ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
โรบินฮู้ดไรเดอร์: เบื้องหลังกว่าจะเป็นสุภาพบุรุษส่งสุดซอย
ท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวและฝุ่นควันบนท้องถนน ภาพกลุ่มคนขับมอเตอร์ไซด์ส่งอาหารกลายเป็นภาพที่คุ้นตาของผู้คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “โรบินฮู้ดไรเดอร์ ” ในเสื้อแจ๊กเก็ตเหลืองแถบม่วง ที่พร้อมวิ่งงานในทุกช่วงเวลา ไม่เว้นชั่วโมงเร่งด่วน หรือยามค่ำคืนแห่งการพักผ่อน เพราะงานของพวกเขาไม่ใช่แค่การวิ่งส่งอาหาร แต่เป็นบริการที่จะส่งความประทับใจ ความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้มีความสุขกับการรับประทานอาหาร
แต่กว่าจะมาเป็นสุภาพบุรุษส่งสุดซอยได้นั้น ไรเดอร์ของโรบินฮู้ดล้วนผ่านการฝึกฝนให้มองเห็นคุณค่าของงานที่ไม่เพียงเป็นการมีรายได้ แต่เป็นความภาคภูมิใจ คุณค่าของชีวิตที่ได้รับการยอมรับ สามารถยืนหยัดเป็นที่พึ่งของคนที่พวกเขารักและห่วงใย อีกทั้งยังได้ทำประโยชน์ให้กับร้านค้า
และนี่คือเบื้องหลังกว่าจะมาเป็น
“โรบินฮู้ดไรเดอร์”
กฎ 3 ท. ทักทาย-ทบทวน-แท้งค์กิ้ว
แม้ไรเดอร์ที่พบเห็นส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีผู้หญิงในวงการไรเดอร์
“เบญ” วิลาวัลย์ กล้าพังเทียม
เป็นหนึ่งในไรเดอร์สาวของโรบินฮู้ดที่มีความรักในอาชีพนี้อย่างแรงกล้า
“เคยขับส่งอาหารของค่ายอื่นมาก่อน รู้ข่าวก็มาอบรมแล้วลองขับกับโรบินฮู้ด ที่ดีกว่าค่ายอื่นคือเราไม่ต้องสำรองเงินก่อน ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องเงินกับลูกค้า แล้วเราก็ได้เงินเร็ว เพราะมีรายได้เข้ามาทุกวันที่เราทำงาน”
เบญเล่าถึงจุดเริ่มต้นชีวิตและข้อดีของการเป็นโรบินฮู้ดไรเดอร์ว่า “ก่อนที่วิ่งงานจริง ที่โรบินฮู้ดมีการอบรมให้เรารู้ถึงความสำคัญของการบริการลูกค้า ซึ่งที่อื่นไม่มีอบรมอย่างนี้ เรื่องที่อบรมหลักๆ เลยคือ ‘กฎ 3 ท.ทักทาย-ทบทวน-แท้งค์กิ้ว’ ทักทายลูกค้าให้ประทับใจเรา แล้วก็ทักทายร้านค้า ให้เรารู้ว่าหน้าที่ในการรออาหาร จะรอนานแค่ไหนก็ต้องรอ และเมื่อเราสุภาพมีมารยาท ร้านค้าก็เอ็นดูมีน้ำใจกับเรา เอาน้ำมาให้เราระหว่างรอ”
เบญเล่าถึงความละเอียดของการเทรนนิ่งกว่าจะเป็นไรเดอร์ของโรบินฮู้ดว่า “โรบินฮู้ดอบรมเราทุกอย่างตั้งแต่การแต่งตัว เอาอาหารใส่กล่อง ไม่ให้ห้อยหรือแขวนกับแฮนด์มอเตอร์ไซด์ เพื่อความปลอดภัยของอาหาร และดูดีในสายตาลูกค้า”
เบญวิ่งงานกับโรบินฮู้ดมาได้ 4 เดือนแล้ว รายได้จากการวิ่งงานแบ่งเบาภาระของแม่ที่เป็นเสาหลักของครอบครัวที่มีกันอยู่ 5 ชีวิตได้
“หนูวิ่งแบบพาร์ทไทม์ ตั้งแต่ประมาณ 11 โมง – บ่าย 3 เพราะต้องไปช่วยแม่ขายส้มตำตอนเย็นที่เปิดขายผ่านแอปโรบินฮู้ด” เบญเล่าว่าแม้วิ่งงานเพียงวันละ 5 ชั่วโมง แต่เงินจากการวิ่งงานก็ได้มากพอที่จะซื้อข้าวของเข้าบ้าน ซื้อขนมให้ลูกทั้งสองคน รวมถึงน้องที่เป็นเด็กพิเศษ
“จากตอนแรกที่หนูไม่ได้ช่วยอะไรแม่เลย ก็รู้สึกแย่ พอมาได้ขับรถ รู้สึกดีที่มีเงินมาช่วยเหลือแม่บ้าง”
ร้านส้มตำของแม่เบญเองก็อยู่บนแอปโรบินฮู้ด ชื่อร้านส้มตำป้านัน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 107 ซึ่งเบญก็อยากฝากร้านส้มตำของแม่กับลูกค้าของแอปโรบินฮู้ดด้วย
“โรบินฮู้ดได้ช่วยเหลือร้านค้าที่เป็นร้านเล็กที่อยู่ตามตรอกซอยจริงๆ และไรเดอร์วิ่งงานโรบินฮู้ดหลายๆ คนก็ได้มีรถ มีบ้าน มีอนาคตที่ดีขึ้น ยิ่งในช่วงโควิดอย่างนี้ มันช่วยอะไรได้เยอะมาก”
ไม่ใช่แค่การส่งอาหาร แต่เป็นการส่งต่อความสุข
“ผมเคยสมัครวิ่งของทุกค่าย แต่เขาไม่รับ เพื่อนแนะนำให้มาสมัครกับโรบินฮู้ด ก็มาสมัครและได้วิ่งกับโรบินฮู้ดมาถึงทุกวันนี้”
“เอ็ม” สนธิกานต์ แดงชาคร
พูดถึงการมาร่วมทีมโรบินฮู้ดไรเดอร์ด้วยน้ำเสียงกระตือรือร้น
“ผมวิ่งงานตั้งแต่วันแรกที่แอปเปิดบริการเลย ก่อนขับจริงมีอบรมให้ไรเดอร์เรียนรู้การบริการลูกค้า เช่นหลัก 3 ท. จากสิ่งที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าประทับใจ สอนว่างานของเราไม่ใช่แค่การส่งอาหาร แต่เป็นการส่งความสุข ร้านค้าก็มีความสุข ลูกค้าก็มีความสุข แล้วพอเอาสิ่งที่ได้อบรมมาใช้ ก็ได้การตอบรับจากลูกค้าดี เห็นเลยว่าลูกค้ามีความสุขจากการบริการที่สุภาพของเรา”
นอกจากนั้น การเป็นไรเดอร์ยังทำให้เอ็มรู้จักแบ่งปันคนอื่นอีก
“บางทีร้านค้าและลูกค้าให้ของกินเรา ผมวิ่งโรบินฮู้ดมีรายได้ แต่คนที่เค้ายากจนกว่าผมก็มี ผมก็เอาไปแจกต่อครับ เป็นการส่งต่อน้ำใจให้กัน เราเองก็ดีใจที่งานของเรามีส่วนทำให้คนมีความสุข”
เอ็มวิ่งงานทั้งวันตั้งแต่ 8 โมง – 3 ทุ่ม ซึ่งเงินที่ได้ก็มากพอและเป็นรายได้หลักในการดูแลภรรยา – ลูกสองคน
“ผมอยากขอบคุณโรบินฮู้ดที่ให้โอกาสผมได้มาทำงานมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้ ผมภูมิใจที่ได้มาวิ่งงานกับโรบินฮู้ด และ
