ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หนี้อะไรควรจัดการก่อนเกษียณ
หากต้องการเกษียณอย่างมีความสุข นอกจากต้องเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมเงินให้พร้อมแล้ว สิ่งสำคัญ คือ ต้องเคลียร์หนี้สินที่มีอยู่ให้หมดหรือให้เหลือน้อยที่สุดหลังเกษียณ เพราะถ้าแก่ตัวไปพร้อมหนี้สินคงต้องใช้หนี้ไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ในช่วงวัยทำงานต้องสร้างความมั่นคงให้ชีวิต แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะใช้วิธี “ก่อหนี้” เพื่อทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เช่น กู้เงินซื้อรถ ซื้อบ้าน ลงทุนเพื่อการศึกษาของลูก เป็นต้น
หนี้แต่ละก้อนมักใช้ระยะเวลานานกว่าจะชำระหมด เช่น ผ่อนบ้านใช้เวลาประมาณ 30 ปี และยิ่งหนี้รถยนต์ก็ยิ่งมีภาระผูกพัน เพราะบางคนเปลี่ยนรถบ่อยๆ เช่น ใช้รถ 4 ปีก็ขายแล้วไปซื้อคันใหม่ หรือเมื่อมีครอบครัว มีลูก ต้องใช้รถคันใหญ่ขึ้นก็จะมีภาระหนี้สูงขึ้น ที่สำคัญแทบทุกคนมักมีบัตรเครดิตอย่างน้อยๆ 1 – 2 ใบ ทำให้การเป็นหนี้บัตรเครดิตกลายเป็นเรื่องปกติ
หากแยกช่วงอายุกับการก่อหนี้ พบว่าช่วงเริ่มต้นทำงาน (อายุน้อยกว่า 30 ปี) คนกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนก่อนหนี้ส่วนบุคคลสูงที่สุด เช่น ซื้อรถ หนี้บัตรเครดิต และเมื่อเริ่มเข้าสู่รายได้มั่นคง ซึ่งเป็นวัยต้องสร้างครอบครัว อายุประมาณ 35 – 40 ปี หนี้ส่วนใหญ่ก็เพื่อสร้างอนาคต เช่น ซื้อบ้าน และเมื่อพ้นจากนี้ หนี้ก็จะเริ่มลดลงและยิ่งใกล้เกษียณอายุ ภาระหนี้แทบจะไม่เหลือเลย (ที่มา : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อไตรมาส 3 ปี 2561 พบว่าคนไทยเป็นหนี้กันตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครึ่งหนึ่งของคนอายุประมาณ 30 ปี มีหนี้จากสินเชื่ออุปโภคบริโภคหรือหนี้บัตรเครดิต ขณะที่หนึ่งในห้าของคนที่เป็นหนี้เสีย อยู่ในกลุ่มที่ช่วงอายุ 29 – 35 ปี ขณะเดียวกันก็เป็นหนี้นานขึ้น โดยปริมาณหนี้ต่อหัวเร่งขึ้นสำหรับคนในช่วงอายุประมาณปลาย 20 ย่างเข้า 30 ปี และยังคงอยู่ในระดับสูงตลอดอายุการทำงาน และไม่ได้ลดลงแม้จะเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงในชีวิต ที่สำคัญหนี้เฉลี่ยต่อคนมีมูลค่ามากขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้หนี้สินติดตัวไปกับวัยเกษียณ และผลที่ตามมา คือ ไม่มีความสุขในช่วงบั้นปลายชีวิต ดังนั้น อยากมีความสุขก็ต้องปลดหนี้ก่อนถึงวันเกษียณ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. รวมยอดหนี้ทั้งหมด
ด้วยการเรียงลำดับหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงไปหาดอกเบี้ยต่ำ และดูว่าหนี้แต่ก้อนเหลือที่ต้องจ่ายอยู่เท่าไหร่
2. เคลียร์หนี้ก้อนที่น้อยที่สุดก่อน
เพื่อเป็นกำลังใจและลดจำนวนสินเชื่อที่ต้องดูแล
3. เคลียร์หนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดอย่างเร่งด่วน
หมายความว่า หากมีหนี้นอกระบบ ต้องรีบจัดการโดยด่วนเพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากต่อเดือน รองลงมา คือ หนี้บัตรกดเงินสดและบัตรเครดิต ตามลำดับ
4. หนี้รถยนต์
ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะปลดหนี้รถยนต์หมดก่อนวัยเกษียณ แต่มีหลายคนที่เปลี่ยนรถบ่อย เช่น ซื้อรถคันแรกตอนอายุ 40 ปี เมื่อผ่อนหมดก็ขายคันเดิมแล้วไปซื้อคันใหม่ หรือบางคนถึงแม้อายุ 55 ปี ก็ยังผ่อนรถอยู่ อย่าลืมว่าดอกเบี้ยรถยนต์มักจะไม่ลดตามเงินต้นที่ลดลง ขณะที่มูลค่ารถยนต์ลดลงเรื่อยๆ
5. หนี้บ้าน
แน่นอนว่ากว่าจะผ่อนบ้านหมดก็เกือบถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งวิธีปลดหนี้บ้านให้หมดเร็ว คือ โปะหนี้หรือรีไฟแนนซ์ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงและย่นระยะเวลาการผ่อนให้สั้นลง
หลายคนอาจจะมองว่าไม่ยาก แต่ตอนลงมือปฏิบัติยากมาก เพราะก่อหนี้ไว้เยอะและหนี้แต่ละก้อนก็ไม่ใช่น้อยๆ ที่สำคัญยิ่งถ้ารายได้มีทางเดียว เช่น เงินเดือนประจำ ถ้านำเงินมาจ่ายหนี้ให้มากขึ้นก็คงไม่พอกินพอใช้ในชีวิตประจำวัน
หากเป็นเช่นนี้ ต้องเริ่มลงมือจัดการหนี้สิ้น เริ่มจากหยุดก่อหนี้เพิ่ม จากนั้นก็หาอาชีพเสริมทำ เมื่อมีรายได้ก็นำไปจ่ายหนี้ทันที ขณะเดียวกันต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น จากเดิมมีค่าใช้จ่ายเพื่อสังสรรค์เดือนละ 700 บาท ถ้าหยุดจะมีเงินเก็บปีนั้น 8,400 บาท ก็นำไปเคลียร์หนี้
การปลดหนี้ไม่ใช่เรื่องยาก หากเริ่มต้นลงมือทันทีและมีวินัย เมื่อถึงวันเกษียณก็จะไม่มีหนี้ หมดความกังวลกับภาระหนักอึ้ง และมีชีวิตเกษียณสุขอย่างเต็มที่