ตามรอยดัชนี MSCI คว้าโอกาสทำกำไรไม่สะดุดกับหุ้นชั้นนำทั่วโลก

ปัจจุบันการลงทุนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจมากขึ้น ทั้งหุ้นในประเทศและหุ้นต่างประเทศ ซึ่งนอกจากการวิเคราะห์ในตัวหุ้นที่เราต้องการลงทุนแล้ว สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณา คือ องค์ประกอบโดยรวม ณ ช่วงเวลานั้น ว่าส่งผลบวกต่อโอกาสในการลงทุนหรือไม่ โดยอาจจะมาจากทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ กระแสเคลื่อนไหวของเงินทุนจากต่างชาติ สภาพคล่องภายในประเทศ สภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และองค์ประกอบทางด้านจิตวิทยาทางการลงทุนว่าช่วงเวลานั้นนักลงทุนมีความมั่นใจในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศที่สำคัญต่อดัชนีตลาดหุ้นไทย เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศเป็นตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยในบทความนี้เราจะขอพูดถึงดัชนีทั่วโลกอย่าง ‘MSCI Index’


MSCI Index เป็นดัชนีอ้างอิงที่บริษัท Morgan Stanley Capital International (MSCI) จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ได้นำมาใช้เป็นมาตรฐานในการวัดผลตอบแทนในการลงทุนของตนเองว่าเป็นอย่างไร ได้ผลตอบแทนดีหรือไม่เมื่อเทียบกับดัชนีนี้ โดยดัชนีนี้มีการจัดทำขึ้นหลายแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับกลยุทธ์การลงทุนที่มีอยู่หลากหลาย เช่น แบ่งตามภูมิภาค แบ่งตามลักษณะของตลาด ได้แก่ ตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลาดเกิดใหม่ หรือแบ่งตามประเภทของหุ้น เช่น หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดเล็ก หรือหุ้นที่มีการเติบโตสูง เช่น

  • MSCI World Index คือ ดัชนีที่วัดจากหุ้นขนาดกลางและใหญ่ของ 23 ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก ซึ่งมักจะถูกนำมาใช้ประเมินสภาพหุ้นโดยรวมทั่วโลก
  • MSCI Europe Index คือ ดัชนีที่คำนวณจากหุ้นขนาดกลางและใหญ่ของ 15 ประเทศพัฒนาแล้วที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรป ใช้สำหรับบอกทิศทางของตลาดทุนยุโรปโดยรวม
  • MSCI Emerging Markets Index คือ ดัชนีที่คำนวณจากหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่จากประเทศในกลุ่ม Emerging Markets หรือตลาดเกิดใหม่ตามที่ Morgan Stanley Capital International ได้จัดกลุ่มไว้
  • MSCI Thailand Index คือ ดัชนีที่คำนวณมาจากหุ้นที่ผ่านมาตรฐานที่ Morgan Stanley Capital International กำหนด เพื่อนำมาจัดทำเป็นดัชนี MSCI

msci-index-01

นอกจากมาตรฐานในการเลือกประเทศของแต่ละภูมิภาคแล้ว การคำนวณดัชนี MSCI ยังกำหนดให้แต่ละประเทศมีน้ำหนักที่แตกต่างกันอีกด้วย เพราะแต่ละประเทศมีความสำคัญและความแข็งแรงทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกหุ้นเข้ามาคำนวณประกอบด้วย หุ้นนั้นๆ ต้องมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง พิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายหุ้นในรอบปีเทียบกับมูลค่ารวมของหุ้นนั้นๆ และต้องมีสัดส่วนที่นักลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายหุ้นตัวนั้น (Free Float) ขั้นต่ำ 15% รวมถึงมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแล้วสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (ขั้นต่ำของไทยคือ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)


ทั้งนี้ นักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยต้องการสร้างผลตอบแทนตามดัชนี MSCI บลจ.ไทยพาณิชย์ ขอนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และกลางของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI World มากที่สุด ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ดัชนีหุ้นโลก (SCB World Equity Index: SCBWORLD) เริ่มเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 24-29 พฤศจิกายน 2564 ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท โดยได้เปิดให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน 2 รูปแบบ ได้แก่ ชนิดสะสมมูลค่า-SCBWORLD(A) และชนิดกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว-SCBWORLD(SSF) โดยสามารถซื้อได้ในทุกช่องทางรวมถึงผู้สนับสนุนการขายทุกราย


สำหรับกองทุน SCBWORLD จะกระจายลงทุนในกลุ่มประเทศประเทศที่พัฒนาแล้วถึง 23 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และแคนาดา พร้อมทั้งเลือกลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น Apple, JPMORGAN Chase & Co., Amazon.com, Inc., Johnson & Johnson และ Union Pacific Corp เป็นต้


นอกจากนี้ ยังเลือกลงทุนหุ้นบางตัวที่เป็นตัวแทนของหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง (Representative Sampling Indexing Strategy) กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ในสกุลเงินต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่เทียบกับสกุลเงินบาท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ


ทั้งนี้ กองทุนหลักมีผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งอยู่ที่ 12.52% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 39.24% เทียบกับดัชนีอ้างอิง MSCI World อยู่ที่ 12.31% และ 39.04% ตามลำดับ (อ้างอิง: Master Fund Factsheet ณ วันที่ 30 กันยายน 2564)


ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564


บทความโดย : คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด


ขอบคุณข้อมูล : The Standard Wealth