ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
2 จุดแข็ง “การเงิน & นวัตกรรม” รวมพลังต่อยอดธุรกิจ SME ยุคใหม่
หากพูดถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการให้ได้มาซึ่งผลกำไร ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ การหาช่องทางการค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง การทำ Content ที่น่าสนใจ หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า
ขณะเดียวกัน เรื่องการเงินก็สำคัญที่ถ้าผู้ประกอบการจัดการบริหารให้ดี จะช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากกว่าเดิม เช่นการวางแผนทางด้านการเงินอย่างมีกลยุทธ์และการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ เพราะการที่บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่ดีย่อมสร้างความน่าเชื่อถือ นำไปสู่โอกาส ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ใช้ต่อยอดธุรกิจ รวมถึงอาจได้รับสินเชื่อ SME เพื่อธุรกิจในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง นอกจากนี้ การวางแผนทางการเงินภายในบริษัทอย่างรอบคอบและรัดกุมอาจทำให้ผู้ประกอบการได้เห็นอะไรบางอย่างที่มักมองข้ามไป เช่น ต้นทุนแฝง ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
Secret Sauce: แนวทางการให้สถาบันการเงินปล่อยกู้สินเชื่อได้ง่าย
คุณราชิต ไชยรัตน์ CEO AccRevo
กล่าวถึงการที่สถาบันการเงินให้การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการหลากหลายรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการจะได้รับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็วและคล่องตัว นอกเหนือจากการเตรียมเอกสารและข้อมูลให้พร้อมแล้ว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงภายในบริษัท ซึ่งมักจะเป็นเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนดประกอบการตัดสินใจในการปล่อยสินเชื่อ ผู้ประกอบการควรนำเสนอแผนธุรกิจที่แสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การมีผลิตภัณฑ์ในมือที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง การสร้างช่องทางการขายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์เพื่อป้องกันการถูกปิดกั้นการมองเห็นของร้านค้าจากการขายสินค้าผ่านสื่อโซเชียล การแสดงศักยภาพในการขยายธุรกิจที่อยู่ในขอบเขตตามที่เจ้าของธุรกิจถนัด เป็นต้น
การทำธุรกิจด้วยกระบวนการทางนวัตกรรม (Process Innovation)
ปัจจุบันการทำธุรกิจด้วยการพัฒนาสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ (Product Innovation) ทั้งการปรับปรุงคุณภาพสินค้า การพัฒนาสินค้าให้แปลกใหม่ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้า อาจไม่เพียงพออีกต่อไป ในปี 2023 นี้ ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเน้นการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการ (Process Innovation) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการสินค้าดีขึ้น เช่น นำ AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึก (In-Depth Data Analytics) เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การสร้างระบบโลจิสติกส์ให้เป็นระบบเพื่อให้ส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมถึงลดขั้นตอนการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น บริษัทชั้นนำสัญชาติไทยบริษัทหนึ่ง มีผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท (Chief Financial Officer: CFO) เพียงหนึ่งตำแหน่ง แต่ทำหน้าที่กำกับดูแลทุกบริษัทที่อยู่ในเครือ รวมถึงออกแบบแผนกบัญชี แผนกการเงิน แผนกบุคคลที่มีโครงสร้างแบบ Shared Service คือทุกบริษัทในเครือสามารถใช้ทรัพยากรบุคคลภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในองค์กรเพื่อตอบสนองรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนสินค้า และเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเพื่อความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันต่อการแข่งขันทางธุรกิจในโลกปัจจุบันที่นับวันจะยิ่งเข้มข้นขึ้น
ที่มา: การสัมมนาโครงการ NIA SCB Innovation Based Enterprise - IBE 4: Turn Difficult Finance & Accounting to Sexy Items โดยคุณราชิต ไชยรัตน์ CEO AccRevo วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566