ลงทุนฝ่าวิกฤต สร้างโอกาสพิชิตการลงทุนทั่วโลก ด้วย “Factor Investing”

1. ครึ่งปีหลัง 2565 ช่วงเวลาแห่งปัจจัยลบที่ยังอุดมสมบูรณ์


·  โลกกำลังเจอกับปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้า ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้น ที่เรียกกันว่า “Perfect Storm” เราผ่านครึ่งปีแรกด้วยโรคระบาดโควิด การปิดเมืองตามนโยบาย zero covid ของประเทศจีน สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ราคาพลังงานและราคาอาหารที่แพงขึ้นในอัตราเร่ง ภาวะเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี กระทั่งธนาคารกลางต้องควบคุมโดยการใช้นโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดสภาพคล่อง ซึ่งตลาดหุ้นไม่ชอบ นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจาก Inflation Risk to Recession Risk หรือความเสี่ยงเงินเฟ้อ ที่กำลังจะแปลงร่างเป็นความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอย

·  ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังคาดว่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัวลง จากแรงกดดันของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาพลังงานและการปรับขึ้นค่าจ้าง ส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ

·  ปัจจุบันตลาดหุ้นโลก ก็ยังอยู่ในภาวะผันผวนสูงต่อเนื่องและมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะ 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI AC World Index ตั้งแต่ต้นปีปรับลดลงแรงกว่า 18.4% (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565)

 

2. นักลงทุนรายย่อยควรปรับตัวอย่างไร ?


·  การลงทุนในแต่ละยุคสมัยล้วนต้องมีการปรับตัว ในยุคก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศไทยสูงมาก การลงทุนที่ดีคือ นำเงินฝากธนาคาร แต่หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยกลับทยอยลดลงๆจนกระทั่งต่ำมาก การลงทุนที่ดีก็ปรับมาเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น

·  ต่อมา เมื่อนักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการลงทุนใน “หุ้นไทยหรือตราสารหนี้” เป็นอันดับแรกๆ แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีสินทรัพย์ทางเลือกชนิดอื่นๆ ให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อีกมากมาย โดยเฉพาะ “หุ้นต่างประเทศ” ที่มีความหลากหลาย ทั้งแบ่งเป็นรายประเทศ รายเซคเตอร์ และรายธีมการลงทุน ยังมีโอกาสดีซ่อนอยู่อีกมาก

· การกระจายการลงทุนในต่างประเทศนับว่า เป็นการกระจายความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเข้าลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างจากตลาดหุ้นในประเทศไทย

· เนื่องจากการขยายขอบเขตการลงทุนทำให้มีจำนวนหุ้นให้เลือกมากขึ้น แม้เป็นการเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนหาหุ้นที่ดีได้จำนวนมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์หุ้นเหล่านั้นมากขึ้น จากหุ้นไทยที่มีหลักไม่กี่ร้อยตัว ขยายไปต่างประเทศทำให้มีหุ้นเป็นหลักหลายพันตัว อาจจะทำให้การศึกษาข้อมูลหุ้นทุกตัวที่สนใจเป็นไปได้ยากมากขึ้น รูปแบบการลงทุนแบบ Playbook เดิมๆ ที่ไม่ได้ดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน กลับกลายเป็นความเสี่ยงใหม่ที่นักลงทุนต้องปรับตัวหาวิธีแก้

scb-factor-investing-04

3. เมื่อวิธีการคัดเลือกหุ้นลงทุน ใช้ Playbook เดิมๆเริ่มไม่ได้
 

การเลือกหุ้นทั่วโลก ในช่วงเวลา Perfect Storm แบบนี้หลายคนตั้งคำถามว่า เราจะเลือกหุ้นอย่างไรดี

ปัจจัยในการคัดเลือกหุ้นที่สำคัญๆก็มีหลายรูปแบบ ซึ่งเกิดคำถามใหญ่ว่า การใช้วิธีการลงทุนแบบเน้นไปที่ปัจจัยเดียว ด้วย Playbook เล่มเดิมยังใช้ได้ดีอยู่ในยุคนี้หรือไม่

·         ใช้ปัจจัยเรื่อง “ราคาถูก” เพียงอย่างเดียวเหมาะสมหรือไม่ ?

