ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
บริหาร “กงสี” อย่างไร ให้ธุรกิจรุ่ง ครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว
ธรรมนูญครอบครัว คือ กฎกติกามารยาทของครอบครัว และข้อตกลงที่แสดงบทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อธุรกิจและสังคม รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจครอบครัว ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นค่านิยมหลัก วิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นที่ครอบครัวมีต่อธุรกิจ โดยจัดทำข้อตกลงเหล่านี้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสร้างความชัดเจนในการทำให้มีผลบังคับใช้ภายในครอบครัว
การมีธรรมนูญครอบครัว และระบบบริหารธุรกิจครอบครัวที่ชัดเจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ และทำให้สมาชิกครอบครัวได้ทราบถึงหน้าที่และสิทธิของตนเอง เป็นการแยกบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนที่บ้าน และที่ทำงานออกจากกัน ไม่ปะปนกันอย่างมีเหตุมีผล
การบริหารธุรกิจครอบครัวมีความแตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทำให้อาจจะมีเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ ดังนั้นเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น ควรจะมีการวางระบบการทำธรรมนูญครอบครัวไว้ ซึ่งแต่ละครอบครัวก็อาจจะมีธรรมนูญครอบครัวที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ครอบครัวได้เลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดมาสืบทอดกิจการต่อ โดยที่สมาชิกในธุรกิจครอบครัวไม่มีความขัดแย้ง ถึงแม้ธรรมนูญครอบครัวในแต่ละธุรกิจครอบครัวจะมีความแตกต่างกันไป แต่ในภาพรวมธรรมนูญครอบครัวจะมีคณะกรรมการกำกับดูแล และให้แบ่งแยกธุรกิจและครอบครัวออกจากกัน โดยให้สภาครอบครัวดูแลเรื่องของครอบครัว และบอร์ดบริษัทดูแลเรื่องธุรกิจ
โดยองค์รวมคณะกรรมการจะต้องประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือสภาครอบครัว และบอร์ดบริหาร โดยสมาชิกในสภาครอบครัวจะมาจากผู้อาวุโสในครอบครัว ซึ่งจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่สมาชิกในครอบครัวให้ความเกรงใจและยอมรับ สำหรับสมาชิกในบอร์ดบริหารอาจหมายรวมถึงคนนอกเข้ามาร่วมได้ เช่น CEO หรือผู้บริหารที่สมาชิกในครอบครัวยอมรับ ซึ่งจำนวนสมาชิกและการโหวต การออกเสียง ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจครอบครัว บางธุรกิจครอบครัวตัดสินกันที่คะแนนเสียงตัวบุคคล บางธุรกิจครอบครัวก็ตัดสินกันด้วยอัตราหุ้นที่ถือครองอยู่ แต่ทุกธุรกิจครอบครัวจะมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของหลักการสำคัญ ดังนี้
กล่าวโดยสรุป การกำกับดูแลกิจการธุรกิจครอบครัวที่ดี ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารความแตกต่างระหว่างความต้องการของผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นรายย่อย และความแตกต่างระหว่างระบบครอบครัว ที่ต้องบริหารความต้องการที่แตกต่างกันของสมาชิกในครอบครัว และระบบธุรกิจ ที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการรับผิดชอบในการทำธุรกิจ เพื่อความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาว และการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความสมานฉันท์ของครอบครัวให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นครอบครัวที่เติบโตอย่างมีความสุข
บทความโดย :
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC
นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร