Private Assets คืออะไร ทำไมจึงเป็นทางเลือกการลงทุนในช่วงตลาดผันผวน

ในปี 2021 ที่ผ่านมา ตลาดการลงทุนใน Private Assets ทั่วโลก ถือว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ จากการฟื้นตัวที่ดีทั้งตลาดแรกและตลาดรอง ประกอบกับสไตล์การลงทุนที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวะตลาด จึงสามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทน Risk-Adjusted ได้ในระยะยาว อีกทั้งการลงทุนใน Private Assets ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Public Assets


นอกจากการลงทุนใน Public Assets ที่นักลงทุนอาจคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ในช่วงที่ตลาดผันผวนแบบนี้ ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed หรือแม้แต่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังหาบทสรุปไม่ได้ อีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนที่น่าสนใจคือ Private Assets ที่สามารถสร้างความสมดุลและช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลตอบแทนของ Private Assets เฉลี่ยมักจะสูงกว่า แต่ความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนใน Public Assets จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสนใจมากขึ้น


Private Assets
คือการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด สามารถแบ่งเป็น Private Equity, Private Credit และ Private Real Assets สำหรับ Private Equity นั้นคือ การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือเรียกว่า Private Company โดย Private Equity มีวัตถุประสงค์ เช่น การระดมทุนตั้งแต่ช่วงก่อตั้งกิจการ (Venture Capital) ระดมทุนเพื่อขยายกิจการในบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโต (Growth Capital) หรือในช่วงบริษัทที่มีกระแสเงินสดมั่นคง (Buyout) โดยมีความผันผวน (Volatility) และค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ต่ำ เมื่อเทียบกับหุ้นโลก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) อีกทั้งการลงทุนใน Private Equity มีผลตอบแทนที่ชนะตลาดหุ้นโลกในระยะยาวอีกด้วย

private-assets-01

ในต่างประเทศ Private Assets ถือว่าเป็นที่นิยม เพราะความผันผวนน้อยกว่า Public Assets ตามที่กล่าวไป โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่มองภาพการลงทุนระยะยาวเป็นหลัก อย่างกองทุน Endowment  หรือกองทุนมหาวิทยาลัย กองทุนบำเหน็จบำนาญ รวมถึง Family Asset หรือกงสีแบบบ้านเรา โดยตัวอย่างหนึ่งคือ กองทุนของมหาวิทยาลัยชื่อดังทางฝั่งอเมริกาอย่างมหาวิทยาลัย Yale ก็มีกองทุน Endowment ที่มี Private Assets อยู่ในพอร์ตลงทุนหลักมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยผลประกอบการของกองทุนสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว และสามารถอาชนะเงินเฟ้อได้มาตลอด 10 ปี


แม้การลงทุนใน Private Assets อาจจำกัดอยู่เพียงเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) หรือนักลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด แต่ปัจจุบันข้อจำกัดต่างๆ ได้เริ่มลดลง เช่น จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำที่น้อยลง ระยะเวลาการลงทุนที่สั้นลง และความเสี่ยงสภาพคล่องที่ลดลง ทำให้นักลงทุนเริ่มเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ได้มากขึ้น และเริ่มขยายฐานตลาดมากขึ้น โดยในปัจจุบันก็มีกองทุนที่มีกลยุทธ์กระจายการลงทุนใน Private Assets ที่เป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนทั่วไปในการเข้าลงทุนอีกด้วย


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ World Integrated Portfolio (SCBWIP) เป็นหนึ่งในกองทุนของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่เหมาะเข้าลงทุนในช่วงตลาดผันผวนสำหรับนักลงทุนทั่วไป เพราะในพอร์ตมีสัดส่วนการลงทุนที่เป็น Private Assets และมีสภาพคล่องสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการของกองทุน ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท โดยมีให้เลือกลงทุนทั้งชนิดสะสมมูลค่า (SCBWIPA) ชนิดจ่ายปันผล (SCBWIPD) และชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ (SCBWIPR)


จุดเด่นกองทุน SCBWIP คือ การคัดเลือกกองทุนเด่นที่เน้นการสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอจากทั่วโลก โดยกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน และสินทรัพย์แปลกใหม่ เช่น Private Assets ที่นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงได้ยาก เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพ


ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายการลงทุนแบบ Unconstrained เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างไม่มีข้อจำกัด และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะตลาด ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนที่มีค่าสหสัมพันธ์กับตลาดต่ำ เช่น สินทรัพย์ Private Assets โดยเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง และต้องการกระจายความเสี่ยงในหลากหลายประเภทสินทรัพย์


กองทุน SCBWIP
มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ เช่น หน่วย CIS, หน่วย ETF ที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก Property Fund, REITs, Infra Fund, หน่วย Private Equity เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการลงทุนจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศอย่างน้อย 2 กองทุน โดยจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมี Net Exposure ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีลักษณะดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

 

อ้างอิง:

 

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565


บทความโดย คุณศุภรัตน์ อารีย์วงศ์ Executive Director กลุ่มกลยุทธ์การตลาดและผลิตภัณฑ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด


ที่มา : The Standard Wealth