·         ใช้ปัจจัยเรื่อง “การเติบโต” เพียงอย่างเดียวเหมาะสมหรือไม่ ?

·         ใช้ปัจจัยเรื่อง “คุณภาพกิจการ” เพียงอย่างเดียวเหมาะสมหรือไม่ ?

·         ใช้ปัจจัยเรื่อง “โมเมนตัมแรงซื้อ” อย่างเดียวเหมาะสมหรือไม่ ?

 

เพราะในตลาดที่ผันผวน การจับจังหวะการลงทุนทำได้ค่อนข้างยากและต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นักลงทุนจึงจำเป็นต้องรู้จักวิเคราะห์ผลตอบแทนของสินทรัพย์และแยกองค์ประกอบของผลตอบแทน เพื่อให้เห็น “ปัจจัยต่างๆ” ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและผลตอบแทนของหุ้น ว่ามาจากอะไรบ้าง และนำไปสู่การเลือกส่วนผสมและกลยุทธ์ที่เหมาะสม พร้อมบริหารความเสี่ยงการลงทุนได้ตามเป้าหมาย

อีกหนึ่งกลยุทธ์การเลือกหุ้นในระดับโลก ซึ่งเป็นวิธีการลงทุนที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หุ้นทุกตัวได้ ไม่ว่าขอบเขตการลงทุนของเราจะขยายออกไปใหญ่แค่ไหนก็คือ Factor Investing

 

4.   Factor Investing คืออะไร ?
 

Factor Investing เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยนั้นนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลักการเบื้องต้นคือ คือการคิดคำนวณในเชิงปริมาณ โดยใช้มาตราทางคณิตศาสตร์เพื่อเลือกหุ้น ตามปัจจัยแต่ละด้าน โดยนักลงทุนนำข้อมูล Factor ต่างๆ เช่น Value ใช้เลือกหุ้นกลุ่มเน้นคุณค่า, Quality ใช้เลือกหุ้นกลุ่มเน้นคุณภาพ หรือ Momentum ใช้เลือกหุ้นกลุ่มที่มีผลตอบแทนย้อนหลังสูง มาเปลี่ยนเป็นคะแนนสำหรับหุ้นแต่ละตัว  

·   Value Factor ตัวแปรด้านมูลค่า เราอาจใช้ Price to Earning (P/E) หรือ Price to Book (P/BV) เป็นตัวแทน โดยจะให้คะแนนที่สูงกับหุ้นที่มี P/E และ P/BV ต่ำ ๆ และในทางตรงกันข้ามให้คะแนนต่ำกับหุ้นที่มี P/E และ P/BV สูงๆ

·    Quality Factor ตัวแปรด้านคุณภาพ เราอาจวัดจากกระแสเงินสดที่มาก หรือใช้อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) เป็นตัวแทน โดยจะให้คะแนนที่สูงกับหุ้นที่มี ROE สูง ๆ และในทางตรงกันข้ามให้คะแนนต่ำกับหุ้นที่มี ROE ต่ำ ๆ

·    Momentum Factor ตัวแปรด้านโมเมนตัม เราอาจใช้ผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือนล่าสุดเป็นตัวแทน โดยจะให้คะแนนที่สูงกับหุ้นที่มีผลตอบแทนย้อนหลังสูง ๆ และในทางตรงกันข้ามให้คะแนนต่ำกับหุ้นที่มีผลตอบแทนย้อนหลังต่ำ ๆ

·    Growth Factor ตัวแปรด้านการเติบโต เราอาจวัดจากอัตราเติบโตของกำไรสุทธิ โดยจะให้คะแนนที่สูงกับหุ้นที่มีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิสูง ๆ และในทางตรงกันข้ามให้คะแนนต่ำกับหุ้นที่มีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิต่ำ ๆ

·    Volatility Factor ตัวแปรด้านความผันผวน เราอาจวัดจากความผันผวนของราคาหุ้น โดยจะให้คะแนนที่สูงกับหุ้นที่มีความผันผวนด้านราคาต่ำ (Low Volatility) และในทางตรงกันข้ามให้คะแนนต่ำกับหุ้นที่มีความผันผวนด้านราคาสูง (High Volatility)