อยากให้ทุกคนที่สนใจอยู่ มาลองดูครับ เพราะแอปนี้ให้โอกาสเราทุกคน ช่วยเหลือคนในสังคม”
การส่งต่อประสบการณ์จากไรเดอร์ด้วยกันเอง
นอกจากการเป็นไรเดอร์วิ่งงานเดลิเวอรีแล้ว แอปโรบินฮู้ดยังมีโครงการ “เดอะเทรนเนอร์” เปิดโอกาสให้ไรเดอร์ประสบการณ์สูงได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ แชร์ปัญหาที่ได้พบเจอหน้างานและวิธีแก้ไขให้กับไรเดอร์น้องใหม่
“แทน” ชัยสันติ สิงห์ชาติ
ก็เป็นหนึ่งในไรเดอร์ที่ได้ขึ้นมาเป็นเดอะเทรนเนอร์
“
ผมชอบมองหาโอกาสใหม่ๆ และเมื่อแอปโรบินฮู้ด เปิดโอกาสให้เรามาทำตรงนี้ เราก็อยากใช้ประสบการณ์ที่วิ่งงานมาช่วยไรเดอร์คนอื่น”
สิ่งที่เดอะเทรนเนอร์ทำคือการแชร์ประสบการณ์ วิธีแก้ปัญหาหน้างาน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ให้กับไรเดอร์มือใหม่ ซึ่งนอกจากจะสร้างมาตรฐานบริการของโรบินฮู้ดไรเดอร์แล้ว ยังทำให้กลุ่มโรบินฮู้ดไรเดอร์มีความเหนียวแน่น เป็นสังคมน่าอยู่ที่เปี่ยมด้วยมิตรภาพ ไรเดอร์ต่างช่วยเหลือกันและกัน เจอกันที่ไหนก็ทักทายกันได้
สำหรับอนาคตกับแอป โรบินฮู้ด แทนมองว่า “หนึ่งปีที่ผ่านมา โรบินฮู้ดเติบโตมาได้ขนาดนี้ อนาคตก็ต้องไปต่อได้ เราก็จะไปกับโรบินฮู้ดและพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ” สุดท้ายแทนอยากบอกคนที่กำลังตัดสินใจที่จะมาวิ่งงานกับโรบินฮู้ดว่า “
ถ้าเราไม่กล้าค้นหาอะไรใหม่ ก็จะไม่รู้ว่าตรงนี้เป็นอย่างไร ผมมั่นใจว่าแอปโรบินฮู้ด จะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และมีโอกาสให้คนที่สนใจเข้ามาร่วมทำงานและเติบโตไปด้วยกัน”
นอกจากนี้ แทนยังบอกสาเหตุที่เลือกวิ่งงานกับโรบินฮู้ดว่า “
ผมอยากได้อะไรใหม่ อยากได้อะไรที่เป็นของคนไทย แล้ววิ่งโรบินฮู้ดก็รู้สึกอิสระดี ไม่เหนื่อยมากเหมือนตอนที่ต้องวิ่งเป็นกะกับแอปเจ้าอื่น และโรบินฮู้ดก็มีการอบรมความรู้ให้ไรเดอร์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ลูกค้าประทับใจและจดจำบริการของเรา ต่างจากแอปอื่นที่เรารู้สึกว่ายังเข้าไม่ถึงความเป็นงานบริการจริงๆ” แทนกล่าว
ถ้าอยากได้รับเกียรติ ต้องเป็นผู้ให้เกียรติคนอื่นก่อน
“พี่โต” เฉลิมชัย โตวิสิทธิ์
อีกหนึ่งไรเดอร์ที่มาเป็นเดอะเทรนเนอร์ กล่าวด้วยความภูมิใจว่า "การเป็นแอปเล็กๆ ไม่เก็บค่า GP ดีอย่างไร ไรเดอร์ได้อะไร นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึก และสามารถถ่ายทอดได้อย่างไม่เคอะเขิน เพราะมีมุมมองที่เปลี่ยนความรู้สึกของผมได้จริงๆ ซึ่งเพื่อนๆ ไรเดอร์ก็สามารถรู้สึกแบบนี้ได้ ตอบตัวเองได้ว่าทำไมอาชีพไรเดอร์ต้องทำแบบนี้ ทำแล้วจะรู้สึกอย่างไรนอกจากรายได้ที่จะได้รับ"
