ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
จับโอกาสนักลงทุนไทย ในตลาดเวียดนาม
นาทีนี้ “เวียดนาม” เป็นคำที่มีมนต์ขลังดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก ด้วยทิศทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างดีมาทั้งตั้งแต่ก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 และคาดการณ์ว่าหลังโควิด-19 เศรษฐกิจเวียดนามก็ยังคงแรงอยู่ต่อไป มาฟังบทวิเคราะห์โอกาสธุรกิจในเวียดนาม โดยดร. สุภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทุกปัจจัยบวกพบได้ในเวียดนาม
ดร.สุภาพรกล่าวว่า ที่ผ่านมา เวียดนามสามารถรับมือโควิด-19 ได้ดี โดยเป็นผลมาจากนโยบายการจัดการรวดเร็วเข้มงวด มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ในการจัดการกฎระเบียบ มาตรการต่างๆ สามารถควบคุมสถานการณ์ ทั้งการล็อคดาวน์ ระงับเที่ยวบินจากต่างประเทศที่มาจากประเทศความเสี่ยงสูง รวมถึงการสืบค้นในเชิงรุกได้เป็นอย่างดี
พร้อมกันนั้น รัฐบาลเวียดนามก็ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ด้วยการใส่เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนภาคครัวเรือน ภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมด้วยเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 2) ชะลอการจ่ายภาษี ลดค่าเช่าพื้นที่ 3) สนับสนุนภาคการเงิน เพื่อนำไปสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเวียดนาม เช่นการลด/ยกเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ลดดอกเบี้ยภาษีนิติบุคคล ให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจ SME ภายในประเทศที่มีจำนวนมาก ซึ่งการกระตุ้นธุรกิจ SME จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วนในประเทศให้ไปต่อได้ และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ความน่าสนใจของเวียดนาม นอกจากข้อได้เปรียบเรื่องจำนวนและโครงสร้างประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมากที่เป็นทั้งตลาดแรงงานและผู้บริโภค ก็คือกฎระเบียบและนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่เวียดนามได้ทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับนานาประเทศ โดยเฉพาะตลาดสำคัญอย่างสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร รวมถึงข้อตกลง ACEP กับ 10 ประเทศอาเซียนและพันธมิตร ซึ่งการทำข้อตกลงการค้าเสรีลักษณะนี้ เป็นส่วนดึงดูดนักลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมาก
โอกาสนักลงทุนไทยอยู่ตรงไหน
สำหรับนักลงทุนไทยได้ไปลงทุนในเวียดนามกันเป็นจำนวนมาก เป็นการลงทุนทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยในปีพ.ศ. 2563 ไทยไต่อันดับลงทุนขึ้นมาเป็นอันดับ 7 จากเดิมที่อยู่อันดับ 9 โดยลงทุนหลายรูปแบบทั้งการลงทุน FDI การเพิ่มมูลค่าโครงการ การซื้อหุ้นบริษัทในเวียดนาม เป็นต้น
ดร.สุภาพรมองว่าโอกาสที่น่าสนใจคือการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งไฟฟ้า ประปา ถนน เพราะประเทศเวียดนามต้องการการลงทุนพัฒนาตรงนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีนักลงทุนไทยมาลงทุนเรื่องพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ การวางท่อ ฯลฯ
พร้อมกันนี้ จากที่เวียดนามมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยคนหนุ่มสาววัยทำงานมีกำลังซื้อสินค้ามากขึ้น และลักษณะสังคมก้าวเข้าสู่ความเป็นเมืองใหญ่ (urbanization) ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป นำมาสู่โอกาสในธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง เช่นซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าไทยด้วย ซึ่งผู้บริโภคเวียดนามเองก็ชื่นชอบสนใจสินค้าไทยว่ามีคุณภาพ ราคาสมเหตุผล เป็นโอกาสของสินค้าอุปโภคบริโภคไทย และ Trading Company นำเข้าสินค้าไทย
ในส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นแพ็คเกจจิ้ง ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต ซอฟต์แวร์ บริหารจัดการ ป้อนอุตสาหกรรมภาคการผลิต ก็มีน่าจับตามองจากการขยายตัวของภาคอุตสหากรรมการผลิต จึงเห็นได้ว่ามีโอกาสให้นักลงทุนไทยในเวียดนามในหลายภาคส่วน
จะลงทุนในเวียดนามต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ดร.สุภาพรแนะนำให้นักลงทุนศึกษาข้อมูลการลงทุน ก่อนเข้ามาในตลาด จะใช้โมเดลธุรกิจที่เคยทำมาแต่เดิมคงไม่ได้ ต้องศึกษาโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดเวียดนาม เพราะก็มีความท้าทายและข้อจำกัดหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของนักลงทุนในหลายภาคส่วน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องศึกษาให้ดี อัพเดทข้อมูลตลอดเวลา ดูว่ามีหน่วยงานไหนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราบ้าง และปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ภาคแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำ ฯลฯ ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์มีข้อมูลต่างๆ สนับสนุนให้นักลงทุน หรือสามารถแนะนำบริษัทที่ปรึกษากฎหมายที่ให้คำแนะนำในเชิงลึก พร้อมอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น ห้องประชุม ข้อมูล Intelligence Data รวมถึงพันธมิตรภาคการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโฮจิมินห์ ซิตี้ ที่ยินดีให้คำปรึกษาข้อมูลการลงทุนและด้วยพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมบริการเรื่องการเงินครบวงจร
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ
สนใจติดต่อได้ - ที่นี่ -
ที่มา : เวียดนาม 2021 โอกาสทางการค้าหลังวิกฤติ Covid-19 ออกอากาศทาง Facebook พลเมืองดีดิจิทัล วันที่ 30 มีนาคม 2564