นักลงทุนสามารถเลือกหุ้นได้ตามปรัชญาการลงทุนของแต่ละคน เช่น นักลงทุนที่ชอบหุ้น Value และ Quality อาจนำคะแนนของ Value และ Quality มารวมกันเพื่อเลือกหุ้นที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด หรือนักลงทุนอาจจะใช้หลักการ Factor ในการปรับพอร์ตเพื่อให้เหมาะสมกับช่วงเวลาในวงรอบเศรษฐกิจ เป็นต้น

 

5. Factorแต่ละกลุ่ม จะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป
 

·  Factorแต่ละกลุ่ม จะหมุนเวียนสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป ไม่มี Factor ใดที่จะใช้ได้ดีกับทุกๆวงรอบเศรษฐกิจ จะมีก็แต่ Factor ที่เหมาะสมกับวงรอบเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ

·   ตัวอย่างเช่น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาสำหรับหุ้นทั่วโลก เราจะทราบว่าการลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูง (Growth Stock) ส่วนใหญ่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นที่เน้นคุณค่า (Value Stock) แต่ในปี 2564 เกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมของ Factor Investing เมื่อหุ้นกลุ่มValue ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใน USA, Developed Market Investable Market Index (EAFE IMI) หรือ  Emerging Markets Investable Market Index (EM IMI) สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นกลุ่ม Growth รวมถึงหุ้นกลุ่มอื่น ๆ เช่น Momentum, Quality หรือ Low Volatility (ความผันผวนต่ำ) เป็นต้น

·  ดังนั้น Factor ในแต่ละกลุ่มจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขึ้นกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยในปลายปี 2564-2565 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ส่งผลให้รัฐบาลกลางในหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ หนึ่งในนโยบายหลักคือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินนี้ย่อมมีผลกระทบต่อ Factor ต่าง ๆ และเป็นผลทำให้หุ้นในกลุ่ม Growth สร้างผลตอบแทนได้ลดลง 

6. ใช้ Factor Investing กับช่วงเวลานี้อย่างไร
 

นักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนที่มากอาจจะปรับกลุ่มของ Factor ที่สนใจไปตามสภาวะของเศรษฐกิจ เช่น เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่การขยายตัว นักลงทุนอาจจะให้น้ำหนักกับ Growth Factor มากกว่า Factor อื่น ๆ แต่ในทางกลับกับเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะหดตัว นักลงทุนก็จะเปลี่ยนมาให้น้ำหนักกับ Quality Factor หรือ Value Factor เพื่อความปลอดภัย ทนทานต่อสภาวะได้มากขึ้น เป็นต้น

แล้วกลุ่มหุ้นแบบไหนที่เหมาะกับการลงทุนในสภาวะที่กำลังเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นกำลังเข้าสู่ Bear Market (ตลาดหมี) อย่างช่วงเวลานี้ ? 

หากพิจารณาจากเครื่องมือ Factor Investing ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่น่าสนใจในการคัดสรรหุ้นกลุ่ม Quality และ Value ที่ยังมีปัจจัยพื้นฐานดี มีความเป็นผู้นำตลาด และสามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอเข้าพอร์ตลงทุน ขณะเดียวกัน นักลงทุนอาจลองมองหากองทุนหุ้นที่มีการบริหารแบบเชิงรับ หรือ Passive Fund ที่ใช้เครื่องมือวิเคราะห์คัดสรรหุ้นเข้าพอร์ต และนอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่ถูกลงอีกด้วย

7. สนใจ Factor Investing แต่ไม่มีเวลาติดตามอย่างใกล้ชิด 
 

สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่มีประสบการณ์ไม่มาก การเปลี่ยน Factor จัดหุ้นในพอร์ตด้วยตนเอง ถ้าทำไม่สอดคล้องกับสภาวะตลาดอาจจะไม่ให้ผลดี สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ โดยใช้หลักการ Factor Investing แต่ไม่มีความพร้อมที่จะลงทุนด้วยตนเอง การลงทุนผ่านกองทุนรวมจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งมีข้อดีคือ

·         สามารถลงทุนได้ทันที สะดวก รวดเร็ว

·         มีกองทุนที่ลงทุนโดยหลักการ Factor Investing วิเคระห์ปัจจัยตัวแปรต่างๆอย่างมืออาชีพ

