ครบเครื่องเรื่องความหลากหลายกับ 4 กองทุนแนะนำประจำไตรมาส

หลายคนที่สนใจเรื่องการลงทุน อาจจะเคยได้ยินคำว่า Asset Allocation ผ่านๆ หูมาบ้าง แล้วก็อาจจะสงสัยว่า คืออะไร


ก็ต้องบอกว่า Asset Allocation คือ การแบ่งเงินลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนหนักๆ เพราะถือสินทรัพย์ประเภทใดประเภทเดียวได้ รวมทั้งยังช่วยให้เราลงทุนได้เป็นไปตามเป้าหมายผลตอบแทนที่คาดหวัง และตรงกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวเอง


โดยปกติแล้ว ก็มักจะแนะนำให้ ผู้ลงทุนมีทั้งสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง เช่น หุ้น สินทรัพย์ทางเลือก และสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ เงินสด อยู่ในพอร์ต ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตัวเอง สมมติว่า รับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ควรจะมีสินทรัพย์เสี่ยงต่ำในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก หรือถ้ารับความเสี่ยงได้ปานกลาง ก็สามารถมีสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงได้ ใกล้เคียงกับสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำ ส่วนในกรณีที่รับความเสี่ยงได้สูง ก็ไม่ได้หมายความว่า ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างเดียวไปเลย แต่หมายความว่า สามารถมีสินทรัพย์เสี่ยงสูงในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงได้ในพอร์ตลงทุน


ทั้งนี้ ใครต้องการลงทุนจัดสรรสินทรัพย์หลากหลาย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCB เราก็มีกองทุนรวมเสนอขาย ครอบคลุมสินทรัพย์ตั้งแต่เสี่ยงต่ำจนถึงเสี่ยงสูง เรียกว่า ครบเครื่อง เลือกหยิบมาจัดพอร์ตได้ ในแบบที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง

2074536715

สำหรับครั้งนี้ ขอแนะนำ 4 ตัวเลือกที่น่าสนใจ ได้แก่ 2 กองทุนรวมผสม SCBCIO(A) และ SCBGA(A)  ที่จะทำให้ Asset Allocation กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ด้วยการมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญทำให้  กับอีก 2 กองทุนรวมสองสไตล์ เอาใจสายรักหุ้นไทยปันผล กับ SCBDV และสายอินเตอร์ ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผ่านดัชนีดาวน์โจนส์ SCBDJI(A)


1. SCBCIO(A)  


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBCIO(A) เป็นกองทุนผสม มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง เป็นกองทุนที่จัดตั้งและบริหารโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM) โดยมี SCB Chief Investment Office (SCB CIO) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ร่วมทำงานกับผู้จัดการกองทุนอย่างใกล้ชิด เหมาะสำหรับ คนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูงขึ้นไป อยากกระจายเงินลงทุน ทำ Asset Allocation บ้าง แต่คิดไม่ออกว่า จะแบ่งเงินไปลงทุนอย่างไรดี และไม่รู้ว่าถ้าระหว่างลงทุนอยู่ มีสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนเกิดขึ้น จะต้องปรับสัดส่วนเงินลงทุนหรือไม่ อย่างไร 


กองทุนนี้วางกลยุทธ์การลงทุนเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก วางแผนระยะยาว เพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุน (Strategic Asset Allocation หรือ SAA) และส่วนที่ 2 มีการปรับสัดส่วนลงทุนตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ระหว่างที่ลงทุน (Tactical Asset Allocation หรือ TAA) จุดเด่นของกองทุน คือ ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ ส่วนพอร์ตลงทุนมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง ระหว่างที่ลงทุน ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับสัดส่วนการถือเงินสดได้ในระดับ 0-100% โดยสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาก็คือ การดูแลให้พอร์ตลงทุนมีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Moderate) และเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะตลาด 


ที่มา https://www.scbam.com/medias/fund-doc/fund-summary-aimc/SCBCIO(A)_FUNDSUM.pdf