ปัจจุบันนอกจากพี่โตจะเปลี่ยนมาวิ่งงานกับโรบินฮู้ดเต็มตัว และมาช่วยอบรมไรเดอร์รุ่นน้องแล้ว พี่โตยังเป็น Zone Lead ที่คอยดูแลช่วยเหลือไรเดอร์ในเขตพระนคร สัมพันธ์วงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่ายด้วย ไม่ว่าไรเดอร์รถเสีย น้ำมันหมด ยางแตก พี่โตก็จะมีทีมงานเข้าไปช่วยดูแลให้
“ไรเดอร์คืองานให้บริการอย่างหนึ่ง สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อยากให้มองว่าร้านค้าต้องพึ่งไรเดอร์ แต่ไรเดอร์เองก็ต้องพึ่งร้านค้าด้วย ต้องสะสมมิตรภาพ สร้างความไว้วางใจกัน”
พี่โตเล่าถึงการอบรมไรเดอร์ โรบินฮู้ดให้ฟังว่า ที่นี่จะสอนแบบกันเอง เหมือนการพูดคุยกันระหว่างเพื่อนร่วมอาชีพ เนื้อหาหลักๆ จะเน้นเรื่องมารยาท การดูแลอาหารให้ถึงมือลูกค้าในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงการแชร์ประสบการณ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งการอมรมแบบเจอตัวกันจะส่งต่ออารมณ์และความรู้สึกได้ดีกว่า สามารถซักถามข้อสงสัยได้ตลอด ต่างจากอบรมออนไลน์ที่เวลาจำกัด ต้องจำเอง สงสัยก็ถามไม่ได้
ส่วนการเน้นย้ำมารยาท ถือเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับงานไรเดอร์ หากไรเดอร์ทำในสิ่งที่เป็นมาตรฐานหลักของงานได้ ก็จะได้รับความรู้สึกดีๆ กลับมา ไม่ว่าจะเป็นคำชมจากร้านค้า ลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่โตบอกว่ามีค่ามากกว่าค่าวิ่ง
“ถ้าคุณอยากได้เกียรติ คุณก็ต้องให้เกียรติก่อน” พี่โตบอก
ส่วนใครที่กำลังตัดสินใจเป็นไรเดอร์พี่โตฝากไว้ว่า "
ต้องเข้าใจเงื่อนไขของอาชีพในการมารออาหารแทนลูกค้า อย่ามองว่าเป็นปัญหา เพราะถ้าลูกค้าฝ่ารถติดมารออาหารเองได้ อาชีพเราไม่มี ถ้ารับได้ ก็มีความสุข”
เพื่อนที่พร้อมวิ่งงานไปกับคุณ
การทำงานของไรเดอร์โรบินฮู้ดจะมีทีมหลังบ้านที่คอยขับเคลื่อนและสนับสนุนงานอยู่ด้วย โดยทีมที่เรียกได้ว่าใกล้ชิดกับไรเดอร์ที่สุดก็คือทีมฝึกอบรมของ
“อ๊อฟ” กฤษณะ ยอมใจอยู่
และอีกส่วนงานก็คือ
“การ์ด” พรปวีรณ์ สุขนิวัตรศิริ
หนึ่งในทีมงานหลังบ้านที่คอยสื่อสารกับไรเดอร์ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ทั้งการเปิดรับสมัคร การเปิดอบรมไรเดอร์ การออกโปรโมชัน และบริการใหม่ๆ
อ๊อฟได้รับทาบทามมาเป็นเทรนด์เนอร์โรบินฮู้ดเพราะมีประสบการณ์ด้านการอบรม แต่ไม่เคยสั่งอาหารเดลิเวอรีมาก่อน พอต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของทีมโรบินฮู้ด ทำให้มีโอกาสไปสัมผัสการวิ่งงานจริงกับไรเดอร์ จนกระทั่งเกิดเป็นความประทับใจ อ๊อฟบอกว่า “สังคมคนขับเป็นสังคมที่เป็นมิตรภาพ ถ้าเราให้ใจกับเขา เขาก็พร้อมจะให้ใจกลับมา เราจึงต้องใส่ใจเขามากๆ เข้าใจในงานของพวกเขา เราอยากเป็นคนๆ นั้นที่ไรเดอร์มีปัญหาแล้วเข้ามาถามได้ เวลาผมสอน ผมจะคุยกันเหมือนเพื่อนที่พร้อมให้คำตอบทุกอย่างที่เค้าอยากรู้ เพื่อให้ปัญหาของเค้าได้รับการแก้ไข”
เนื่องจากโรบินฮู้ดเป็นฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ เข้ามาในตลาดทีหลัง จึงต้องสร้างความแตกต่างด้วยการบริการ จึงให้ความสำคัญกับการอบรมไรเดอร์เป็นอย่างมาก โดยต้องเป็นการอบรมแบบเจอตัวเท่านั้น เพื่อให้ไรเดอร์ซึมซับจิตวิญญาณการบริการให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญคือการปลูกฝังว่าทั้งโรบินฮู้ด ร้านค้า และไรเดอร์ ทุกคนคือทีมเดียวกัน แม้ต่างคนต่างทำหน้าที่ แต่ทุกหน้าที่ของแต่ละคนก็คือการรักษามาตรฐานในการทำงานของตนเอง ช่วยกันรักษาและดูแลลูกค้า ถ้าลูกค้าประทับใจ นอกจากการมีรายได้แล้ว ก็จะเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำด้วย
“เราอยากให้ไรเดอร์มั่นใจว่า คุณไม่ได้วิ่งงานอยู่คนเดียว ทุกคนวิ่งงานและรับงานไปพร้อมๆ กับคุณ ทุกคนคอยซัปพอร์ตคุณ เพื่อให้คุณปิดงานนั้นๆ ได้”
นอกจากดูแลช่องทางสื่อสารกับไรเดอร์แล้ว การ์ดยังทำงานร่วมกับไรเดอร์ที่เป็น Zone Lead ด้วย การ์ดเล่าความประทับที่ได้เห็นไรเดอร์นำภาพน้ำใจที่ได้รับจากการทำงานมาโพสต์เล่าสู่กันฟังในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำใจ หรือคำชมจากร้านค้า และลูกค้า ซึ่งการ์ดเห็นแล้วก็รู้สึกดีตามไปด้วย “เหมือนสิ่งที่เราสื่อออกไป เค้ารับสารและนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้คนชื่นชมและรู้จักโรบินฮู้ดมากขึ้น การที่ลูกค้ารู้สึกดีที่ไรเดอร์บริการดี เราก็มีความสุขไปด้วย”
“เราอยากให้คุณทำงานกับเราได้นานๆ เลี้ยงครอบครัวได้ ภูมิใจและอยู่กับเราอย่างมีความสุข อย่ามองเราเป็นคนอื่น ให้มองว่าเราคือคนที่พร้อมวิ่งงานไปกับคุณ จะเข้ามากี่ครั้งก็ได้”