ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้หรือไม่ คนที่จากไปทำประกันไว้รึเปล่า?
การซื้อประกันชีวิตหรือประกันใด ๆ นั้น เมื่อเราต้องจากโลกนี้ไปแล้ว สมาชิกในครอบครัวจะได้รับผลประโยชน์จากประกันที่เราทำไว้ และสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างไม่ลำบาก หลายคนมีกรมธรรม์หลายฉบับ ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน แต่อาจไม่ได้บอกกล่าวกับคนในครอบครัวไว้อย่างชัดเจน ทำให้เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ครอบครัวไม่ทราบ และไม่ได้ไปดำเนินการเคลมประกัน จึงไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่คนทำประกันหรือผู้เอาประกันตั้งใจไว้ ดังนั้น หากเราสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวที่จากไปแล้ว ทำประกันอะไรไว้บ้าง สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีนี้
· ติดต่อคปภ.
หากไม่แน่ใจว่าผู้ที่จากไป ได้ทำประกันอะไรไว้ที่บริษัทไหนบ้าง ครอบครัวสามารถไปติดต่อที่สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือโทร.ไปปรึกษาได้ที่สายด่วน 1186 ก่อน เพื่อยื่นคำร้องขอตรวจสอบว่ามีประกันที่ผู้เสียชีวิตได้ทำไว้ก่อนเสียชีวิตหรือไม่
· เตรียมเอกสารยื่นคำร้อง
อย่าลืมเตรียมเอกสาร เพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอตรวจสอบ โดยเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ใบมรณบัตรตัวจริง สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีส่วนได้เสีย และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีส่วนได้เสีย โดยการตรวจสอบจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นหากพบว่า ผู้เสียชีวิตมีประกันที่ทำไว้จริง สำนักงานจะแจ้งชื่อบริษัทที่ผู้เสียชีวิตทำประกันไว้ พร้อมหมายเลขกรมธรรม์ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถนำไปติดต่อขอรับผลประโยชน์ต่อไปได้
· ติดต่อเคลมประกัน
หลังติดต่อบริษัทประกัน เพื่อเช็กสถานะกรมธรรม์ รายละเอียดต่าง ๆ และผู้รับผลประโยชน์แล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการเคลมประกัน โดยในขั้นตอนนี้คงหนี้ไม่พ้นการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อขอเคลมประกัน โดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการเคลมประกัน คือ
-ใบมรณบัตรตัวจริง
-ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้เอาประกัน ประทับตรา "ตาย" เรียบร้อยแล้ว
-บัตรประชาชนตัวจริงของผู้เอาประกัน
-ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้รับประโยชน์
-บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับประโยชน์
-กรมธรรม์ประกันชีวิต
-สำเนาบันทึกประจำวันที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น)
-แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม
การทำประกันเพื่อคนข้างหลังนั้น เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตที่ดี สิ่งสำคัญนอกจากการเตรียมพร้อมด้านการเงินแล้ว เราควรบอกรายละเอียด ที่เก็บเอกสารกรมธรรม์ไว้กับคนในครอบครัวด้วย เพื่อลดความยุ่งยากในการค้นหา และช่วยให้คนข้างหลังได้รับผลประโยชน์จริง ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำประกันตามที่ได้ตั้งใจไว้แต่แรก สำหรับใครที่สนใจทำประกันประเภทต่าง ๆ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance.html
ส่งต่อความมั่งคั่ง เพื่อความมั่นคงให้คนที่คุณรัก สบายใจเรื่องภาษีการรับมรดก เมื่อเสียชีวิตทายาทรับเงินเต็มจำนวน