 

2.SCBGA(A)


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Allocation (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBGA(A) เป็นกองทุนผสม ที่มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูงเช่นกัน มีการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก และปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือสไตล์การบริหารกองทุน เนื่องจาก กองทุนนี้บริหารโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลก คือ มีบริษัท หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด เป็นผู้รับมอบหมายงานด้านการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (Outsourced Fund Manager)


สำหรับกองทุนนี้ ได้คัดเลือกกองทุน JB Dynamic Asset Allocation Fund ซึ่งเป็นกองทุนระดับ Flagship ของ Julius Baer มาเป็นกองทุนหลัก (Core Fund) โดยที่การจัดสรรสินทรัพย์ของกองทุนนี้จะเป็นไปตามมุมมองการลงทุนของ Julius Baer House Views ส่วนกองทุนเสริม (Satellite Funds) จะคัดเลือกมาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมชั้นนำในทั่วโลก เพื่อกระจายความเสี่ยง และสร้างความสมดุลให้พอร์ต พร้อมลดโอกาสการขาดทุน ในช่วงที่ตลาดผันผวนระยะสั้น และเพิ่มโอกาสการค้นหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว


ที่มา : https://www.scbam.com/medias/fund-doc/presentation/SCBGA_Pre.pdf


3.SCBDV


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (ชนิดจ่ายเงินปันผล) หรือ SCBDV เป็นกองทุนรวมหุ้นไทย ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ  เสี่ยงสูง โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นไทย (บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยกองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 2 ครั้ง


สำหรับกองทุนนี้ ถือว่าตอบโจทย์สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการจัดพอร์ตลงทุน โดยกระจายความเสี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายด้วยตัวเอง และสนใจลงทุนในหุ้นไทยเป็นส่วนหนึ่งในพอร์ตลงทุน โดยที่ต้องการเน้นคัดเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และมีความมั่นคง


4.SCBDJI(A)


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส ดีเจไอ (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBDJI(A) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ เสี่ยงสูง โดยกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในกองทุนดัชนี ที่ชื่อว่า SPDR Dow Jones Industrial Average ETF Trust สกุลเงิน USD ซึ่งกอทุนหลักนี้จะไปลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ หรือ Dow Jones Industrial Average โดยมีเป้าหมายให้ผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยง ไม่อยากให้เงินลงทุนกระจุกตัวอยู่แต่กับหลักทรัพย์ในประเทศเท่านั้น และมีความสนใจลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่อยู่ในดัชนีดาวน์โจนส์ ด้วยสไตล์การลงทุนแบบเชิงรับ (Passive) คือเน้นทำผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี


ทั้งนี้ นี่เป็นเพียง 4 กองทุนตัวอย่างที่หยิบมาแนะนำในไตรมาสที่ 4/2566 ซึ่งอันที่จริงแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลิตภัณฑ์กองทุนรวมจาก บลจ.ต่างๆ ที่คัดสรรมานำเสนอขายอีกมาก และสำหรับผู้ลงทุน กลุ่มที่มีความมั่งคั่ง (Wealth) มีประสบการณ์ลงทุนสูง หากต้องการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูง ก็มีทางเลือกที่น่าสนใจรออยู่อีกมาก

  
คำเตือน

·      กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity หรือ SCBCIO(A) มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

·      กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Allocation (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBGA(A) มีความเสี่ยงระดับ 5 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

·      กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (ชนิดจ่ายเงินปันผล) หรือ SCBDV มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ  เสี่ยงสูง

·      กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส ดีเจไอ (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBDJI(A) มีความเสี่ยงระดับ 6 คือ เสี่ยงสูง

·      กองทุน SCBCIO ได้ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งธนาคารฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายกองทุนรวมกับบลจ. ไทยพาณิชย์ จึงอาจมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

·      การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

·      เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

·      การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน

·      ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-777-7777


ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2566


บทความโดย SCB CIO Office