ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ใครคือผู้รับผลประโยชน์ กรมธรรม์ประกันชีวิต
มีคำถามว่า กรณีที่ผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตแต่ไม่ระบุผู้รับผลประโยชน์เอาไว้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำประกันจะตกเป็นของใคร คำตอบคือ บริษัทประกันจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้กองมรดกหรือทายาทของผู้ทำประกัน
สำหรับผู้ที่มีชื่อในกองมรดกที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ ได้แก่ ทายาทโดยธรรม ซึ่งมี 6 ลำดับชั้น ได้แก่
1.บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม
2.พ่อแม่
3.พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน
4.พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
ซึ่งกรณีที่ไม่ระบุผู้รับประโยชน์จะมีโอกาสเกิดปัญหากับผู้ที่อยู่ข้างหลัง เช่น แย่งผลประโยชน์จนถึงขั้นฟ้องร้อง หรือในกองมรดกอาจมีคนที่ไม่ต้องการยกผลประโยชน์ให้รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ผู้ทำประกันควรระบุผู้รับประโยชน์ให้เรียบร้อย
โดยทั่วไปบริษัทประกันจะให้ผู้ทำประกันและผู้รับผลประโยชน์ต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฆาตรกรรมผู้ทำประกันเพื่อหวังเงินประกัน ซึ่งผู้รับประโยชน์แบ่งเป็น 3 ระดับ
ลำดับที่ 1 ได้แก่ คู่สมรส บุตร (รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย)
ลำดับที่ 2 ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง
ลำดับที่ 3 ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา
ผู้ทำประกันสามารถระบุชื่อผู้รับประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ จะระบุเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้ ถ้ามากกว่า 1 คนก็ระบุสัดส่วนของการรับผลประโยชน์แต่ละคนได้ แต่ถ้าไม่ระบุ บริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ในจำนวนที่เท่ากัน
นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ทำประกันแต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียน หรือมีคู่รักเพศเดียวกัน
ปัจจุบันมีบริษัทประกันหลายแห่งรับทำประกันแล้ว แต่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท อีกทั้ง ยังสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นมูลนิธิ วัด สภากาชาด หรือองค์กรเพื่อการกุศลต่างๆ ได้อีกด้วย
มีข้อสงสัยว่า ผู้ทำประกันระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์แต่คนละนามสกุล ซึ่งในทางกฎหมายสามารถทำได้ตามที่ต้องการ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทประกันอาจจะขอร้องให้เปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมาย
การระบุผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นคนละนามสกุลกับผู้ทำประกันหรือไม่ใช่ญาติ หากผู้ทำประกันเสียชีวิตอาจนำมาซึ่งปัญหา ฝ่ายญาติที่แท้จริงอาจฟ้องร้องและสงสัยในการทำประกัน หรือญาติมองว่าผู้รับผลประโยชน์ทำการฆาตรกรรมเพื่อหวังเงินประกัน
เมื่อผู้ทำประกันต้องการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ จะทำได้เมื่อยังไม่ส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้รับประโยชน์ และผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทประกันว่าตัวเองขอรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ฉบับนั้น
แต่ถ้าผู้ทำประกันได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้รับผลประโยชน์ และผู้รับผลประโยชน์ก็ได้ทำหนังสือไปยังบริษัทประกันเป็นที่เรียบร้อย กรณีนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ ผู้ทำประกันต้องหยุดส่งเบี้ยประกันหรือเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ต้องแจ้งให้บริษัทประกันทราบโดยเร็วที่สุดหรือภายใน 14 วัน หากเกินว่านี้ บริษัทจะขอข้อมูลและพิสูจน์ถึงเหตุผลการแจ้งล่าช้า โดยผู้รับผลประโยชน์จะต้องรวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อยืนยันการเสียชีวิตของผู้ทำประกันมอบให้กับบริษัท
หากเกิดกรณีผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิตก่อนผู้ทำประกัน ผู้ทำประกันสามารถทำการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้ แต่ถ้าไม่ทำและหากผู้ทำประกันเสียชีวิต ผลประโยชน์จะตกสู่กองมรดกหรือทายาทของผู้ทำประกัน
นอกจากต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกัน ผู้ประกันต้องพิจารณาให้ดีว่าจะให้ใครเป็นผู้รับประโยชน์ เพราะนอกจากเป็นการแสดงความตั้งใจยกทรัพย์สินให้กับคนที่เรารักเมื่อตัวเองเสียชีวิตแล้ว ยังทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการรับผลประโยชน์อีกด้วย