ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ฉากทัศน์ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และแนวทางลงทุน
สถานการณ์การลงทุนปัจจุบัน นักลงทุนต่างกังวลต่อโอกาสเกิด ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกา หลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ ออกมาสูงสุดในรอบ 40 ปี ที่ระดับ 9.1% ยิ่งเป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องหันมาเร่งดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพิ่มขึ้น ล่าสุดนักลงทุนมองว่า Fed มีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้อย่างน้อย 0.75% นำไปสู่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่สภาวะถดถอยภายใน 12 เดือนข้างหน้า ดังนั้นเราจึงขอยกกรณีศึกษาการเกิดเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในอดีต เพื่อให้สามารถเตรียมรับมือกับความเสี่ยงในแต่ละฉากทัศน์ (Scenarios) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
จากข้อมูล NBER (The National Bureau of Economic Research) พบว่า ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ปี 1945 สหรัฐฯ เกิดเศรษฐกิจถดถอยรวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง กินระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 10 เดือน และ GDP หดตัวลงเฉลี่ย -4.4% แต่หากเจาะลึกในแต่ละครั้งที่เกิดเศรษฐกิจถดถอย จะเห็นว่าแต่ละครั้งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์แตกต่างกันไป เราจึงแบ่งเป็น 3 ฉากทัศน์ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนี้
ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน ไม่ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกรณีไหนก็ตาม เราแนะนำให้ระมัดระวังต่อการลงทุนมากขึ้น เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง อย่างตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อรอโอกาสกลับเข้าไปทยอยลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้งเมื่อเราเห็นสัญญาณบวก เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (SCBSFFPLUS) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ หรือกองทุนหุ้น แนะนำลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทนทานไม่อิงตามวัฏจักรเศรษฐกิจมาก เช่น อุตสาหกรรม Healthcare ที่ในอดีตจะมีกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจำกัด อย่างเช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์ (SCBGHC) ซึ่งมีนโยบายลงทุนใน Janus Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) บริหารโดย Janus Capital Management LLC เป็นต้น
ข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2565
บทความโดยคุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส Chief Investment Officer บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
ที่มา : The Standard Wealth