ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เปิดสาเหตุที่ SME ไปไม่ถึงฝั่งฝัน
อย่าเพิ่งดีใจที่ได้เริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง บนเส้นทางเดินของผู้ประกอบการการเดินทางไม่ได้จบเพียงแค่การได้ก้าวออกมาเป็นนายตัวเอง นี่เป็นเพียงแค่บทนำหรือการเริ่มต้นธุรกิจเท่านั้น ระหว่างทางยังมีอุปสรรค ปัญหา และความท้าทายรออยู่อีกมาก แต่ละก้าวในการทำธุรกิจต้องรอบคอบ เพราะหากไม่ระมัดระวังให้ดีโอกาสล้มเหลวมีสูงมาก เว็บไซต์ Top-Business-Degrees.net รายงานว่า ในปัจจุบันผู้ที่ทำธุรกิจขนาดย่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถทำกำไร (40% ของ SME ทั้งหมด) กลุ่มที่มีผลประกอบการระดับปานกลาง (30%) และกลุ่มที่มีผลกระกอบการขาดทุน (30%) หากลองเจาะลึกลงไปจะพบว่า มีธุรกิจขนาดย่อมที่ปิดตัวลงหลังจากเปิดกิจการภายใน 5 ปีแรกถึง 95% และยังมีอีกกว่า 50% ที่ปิดกิจการภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี ทั้งๆ ที่นักธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่คนที่ไม่ขยัน ไม่สู้ชีวิต ไม่อดทน เพียงแต่แค่ทำในสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องเพียงเท่านั้น ดังนั้นมาเรียนรู้จากความผิดพลาดกันดีกว่า ว่าเหตุผลที่ SME ส่วนใหญ่ล้มเหลวนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
1. ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
แทนที่จะตั้งเป้าหมายแค่ว่า “จะเพิ่มยอดขาย” ก็ให้ตั้งว่า “จะขายให้ได้หนึ่งแสนบาท ภายในสองเดือนข้างหน้า” เขียนแผนให้ชัดเจนถึงเป้าหมาย หรือยอดขายในแต่ละช่วง กำหนดเวลาให้แน่นอน ทำทุกวันให้มีค่าด้วยการดูว่าทำยอดได้ตามที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้ายังทำไม่ได้ควรปรับกลยุทธ์เพิ่มยอดขายให้เร็วที่สุด เพราะหากขาดการวางแผนที่ดี ย่อมส่งปัญหาในการดำเนินธุรกิจได้ เพราะถ้าผู้ประกอบการยังไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ผลิตภัณฑ์หรือบริการดีกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ รวมถึงแผนระยะสั้นและระยะยาวเป็นอย่างไร หากยังมีเครื่องหมายคำถามเกิดขึ้นในใจ พยายามไขปัญหาเหล่านี้ให้ออกก่อนเริ่มต้นธุรกิจ และวางแผนอย่างเป็นระบบ
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายผิด
และไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า นี่คือความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุด เพราะเมื่อเลือกกลุ่มเป้าหมายผิดแล้ว การตลาดย่อมพลาดตามไปด้วย เนื่องจากจะโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถเลือกเนื้อหาและโปรโมชั่นให้เหมาะสมกับผู้ซื้อได้ เช่น สินค้าเด็กที่มีราคาสูง แต่กำหนดกลุ่มผู้ซื้อเป็นเด็กซึ่งไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่จ่ายเงินได้คือผู้ใหญ่และผู้ปกครองของเด็ก เป็นต้น
3. ขาดความเชียวชาญในด้านการตลาด
อ่านตลาดไม่ขาด พยายามทำให้ทุกคนชอบ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีทางที่ทุกคนจะชอบสินค้าเหมือนกัน ต้องวางตำแหน่งทางธุรกิจของตนเอง และจับกลุ่ม Target ให้ได้ การอ่านความต้องการของลูกค้าและเกมส์ทางการตลาดนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายและยากมากเรื่องหนึ่ง มีผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากมักจะผิดพลาดในเรื่องนี้บ่อยครั้ง บางรายมีผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดีมาก แต่ตลาดกลับไม่ต้องการ บางรายประเมินตลาดผิดทั้งขนาดของตลาด หรือความต้องการที่ไม่มีจริง หรือมีแต่ก็ไม่มากพอ ตัวอย่างที่พบเสมอๆเช่นการนำเงินจำนวนมากไปเร่งผลิตและกักตุนสินค้าไว้ โดยคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ราคาจะขยับสูงขึ้นอย่างแน่นอน แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ราคานอกจากไม่สูงขึ้นแล้ว ยังร่วงลงตามความต้องการของตลาดที่หดหายไปอีกด้วย ส่งผลให้ขาดทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล หมดเนื้อหมดตัวกันไปเลยก็มี
4. ปัญหาการขาดความรู้
และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่ดีพอ จัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่พบมากที่สุดที่ทำให้กิจการเสียหาย และล้มเหลว อุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะของตัวเอง ซึ่งต้องการความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาสู่การบริหารจัดการที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกประเด็นหนึ่งที่อยู่ภายใต้ปัจจัยความล้มเหลวในข้อนี้ก็คือ การขาดความรู้และทักษะในการบริหาร จัดการด้านกลยุทธ์ที่ดีของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุดในการกำหนดทิศทางนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนถาวร
5. ไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยที่หันมาซื้อของผ่านออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปไหน และมีสินค้าหลากหลายให้เลือก ผู้ประกอบการที่ยังใช้รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิม ไม่ปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมของผู้บริโภคจะนำไปสู่ความล้มเหลวได้ กลยุทธ์การปรับตัวเข้าหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน
6. ขาดทุนสะสม
เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่ขนาดไหนก็ล้มละลายได้ กล่าวคือ เกิดการขาดทุนในแต่ละปี อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุนานับประการ เช่น การที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแต่ธุรกิจปรับตัวตามไม่ทัน ทำให้เกิดภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องจนกินทุน
7. ขาดสภาพคล่อง
เป็นสาเหตุหลักๆ ในการล้มเหลวเนื่องด้วยการทำธุรกิจจะพบเจอปัญหาอยู่ตลอด ดังนั้นหากไม่มีสายป่านที่มากพอ จะทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจนต้องไปกู้หนี้ยืมสิ้น หากหามาชดใช้ได้ก็ดีไป แต่ถ้าหากไม่เป็นไปตามคาดการณ์ อาจทำให้ปัญหามากขึ้นกว่าเดิม มีหนี้สินล้นพ้นตัวจนถึงขั้นล้มละลายเลยก็มี
8. ขาดการมอบหมายงาน
โดยเฉพาะเจ้าของ SMEs มักชอบที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ซึ่งก็เป็นโซ่ตรวนที่ทำให้ไม่ก้าวหน้าเป็นพฤติกรรมเชิงลบของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ หรือต่อให้จ้างพนักงาน ก็ต้องคุมทุกอย่าง เพราะไม่ไว้ใจหรือคิดว่าธุรกิจของตนเอง ย่อมไม่มีใครรักและทำได้ดีกว่าตัวเอง ซึ่งถ้ามีพฤติกรรมติดตัวแบบนี้อยู่ ต้องบอกว่าจะเหนื่อยและจะหมดแรงกับการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก ลองเปิดใจและปล่อยให้คนที่มีความสามารถมาช่วยเหลือ เพราะไม่มีธุรกิจไหนสำเร็จได้ด้วยการทำงานเพียงลำพัง
8. ขาดความแตกต่าง
ซึ่งทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงอย่างยิ่ง ทำให้ตกอยู่ในสภาวะการแข่งขันด้วยราคาการตัดราคากันเองจนสุดท้ายไม่เหลือกำไร เพราะขายในสิ่งที่เหมือนกับเจ้าอื่นในตลาด ทำการตลาดแบบคนอื่นๆ นั้นยากที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะทำให้อยู่รอดและเติบโตได้
9. ล้มเหลวในการสร้างพันธมิตร
อย่าคิดว่าตัวเองทำได้ทุกอย่าง หาพันธมิตรที่เหมาะสมกับธุรกิจเป็นทางรอดและช่วยสร้างการเติบโต เดี๋ยวนี้ไม่ได้เน้นการรวยกระจุกแล้วแต่เน้นรวยกระจายมากกว่า การจับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแรงหรืออย่างน้อยก็มีคนคอยให้คำปรึกษาสนับสนุนหรือเติมเต็มซึ่งกันและกันในสิ่งที่แต่ละคนถนัด
10. ทุ่มเกินเหตุในสิ่งที่ไม่น่าลงทุน
อาจจะด้วยรสนิยมหรือความชอบส่วนตัวในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ เราไม่ควรไปลงทุนกับสิ่งที่ยังไม่สร้างยอดให้กับธุรกิจ เช่น นามบัตรแพงๆ เว็บไชต์ที่แพงจนเกินไป งบโฆษณาที่ลงไม่ตรงกลุ่มจนทำให้ค่าโฆษณาแพงเกินจำเป็น ซึ่งต้องทำให้เหมาะสมกับช่วงเวลาของธุรกิจ และการขยายตัวเกินกำลังของผู้ประกอบการนั้น มักพบได้บ่อยครั้งในตัวนักลงทุนที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตลาดมีการเติบโตสูง ความต้องการสั่งซื้อมากเกินกว่าความสามารถในการผลิต หรือกำลังเงินที่จะหมุนเวียนรองรับ แต่ก็ยังทำเนื่องจากเสียดายโอกาสที่เกิดขึ้น เชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถที่จะบริหาร หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ส่งผลให้กิจการขาดสภาพคล่อง และลงท้ายด้วยความล้มเหลวได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกกันว่า Overtrading ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้กับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs
11. ขยายธุรกิจมากเกินกำลังหรือ Overexpansion
ที่ผู้ประกอบการลงทุนขยายงานด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก ในทรัพย์สินถาวรต่างๆ ด้วยความเชื่อว่ายอดขาย หรือปริมาณธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนั้นสูงมากพอ คุ้มค่ากับขนาดของการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงกับตรงกันข้าม เนื่องจากปริมาณธุรกิจที่คาดไว้ อาจไม่ได้มากเท่าที่คิด หรืออาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทำให้ตลาดหดตัวลง ส่งผลให้ยอดขายและกำไรหด ไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดให้มากพอ ที่จะชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้กู้ยืมมาเพื่อลงทุนขยายงาน ท้ายสุดกิจการก็ไปไม่รอด นำไปสู่ความล้มเหลวจนถึงขั้นปิดกิจการ และล้มละลายลงไป
การเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นฝันของหลายคน แต่เส้นทางไปสู่ความสำเร็จหรือแม้กระทั่งการประคับประคองให้ธุรกิจอยู่รอดนั้นไม่ใช่เส้นทางที่สวยหรูเสมอไป แค่ความขยัน ความอดทน ความตั้งใจยังไม่พอ การมีการวางแผนที่ดี การมีวิสัยทัศน์ การเข้าใจตลาด เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและที่สำคัญมีความรู้เป็นอาวุธคู่กายเป็นสิ่งที่จำเป็น SCB SME พร้อมช่วยติดอาวุธความรู้ให้ SME กับโครงการอบรมมากมาย รวมทั้งวงเงินสินเชื่อธุรกิจเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างไม่สะดุด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้
-ที่นี่-
อ้างอิง