ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทำไงดีเมื่อหนี้เป็นมรดก?
เมื่อเราได้รับมรดกจากพ่อแม่ ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สิน เงินทอง หรือที่ดิน รวมถึงหนี้สินด้วย หลายคนคงสงสัยว่าเราจะทำอย่างไรกับหนี้สินที่ได้รับ ต้องใช้หนี้แทนหรือไม่ ดังนั้น ลองมาดูกันว่าเราหากเราได้รับมรดกทั้งหมดมาแล้ว และพบว่ามีหนี้สินติดมาด้วย จะต้องมีขั้นตอนในการจัดการอย่างไร
รู้ความหมายของมรดก
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ ความหมายที่ถูกต้องของมรดกซึ่งตามกฎหมายก็คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของคนตาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ทั้งหมด เมื่อเจ้าของเสียชีวิตลง กองมรดกของผู้ตายจะตกทอดถึงทายาททันที ดังนั้น หากเจ้ามรดกมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
แน่นอนว่าทายาทต้องรับทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมาด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งทายาทที่ได้รับมรดกนั้นแบ่งเป็น ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม และทายาทโดยธรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย มี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลัง ดังนี้ 1. ผู้สืบสันดาน 2.บิดามารดา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา
ตรวจสอบมรดกที่ได้รับ
หลังจากเราได้รับมรดกมาแล้ว เราควรตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่ได้รับมามีมากน้อยแค่ไหน และผู้ตายมีหนี้สินอยู่จำนวนเท่าไหร่ เมื่อทราบจำนวนที่แน่นอนแล้ว จะสามารถจัดลำดับความสำคัญ และบริหารจัดการเงินมรดกที่ได้รับได้อย่างเหมาะสม
ทำความเข้าใจเรื่องชำระหนี้
เมื่อพบว่ามรดกที่ได้รับมีหนี้สินติดมาด้วย สิ่งหนึ่งที่ทายาททุกคนควรทำความเข้าใจ คือ หากเจ้ามรดกมีหนี้สินและเสียขีวิตไปแล้ว ทั้งทรัพย์สินและหนี้สินจะตกทอดถึงทายาท ซึ่งเมื่อทายาทได้รับมรดกมาแล้ว และพบว่ามีหนี้สินติดมาด้วย ตามกฎหมายเราต้องชดใช้หนี้แทน โดยหากมีทรัพย์สินที่ได้รับมรดกน้อยกว่าจำนวนหนี้สิน ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้ส่วนเกินจากมรดกที่ได้รับนั้น และหากผู้ตายมีแต่หนี้สิน และไม่มีทรัพย์สิน ทายาทก็ไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้จำนวนนั้นเลย
จัดการหนี้สินก่อนแบ่งมรดก
การชำระหนี้หลังได้รับมรดกควรเป็นอย่างไร ในกรณีที่มรดกมีจำนวนมากกว่าหนี้สิน ก่อนแบ่งมรดก เราต้องนำทรัพย์สินนั้นมาใช้หนี้ก่อน แล้วจึงสามารถแบ่งมรดกได้ เมื่อเราทำความเข้าใจเรื่องการชำระหนี้ก่อนแบ่งมรดกแล้ว จะทำให้เราสามารถจัดการมรดกและหนี้สินได้อย่างถูกต้อง และไม่มีปัญหาในภายหลัง กรณีแบ่งมรดกไปแล้ว และมาทราบภายหลังว่ามีหนี้สินต้องชดใช้ ทายาททุกคนจะต้องรับภาระชำระหนี้เท่า ๆ กัน สำหรับเจ้าหนี้นั้นสามารถฟ้องเรียกร้องให้ทายาทชำระหนี้สินนั้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ทราบการตายของลูกหนี้ แต่หากเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่าไม่ทราบการตายของลูกหนี้จริง ๆ ก็สามารถฟ้องเรียกร้องให้ชดใช้หนี้ได้ภายใน 10 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่สามารถฟ้องทายาทได้เลย
เพราะชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน การเตรียมพร้อมวางแผนทางการเงินไว้ จะช่วยสร้างความอุ่นใจให้คนข้างหลัง แม้เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นมา เรายังมั่นใจได้ว่าครอบครัว และคนที่เรารักจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างไม่ลำบาก สำหรับใครที่อยากส่งต่อเงินก้อนให้ลูกหลาน ประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย หากสนใจสามารถ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ข้อมูลอ้างอิง
https://d.dailynews.co.th/regional/793800/
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/is-debt-inherited.html
ส่งต่อความมั่งคั่ง เพื่อความมั่นคงให้คนที่คุณรัก สบายใจเรื่องภาษีการรับมรดก เมื่อเสียชีวิตทายาทรับเงินเต็มจำนวน