทำให้คนทำงานทุกคนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันรู้สึกว่าตนมีคุณค่า เป็นผู้นำที่จะยกระดับองค์กรให้ไปสู่เวิลด์คลาส
6)
ผู้นำที่ถือคบไฟ (Torch Bearer)
ผู้นำที่ส่งไม้ต่อให้กับคนใหม่ รู้ว่าบริษัทต้องการคนแบบไหนที่จะพาองค์กรไปต่อในอนาคต และสร้างวัฒนธรรมให้คนใหม่อยากอยู่ต่อและทำงานต่อได้
ดร.สุทธิโสพรรณกล่าวว่าจุดที่จะทำให้แต่ละองค์กรประสบความสำเร็จแตกต่างกันอยู่ที่ คนและวัฒนธรรมองค์กร (People & Culture) การจะเป็นผู้นำแบบใดขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์บริษัทเป็นอย่างไร และเป็นงานที่ไม่มีวันจบ เพราะLeadership คือ Ability to influence others ต้องโน้มน้าวผู้คนตลอดการทำงาน ผู้นำไทยส่วนใหญ่เป็นแบบ 3 กับ 4 ชอบเข้าไปช่วยลูกน้องแก้ปัญหา ทำงานมากกว่า และบทบาทของผู้นำรุ่นใหม่คือการเป็น ACT Leader (Articulate - ผู้นำด้านความคิดและถ่ายทอดได้, Connect – เชื่อมต่อกับคนในองค์กร, Trust - สร้างความเชื่อมั่นได้ใจคน) ไม่ใช่ SAT Leader แบบในอดีต (Size – เน้นการขยายขนาด , Authority – อยู่บนหอคอย สั่งการอย่างเดียว, Toxic – แบ่งพรรคแบ่งพวก)
มีลูกน้องแบบนี้ จะต้อง Lead อย่างไร?
การพิจารณาทีมงานให้ดูจากสิ่งที่ทีมทำได้ (ความรู้ในเรื่องที่ทำ Knowledge, ความสามารถในงานที่ทำ Ability, ทักษะ Skill) สิ่งที่ทีมอยากทำ (มั่นใจว่าจะทำได้ Confident (Can do), ความตั้งใจที่จะทำ Commitment (Will do), แรงจูงใจที่จะทำ Motivation (Want to do) ซึ่งหลักการนี้แบ่งคนทำงานในสถานการณ์ต่างๆ เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1)
High CAN High WANT
: ลูกน้องที่ทำงานได้ดีและกระตือรือร้นอยากทำงาน ให้ใช้การ Empowering แล้วดูผลลัพธ์ แล้วแชร์ความสำเร็จร่วมกัน เช่น โบนัส ตำแหน่ง โอกาสความก้าวหน้า
2)
High CAN Low WANT
: ลูกน้องที่เรารู้ว่าเขาทำงานได้ แต่ต้องกระตุ้นให้เขาอยากทำ ให้ Leader ใช้วิธีโน้มน้าว ขายเป้าหมาย (Selling) คุณค่าของงานที่ทำ (Purpose Driven) เป็นเป้าหมายในระยะยาว
3)
Low CAN High WANT
: ลูกน้องมีความอยากทำงาน แต่ยังไม่มีทักษะหรือประสบการณ์ในการทำงานนั้น การนำลูกน้องประเภทนี้ ให้ใช้การอธิบายวิธีทำงาน (Explaining) สอนกระบวนการคิด แต่การเรียนรู้ Soft Skill จะไปได้ช้ากว่า Technical Skill
4)
Low CAN Low WANT
: ลูกน้องที่ทำงานไม่เป็น และไม่อยากทำงาน Leader ต้องใช้วิธีสั่งการ (Telling) บอกวิธีการทำงานเป็นขั้นตอน 1-2-3-4
เป้าหมายของการเป็นผู้นำ คือโน้มน้าวสร้างแรงบันดาลใจเปลี่ยนลูกน้องให้เป็นกลุ่ม High CAN High WANT งานได้ผล คนเป็นสุข ถ้าคนไม่เป็นสุข จะเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) ไม่ได้ผลสำเร็จยั่งยืน
ที่มา : การสัมมนา NIA SCB IBE#4 Innovative Women Enterprise พลังแห่งผู้นำหญิงสู่องค์กรฐานนวัตกรรม : Increase Human Capital Capability โดยดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ Partner & CEO บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด