ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
วิถีแห่ง CEO ยกระดับ Mindset ในปริบทโลกที่ไม่เหมือนเดิม
ความท้าทายของผู้นำในยุคนี้ คือ การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจสังคม เทคโนโลยี ภัยธรรมชาติและโรคระบาด องค์กรใดที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง มองเห็นโอกาสท่ามกลางความไม่แน่นอน ย่อมเปรียบเสมือนมี GPS นำพาองค์กรไม่ให้หลงทิศ เดินผิดทาง ผู้นำองค์กรควรมี Mindset อะไร มีคุณสมบัติแบบไหน ที่จะฟันฝ่ากับความเปลี่ยนแปลงในปริบทโลกที่ไม่เหมือนเดิมได้ โครงการ NIA|SCB Innovation Based Enterprise (IBE) รุ่นที่ 3 Disruptive Business Innovation โดย สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดอบรมเพื่อผู้ประกอบการ SME เน้นการเรียนรู้ผ่าน Project-based learning โดยมี คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม
SWEET SPOT โค้ดลับสู่เส้นทางความสำเร็จ
คุณอภิวุฒิกล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่
การที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยข้างต้น โดยต้องมา Intersect กันจนเกิดเป็น SWEET SPOT ที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น ถ้าหากอยากให้ตัวเรา ธุรกิจเรา ประสบความสำเร็จจะต้องกลับไปดูว่าเรามี Mindset เป็นอย่างไร มี Skill Set ที่เพียงพอหรือไม่ มีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้อย่างไร ซึ่งในวันนี้คุณอภิวุฒิจะพูดเจาะในเรื่องของ Mindset เป็นหลัก โดยใช้วิธีการเรียนรู้ผ่าน Case Study เพื่อให้ผู้เข้าอบรมช่วยกันวิเคราะห์ เพราะการทำธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ดังนั้นอาจมีแนวทางอะไรบางอย่างให้ศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเข้ากับธุรกิจที่ทำได้ จากการที่ปริโลกเปลี่ยนไป หลายสิ่งหลายอย่างไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจหรือการทำงานในทุกวันนี้แตกต่างจาก 5 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก
โบกมือลางานประจำ ก้าวสู่ Gig Workforce
ในอนาคตบริษัทไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของพนักงานแบบถาวร บริษัทเป็นเพียงเจ้าของ (นายจ้าง) ชั่วคราว ที่เรียกว่า Gig Workforce คุณอภิวุฒิยกตัวอย่างว่า สมัยก่อนการจ้างงานเจ้าของบริษัทจะไม่ชอบให้พนักงานลาออกหรือมีงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานประจำ เพราะอยากเป็นเจ้าของพนักงานตลอดไป แต่ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไป พนักงานรุ่นใหม่ไม่อยากอยู่กับบริษัทแบบถาวร ดังนั้นพนักงานมักจะมีอาชีพที่ 2 ที่ 3 ทำให้มีบางบริษัทอาจจ้างงาน 3 วันแล้วอีก 2 วัน พนักงานจะไปทำงานอะไรก็ได้ที่อยากทำ อย่างเด็กรุ่นใหม่อยากจะมีธุรกิจของตัวเอง เช่น เป็น Startup, Youtuber, ขายออนไลน์ แต่ก็ยังอยากมีรายได้ที่มั่นคง และอยากมีเวลาไปทำงานอย่างอื่น ก็จะทำงานในรูปแบบ Gig Workforce ซึ่งต่างกับ Freelance ที่จ้างงานเป็นชิ้นแล้วจบไป แต่ Gig Workforce เป็นมากกว่า Freelance คือ ทำงานคล้ายกับพนักงานประจำที่รู้ใจ มีการจ้างงานต่อเนื่องเหมือนการผูกปิ่นโตถาวร แต่ก็มีเวลาให้พนักงานออกไปทำงานอย่างอื่นได้ด้วย ในปัจจุบันเริ่มเห็นการทำงานแบบ Gig Workforce มากขึ้น ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจะต้องเข้าใจว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พนักงานรุ่นใหม่มีแนวคิดอย่างไร การจ้างงานแบบใหม่เป็นอย่างไร เพราะเจ้าของธุรกิจจะต้องเปิดตา เปิดหู เปิดใจ ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปทางไหน
Change VS Transformation ต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันมักได้ยินคำว่า Transformation แล้วต่างกับคำว่า Change อย่างไร? คุณอภิวุฒิกล่าวว่า Change คือ การเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในโลกแบบเดิม เช่น ธนาคารเปลี่ยนจากการให้บริการที่สาขามาให้บริการผ่าน Mobile Banking เป็นการเปลี่ยนช่องทางแต่ให้บริการแบบเดิม ขณะที่ Transformation เป็นการเปลี่ยนรูปแบบองค์กร เช่น SCB X เป็นการ Transformation เปลี่ยนรูปแบบธนาคารให้เป็นยานแม่ แต่ยังอยู่ในธุรกิจเดิมคือการเป็นตัวกลาง แต่บริษัทลูกของ SCB X ไม่ใช่การ Transformation แต่เป็นขั้นกว่าที่เรียกว่า Game Changer คือ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการเล่น เปลี่ยนวิธีการเล่น เปลี่ยนวิธีการคิด เช่น สมัยก่อนต้องมีกล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ มี iPod แต่พอมีมือถือ iPhone ก็เปลี่ยนรูปแบบโทรศัพท์ให้รวมทุกสิ่งอยู่ในมือถือ นี่คือ Game Changer นอกจากนี้ยังเปลี่ยน Feature มือถือที่แต่ก่อนมาจากโรงงานผลิต แต่ iPhone มี App Store ที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยน Feature โทรศัพท์ให้เป็นมากกว่ามือถือได้ อันนี้ก็เป็น Game Changer
อีกตัวอย่าง ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา Business Model คือ การขายคอนเท้นต์ แต่ถ้าเปลี่ยนจากการสอน Offline เป็น Online ถือว่าเป็นการ Change เพราะยังขายคอนเท้นต์อยู่ แต่แค่เปลี่ยนช่องทาง หรือถ้ามีการปรับเป็นการสร้างคอนเท้นต์เพื่อขายหรือรับออกแบบคอนเท้นต์จะถือว่าเป็นการ Transform เพราะเปลี่ยนรูปแบบการบริการแต่ก็ยังใช้ Business Model เดิมอยู่ แต่ Khan Academy ไม่เหมือนกัน ทำโรงเรียนกวดวิชาออนไลน์ ผลิตคอนเท้นท์แต่ไม่ขายคอนเท้นท์ โดยเปลี่ยน Business Model ใหม่ หารายได้จาก Subscription, โฆษณา อันนี้ถือว่าเป็น Game Changer เพราะคิดวิธีเล่นใหม่ เปลี่ยนวิธีการใหม่ เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงการถูก Disruption ไม่ได้เกิดจากการ Change หรือ Transform ของคู่แข่งหรือบริษัทอื่น แต่มาจากการถูก Game Changer จาก Business Model ใหม่ ดังนั้น ในการทำธุรกิจสิ่งที่ต้องระวัง คือ ธุรกิจของเรามี Game Changer บ้างหรือเปล่า มี Business Model ใหม่เกิดขึ้นบ้างไหม ที่จะมาเปลี่ยนวิธีการหาเงินของเรา และนอกจากการ Change การ Transform ธุรกิจแล้ว เจ้าของธุรกิจอาจต้องมองหาโอกาสที่จะเป็น Game Changer แม้ว่าจะยากแต่ถ้าสามารถทำได้ ก็จะกลายเป็นผู้คุมเกมโดยไม่ต้องต่อสู้ในเกมอีกต่อไป
Case Study: วิธีทำธุรกิจ FOREVER21 vs Reformation
FOREVER21 : จุดเริ่มต้นมาจากสองสามีภรรยาชาวเกาหลีใต้ที่อพยพมาอยู่อเมริกา ช่วงแรกทั้งสองหาเงินด้วยการใช้แรงงาน จนพวกเค้าสังเกตว่าคนรวยส่วนใหญ่จะทำธุรกิจเสื้อผ้า สองสามีภรรยาเลยนำเงินก้อนไปลงทุนทำธุรกิจเปิดร้านขายเสื้อผ้านำเข้าจากเกาหลีชื่อ Fashion21 ที่เมืองลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย จากนั้นปี 1987 เปลี่ยนชื่อเป็น FOREVER21 ช่วง 10 ปีแรกของธุรกิจเจริญเติบโตอย่างมาก สามารถขยายได้ 40 สาขา วิธีการทำธุรกิจ คือ เน้นขยายสาขา ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ขายเสื้อผ้าราคาถูก เป็น Fast Fashion ที่เปลี่ยนสไตล์เร็ว ใช้พนักงานจำนวนมาก ปี 2005 มียอดขายปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2006 เปิดสาขาขนาด 4 หมื่นตารางฟุต ปี 2010 ขยายธุรกิจไปต่างประเทศและในช่วงนั้นธุรกิจออนไลน์เริ่มเข้ามาทำให้ได้รับผลกระทบจึงเริ่มมีช่องทางขายออนไลน์ แต่ก็ยังเน้นการขยายสาขาต่อ และเก็บสต๊อกสินค้าจำนวนมาก ปี 2018 ต้องลดจำนวนสาขา ปี 2019 ปิดสาขาทั่วโลกและเข้าสู่การล้มละลาย
Reformation:
จุดเริ่มต้นธุรกิจมาจากผู้หญิงชื่อ Yael Aflalo ที่อยากทำธุรกิจแฟชั่นที่มีความยั่งยืน (Sustainable Fashion Business) เนื่องจากไปเมืองจีนแล้วเห็นว่าธุรกิจสิ่งทอมีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากจุดนี้ทำมองเห็นโอกาส สร้าง Positioning ใหม่เป็นธุรกิจแฟชั่นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แนวคิดการทำธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ดังส่วนใหญ่จะคล้ายกัน คือ ร้านค้าต้องมีขนาดใหญ่ มีเสื้อผ้าให้เลือกทุกสีทุกขนาด มีสาขาจำนวนมาก มีช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์ที่แยกจากกัน แต่ Reformation คิดต่าง วิธีการทำธุรกิจ คือ ไม่เน้นขนาดของสาขาหรือต้องมีสาขาจำนวนมาก ไม่ต้องมีเสื้อผ้าในร้านให้ลูกค้าเลือกทุกสีทุกขนาด และใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้าง User Experience ที่ดีแก่ลูกค้า โดยใช้ Online ควบคู่ Offline เพื่อแก้ Pain Point ของคนซื้อเสื้อผ้า Online ที่ไม่สามารถสัมผัสเนื้อผ้าจริงหรือลองสวมใส่ได้ ขณะที่คนซื้อ Offline ต้องเสียเวลาเดินทางมาที่ร้าน ตัวอย่าง ลูกค้าเข้ามาในร้านจะมีเพียงแบบเสื้อบางขนาดให้ดูรูปแบบ การตัดเย็บ สัมผัสเนื้อผ้า เมื่อลูกค้าสนใจจะให้เลือกทางออนไลน์จากจอขนาดใหญ่ในร้าน เมื่อกดเลือกสินค้าแล้ว ร้านจะจัดห้องลองโดยแขวนเสื้อผ้าเตรียมไว้ในตู้เสื้อผ้าตามแบบ สี และขนาดที่เลือก สำหรับห้องลองจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เน้นห้องขนาดใหญ่ มีเพลงให้เลือกฟัง สามารถปรับแต่งแสงไฟทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อให้เข้ากับเวลาที่สวมใส่ชุด หากลูกค้าลองแล้วไม่พอใจสามารถเลือกใหม่ได้ทางออนไลน์ แล้วพนักงานก็จะนำแบบที่เลือกมาแขวนไว้ในตู้เสื้อผ้า โดยตู้เสื้อผ้าสามารถเปิดได้ทั้งสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานนำเสื้อมาแขวนให้ลูกค้าทันที อีกฝั่งลูกค้าเปิดเพื่อหยิบเสื้อมาลอง โดยตู้เสื้อผ้าจะใช้เทคโนโลยีควบคุมการเปิด-ปิดไม่ให้ทั้งสองฝั่งเปิดพร้อมกันได้ เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อก็สามารถจ่ายเงินออนไลน์ได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องเจอพนักงาน จากการคิดต่างทำให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ที่มีฟีลลิ่งของการซื้อ Online ควบคู่ Offline ทำให้มียอดขายเติบโตแบบก้าวกระโดดและกลายเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในอเมริกา คุณอภิวุฒิกล่าวว่า จะเห็นได้ว่า Reformation เปลี่ยนวิธีการคิด เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ เปลี่ยนเกมในการเล่น ฉะนั้นคนที่ทำธุรกิจแฟชั่นจะต้องจับตามองว่า Reformation จะกลายเป็น Game Changer ในตลาดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ จาก Case Study วิธีทำธุรกิจของ FOREVER21 vs Reformation เห็นได้ว่าความสำเร็จแบบเดิม ๆ ไม่อาจการันตีผลสำเร็จได้อีกต่อไป ดังนั้นการทำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จควรมี 3 ปัจจัยนี้
SAT Leader vs ACT Leader
SAT Leader คือ ผู้นำแบบเก่า (Traditional) ใช้กลยุทธ์บริหารงานโดยที่เน้นกลยุทธ์การเติบโต (Size) เช่น ยอดขาย, ขนาดองค์กร, จำนวนสาขา เป็นต้น ผู้นำชอบออกคำสั่งมีอำนาจตัดสินใจแบบรวมศูนย์ (Authority) ขณะที่วัฒนธรรมองค์กรจะต่างคนต่างทำงาน ชอบปัดแข่งปัดขากัน และจมอยู่กับความสำเร็จเดิม ๆ (Toxic)
ACT Leader
คือ ผู้นำร่วมใหม่
(Contemporary)
ใช้กลยุทธ์บริหารงานแบบผสมผสาน ผู้นำจะสื่อสาร อธิบายเป้าหมาย กลยุทธ์ให้พนักงานทุกคนเข้าใจ เพื่อเห็นภาพร่วมกัน (Articulate) เน้นการสร้างความร่วมมือหรือมีพันธมิตรธุรกิจ (Connect) เพราะยุคนี้เก่งคนเดียวไม่รอดต้องร่วมมือกับคนอื่น ขณะที่วัฒนธรรมองค์กรจะต้องสร้างความไว้วางใจ เชื่อใจในการทำงาน (Trust) ต้องเชื่อใจลูกน้องเพื่อให้แก้ปัญหาหรือตัดสินใจ
6 คุณสมบัติที่ผู้นำควรต้องมี
ผู้นำในยุคนี้หากอยากจะประสบความสำเร็จ จะต้องเปลี่ยนจากการเป็น SAT Leader สู่ ACT Leader ให้ได้ เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีหูตาที่กว้างไกล ทันต่อสถานการณ์ มีวิสัยทัศน์ คิดกลยุทธ์ใหม่ สื่อสารชัดเจน ชี้เป้าหมายให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีความไว้วางใจให้ลูกน้องสามารถแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ มีพันธมิตรธุรกิจที่เข้มแข็ง พร้อมจับมือก้าวสู่ความสำเร็จด้วยกัน และนี่คือบทสรุป Mindset ของผู้นำยุคใหม่ที่ต้องมี
ที่มา : โครงการ NIA|SCB Innovation Based Enterprise (IBE) รุ่นที่ 3 Disruptive Business Innovation โดยคุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา บริษัท SLINGSHOT วันที่ 7 ธันวาคม 2564