·         มีมืออาชีพมาช่วยบริหารจัดการการลงทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญคอยดูแลและบริหารเงินลงทุนแทนเรา

บลจ.ไทยพาณิชย์ เชื่อว่า นักทุนหลายๆ ท่าน กำลังมองหากองทุนต่างประเทศที่คัดสรรหุ้นคุณภาพแต่ไม่ต้องการมีความเสี่ยงเรื่องผู้จัดการกองทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงออกกองทุน SCBGQUAL ที่เป็นกองทุนหุ้น Quality โลกและ SCBGVALUE กองทุนหุ้น Value โลก ที่อิงดัชนีแบบ Passive Fund มีค่าธรรมเนียมถูกลง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพร้อมเป็นทางเลือกที่ดีของนักลงทุน

 

8. จุดเด่นของกองทุน SCBGQUAL
 

SCBGQUAL ใช้ Factor Investing เรื่อง Quality โมเดลคณิตศาสตร์ของกองทุนแม่ จะคำนวณหาหุ้นหรือ ETF ที่มีคุณภาพ มีเงินสด, เป็นบริษัทขนาดใหญ่, และมีกำไร โดยคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ แบบไม่มีอารมณ์ของคนมาเกี่ยวข้อง มีวินัยในการเลือกลงทุนจาก Performance ของหุ้นเท่านั้น ทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

SCBGQUAL จะมุ่งสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี MSCI World Sector Neutral Quality Index ที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของหุ้นบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางใน 23 ประเทศของตลาดพัฒนาแล้ว ที่สะท้อนหุ้นที่มีคุณภาพสูง ภายใต้การคัดเลือกหุ้นด้วยระบบวิเคราะห์เชิงปริมาณและ Factor Investing โดยดูจาก 3 ปัจจัย คือ

·         ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูง (ROE)

·         หนี้บริษัทที่อยู่ในระดับต่ำ

·         มีความผันผวนของกำไรบริษัทที่ไม่สูงมาก

อีกทั้งกองทุนยังป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ โดยกองทุน SCBGQUAL จะลงทุนในกองทุน iShares Edge MSCI World Quality Factor UCITS ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว และบริหารโดย BlackRock Asset Management Ireland Limited

9. จุดเด่นของกองทุน SCBGVALUE
 

SCBGVALUE ใช้ Factor Investing เรื่อง Valuation เหมาะสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ เนื่องจากกลุ่มหุ้นคุณค่าสามารถทนทานต่อสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นได้ดีกว่าตลาดโดยรวม มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว และมีความผันผวนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นๆ ซึ่งน่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การลงทุนในช่วงนโยบายการเงินตึงตัว
 

จุดเด่นของกองทุน SCBGVALUE คือการเน้นลงทุนให้มีผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี MSCI World Enhanced Value Index เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนหุ้นคุณค่าทั่วโลกที่มีโอกาสเติบโตและมูลค่าที่น่าสนใจ ที่ผ่านการคัดเลือกหุ้นด้วยระบบการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Factor Investing) เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาด และอคติของมนุษย์ (human bias)
 

รวมถึงกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยกองทุนนี้มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ iShares Edge MSCI World Value Factor UCITS ETF (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Share Class USD (ACC) ซึ่งบริหารงานภายใต้ความดูแลของ BlackRock Asset Management Ireland Limited

10. อยากลงทุนกับกองทุน SCBGQUAL และ SCBGVALUE วันนี้ เริ่มต้นยังไง ?


ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นได้วันนี้ ด้วยการ

·  ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy

·   สามารถซื้อกองทุนได้ที่เมนู Investment บน SCB Easy App

อ่านรายละเอียดกองทุนรวมเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.scbam.com/medias/campaign/landing-page/SCBGQUAL.html https://www.scbam.com/medias/campaign/landing-page/SCBGQVALUE.html


คำเตือน

·  เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
·  การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน


#SCB x  #นิ้วโป้งFundamentalVI
#SCBGQUAL
#SCBGVALUE
#FACTORINVESTING
#SCBINDEXFUND
#INDEXFUND
#SCBEASY
#INVESTMENT
#PERFECTSTORM