ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
โลกเปลี่ยนแปลงกับโอกาสลงทุนในพลังงานทดแทน
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความสนใจเรื่องของพลังงานที่จะมาทดแทนพลังงานจากน้ำมันมีมากขึ้น ทำให้การลงทุนในพลังงานทดแทนมีความน่าสนใจไม่น้อย
พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำลังจะหมดไปในอนาคต ขณะเดียวกันพลังงานแบบเดิมยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน
นอกจากนี้ พลังงานทดแทนยังหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและสามารถใช้ทดแทนพลังงานเดิมได้อย่างไม่จำกัด โดยพลังงานทดแทนที่สำคัญและมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานและช่วยลดปัญหามลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการเติบโตของธุรกิจพลังงานทดแทน จากกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าการเติบโตของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) จากแหล่งต่าง ๆ พบว่าทุก 6 ปี อัตราการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนรวมถึงพลังงานทดแทนอื่นเติบโตขึ้น โดยเติบโตเกือบ 1 เท่าทุก ๆ 10 ปี
หากนักลงทุนสนใจลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน สามารถเริ่มต้นลงทุนผ่านทางกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน หรือลงทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นพลังงานทดแทน สำหรับตัวอย่างธีมการลงทุนในพลังงานทดแทน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้ข้อมูลไว้ ดังนี้
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
เป็นธีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีเสถียรภาพสูง ส่วนในมุมธุรกิจ หลายบริษัทก็สามารถขยายขนาดของการลงทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีอุตสาหกรรมปลายน้ำที่หลากหลาย ขณะที่ธุรกิจหลัก อย่างการผลิตกระแสไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา ก็คาดว่าจะก้าวขึ้นมามากกว่าครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2050 โดยธุรกิจที่ลงทุนจะประกอบไปด้วย ผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบ Invertor แบตเตอรี่ หรือระบบจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานลม (Wind Energy)
ถือเป็นธีมการลงทุนที่โดดเด่นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงมีเงินลงทุนจากภาครัฐเข้ามาช่วยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง โดยธีมนี้จะลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมพลังงานลม รวมถึงระบบการผลิตและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แต่จะมีความเจาะจงไปยังภูมิภาคที่มีพื้นที่เฉพาะขนาดใหญ่เป็นหลัก
พลังงานน้ำ (Water Energy)
เป็นธีมการลงทุนที่มีความหลากหลายที่สุดในเชิงธุรกิจ เพราะนอกจากธุรกิจการผลิตพลังงานจากน้ำ ยังรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย เช่น บริษัทสาธารณูปโภคด้านชลประทาน การก่อสร้างท่อระบายน้ำ ท่อส่งน้ำ หรือการทำน้ำให้บริสุทธิ์ โดยน้ำเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตมากที่สุดในปัจจุบัน คิดเป็นราว 7% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา ธุรกิจนี้จึงมีเสถียรภาพสูงและมีความผันผวนต่ำกว่าพลังงานสะอาดอื่น ๆ
การจัดการของเสีย (Waste Management)
เป็นธีมการลงทุนที่เปลี่ยนสิ่งสกปรกให้เป็นพลังงานสะอาด จึงมีความซับซ้อนและหลากหลายมากที่สุด แม้ในฝั่งของเทคโนโลยีด้านพลังงานจะไม่โดดเด่นมาก เพราะมักใช้ Biomass หรือของเสียสร้างความร้อน แต่ธีมนี้จะประกอบไปด้วยการลงทุนในธุรกิจบริการที่หลากหลาย เช่น การรวบรวม ถ่ายโอน กำจัดของเสีย รีไซเคิล ไปจนถึงการให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จึงมักมี Margin ของธุรกิจที่สูงกว่าธีมพลังงานสะอาดอื่น ๆ
ปัจจุบันประเทศทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน แทนพลังงานจากฟอสซิล ทำให้ความนิยมใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนยังถือเป็นเรื่องของอนาคต ดังนั้น จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวและสามารถรับความผันผวนระยะสั้นได้ค่อนข้างสูง
ที่มา :