ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
อยู่เป็นแบบ Refill station
เคยสงสัยมั้ยว่าขวดน้ำยาทำความสะอาดบ้านอย่าง น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูกพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ เวลาเราใช้หมดแล้วขวดเหล่านี้ถูกเอาไปทิ้งที่ไหน ? ไม่ต้องสงสัยเลยว่าขวดต่างๆ จำนวนมหาศาลจากบ้านหลายล้านครัวเรือนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถลดการใช้ขวดพวกนี้ได้ ? คำถามนี้เป็นที่มาของ “ Refill station” ไอเดียธุรกิจดีๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“Refill station” ธุรกิจจำหน่ายน้ำยาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน คอนเซ็ปต์ของ Refill station คือการให้ลูกค้าพกพาขวดหรือภาชนะมาเลือกสินค้าที่ผ่านการคัดสรรมาแล้วว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็น natural product ไม่ว่าจะเป็นแชมพู สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูกพื้น น้ำยาซักผ้าและปรับผ้านุ่ม ฯลฯ เริ่มจากชั่งน้ำหนักขวดเปล่าที่คุณนำมาเอง จากนั้นเลือกผลิตภัณฑ์ที่หมายตา ปั๊มน้ำยาถ่ายเข้ามาในขวดที่เตรียมมา ชั่งน้ำหนักอีกครั้ง หักเอาน้ำหนักขวดออก จะได้ราคาที่คุณต้องจ่าย
“Refill station” เกิดจากเพื่อน 3 คนที่มีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมร่วมกัน คุณแอน-สุภัชญา เตชะชูเชิด, คุณแพร-ปภาวี พงศ์ธนาวรานนท์ และคุณน้ำมนต์-ชนินทร์ ศรีสุมา ก่อนที่ Refill station จะมีหน้าร้านที่เป็นส่วนหนึ่งของร้านกาแฟ Better Moon café x Refill Station
“Refill station” สามารถดึงคอมมูนนิตี้เรื่อง Zero waste มาไว้ที่เราเลย เราเป็นคนที่ไม่ได้ zero waste เบอร์นั้น ก็คือลดเท่าที่ลดได้ อะไรที่ทำให้รู้สึกลำบากกับชีวิตตัวเองและคนอื่น เราก็อาจจะไม่ได้ทำ เราเจอคนที่เป็น Zero waste ตัวจริงมากมาย ก็ทำให้เราอยากเรียกตัวเองเป็น Low waste shop มากกว่า เพราะมันมีความคาดหวังของการเป็น zero waste พอสมควร”
แต่คุณแอนก็บอกว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นดีมาก เพราะการที่ผู้คนเข้ามาหาเรา เขาได้นำองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาด้วย คนที่เพิ่งเริ่มต้นก็ได้มาเจอคนอื่นๆ แม้ยังติดนิสัยใช้ซัลซิล แต่ก็มีความคิดไม่อยากซื้อขวด ก็มีคนที่ไม่ถึงขนาดเป็นวีแกนหรือออแกนิค แต่เขาอยากช่วยเท่าที่ช่วยได้จริงๆ”
Better Moon café x Refill Station ไม่ให้บริการพลาสติกทุกประเภท ในส่วนของเครื่องดื่มและอาหาร จึงไม่มีภาชนะที่ทำจากพลาสติกอยู่ในร้าน และทางร้านก็ไม่อนุญาตให้นำพลาสติกเข้ามา แต่ทางร้านให้ลูกค้ายืมจานไปซื้ออาหารข้างนอกเพื่อนำเข้ามากินได้ แนวคิดนี้น่าสนใจเพราะมันได้สร้างการรับรู้ให้ชุมชนที่แวดล้อมร้าน ว่าถ้าเห็นคนถือจานสีขาวไปซื้ออาหาร ชุมชนจะรับรู้ว่า “พวกนี้เขาไม่ใช่พลาสติก”
ในอนาคตอันใกล้ Refill Station ตั้งใจจะมีพาร์ทเนอร์ เพื่อขยายแนวคิดและสร้างชุมชนให้กว้างออกไป เพราะพวกเขาเชื่อว่า มีผู้บริโภคที่ต้องการใช้ชีวิตแบบนี้อยู่ไม่น้อย
“ปีนี้อยากมีพาร์ทเนอร์สัก 5-6 ที่ ไม่ต้อง full theme ก็ได้ แค่กำแพงข้างหนึ่งสัก 3-5 เมตร มันก็พอจะมีสเตชั่นให้เติมได้ มีคนติดต่อเข้ามาเยอะมาก เราไม่หวงไอเดีย ใครอยากทำก็ทำได้เลย จะใช้ชื่ออื่นก็ได้ แต่บางคนก็อยากให้เป็น Refill station เหมือนกัน จะได้ถูกจดจำโดยผู้คน เห็นตัว R คนก็รู้ว่าสามารถนำขวดมาเติมได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ใหม่ๆ
“เราอาจช่วยหาซัพพลายเออร์หาของให้เขาได้ หรือเขาจะไปหาของเองก็ได้ หาซัพพลายเออร์ใกล้ชุมชนของเขาเอง เพราะปัญหาหลักของธุรกิจแบบเราคือโลจิสติก มันไม่ใช่วันเวย์ที่ซื้อมาแล้วทิ้งไป เราต้องส่งแกลลอนเปล่ากลับไปให้เขาเพื่อให้เขาเติมน้ำยากลับมา ถ้าเราได้วอลุ่ม ถ้ามีสาขาเพิ่ม จากที่เคยสั่งทีละ 10 ลิตร เราสั่ง 50 ลิตร มันจะถูกลง”
การจะซื้อแชมพูสักขวดสามารถซื้อที่ไหนก็ได้ แต่ ‘ความคิด’ หรือ ‘ทางเลือก’ ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ อย่างไรก็ดี ในอนาคต เมื่อ Refill station ได้ขยับขยายไปทั่วทุกหนแห่ง แนวทางของ Refill Station จะกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้มาลองซื้อหาอย่างแน่นอน
Facebook : https://www.facebook.com/refillstationbkk/