ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ส่องการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญบนโลกการเงินของกัมพูชา
ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดมายาวเวลานานกว่า 2 ปี และมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นแทนที่สายพันธุ์เดิม ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ภาคธุรกิจทั่วโลกต่างนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้ว่าเรากำลังอยู่ท่ามกลางการล็อคดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุดแต่เศรษฐกิจจะต้องไม่หยุดชะงัก เข้าสู่โหมดการดำเนินธุรกิจวิถีใหม่ (New normal)
ในประเทศกัมพูชา 90% ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนำมาใช้ในยุคต้นของการฟื้นตัวจากสงคราม แต่ส่งผลให้คนกัมพูชาไม่นิยมใช้เงินสกุลเรียลซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ปัจจุบันกัมพูชากลายเป็นประเทศที่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เกือบจะมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุผลหลักคือไม่ต้องการพกเงินสดทีละปริมาณมากๆ การมีช่องทางชำระเงินดิจิทัลจึงเป็นทางออกให้ประชาชนลดการพกพาเงินสดปริมาณมาก เลี่ยงการสัมผัสเงินสด และคาดหวังว่าจะสามารถรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้เงินเรียลได้มากขึ้น อีกทั้งกัมพูชาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการปรับรูปแบบการค้าจากเดิมที่มีการขายของหน้าร้าน เพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และบางรายการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จนสามารถเป็นรายได้หลักให้กับครอบครัวได้ การเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินจากเดิมซึ่งเป็นเงินสดมาเป็นระบบดิจิทัล จึงเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยให้กับผู้ใช้รายย่อย และช่วยลดบทบาทของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ลง
สำหรับระบบการรับชำระเงินดิจิทัลของกัมพูชา เรียกว่า “บากอง” เป็นระบบการรับชำระเงินที่อยู่บนบล็อคเชน ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังการชำระเงินของประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานข้ามชาติของกัมพูชาได้รับความสะดวกสบายในการโอนเงินกลับบ้าน และส่งเสริมให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น แทนการพึ่งพิงเงินดอลลาร์ เป็นสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency : CBDC) ไม่ว่าจะออกโดยประเทศใดก็เป็น CBDC ของประเทศนั้นๆ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูงสุดมาเป็นตัวช่วยในการโอนย้ายความเป็นเจ้าของ ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่แห่งนวัตกรรมทางด้านการเงิน เพราะจะช่วยให้คนทั่วไปได้รับประโยชน์สูงสุด
จุดเด่นของ CBDC ก็คือเป็นค่าเงินที่มีความผันผวนต่ำมากๆ และไม่สามารถนำไปเก็งกำไรได้ ซึ่งแตกต่างจาก คริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency) เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นต้น ซึ่งออกโดยเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไรโดยเฉพาะ วัตถุประสงค์ของ CBDC ออกมาเพื่อลดต้นทุนการผลิต จากเดิมที่ต้องผลิตเหรียญกษาปณ์และธนบัตร ก็จะแปลงให้อยู่ในรูปของเงินดิจิทัล เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน ป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดของเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง และลดความเสี่ยงในการในการพึ่งพาระบบการชำระเงินจากภาคเอกชน
CBDC มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Wholesale CBDC ออกแบบมาเพื่อใช้กับสถาบันการเงิน และ Retail CBDC เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และภาคธุรกิจชำระเงินระหว่างกัน แต่ทั้งสองรูปแบบนี้จะต้องใช้คู่กับกระเป๋าเงินออนไลน์ (Wallet) ซึ่งเชื่อมต่อกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์
สำหรับในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา Price Water House Coopers (PwC) ได้จัดอันดับประเทศกัมพูชาได้ติดอันดับสองของโลกในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลกลางแบบ Retail คือแบบที่ใช้กับประชาชนทั่วไป โดยอันดับหนึ่งคือประเทศบาฮามาส และอันดับสองคือประเทศกัมพูชา ในขณะที่ประเทศจีนรั้งเป็นอันดับสาม เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบการใช้งาน และมีอีกหลากหลายประเทศในยุโรปและอเมริกาที่อยู่ระหว่างการศึกษาและทดสอบระบบการใช้งาน
จะเห็นได้ว่า ในโลกปัจจุบันกระแสดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากมายในการใช้ชีวิตประจำวัน ทุกหน่วยในสังคมต่างพยายามปรับตัวให้สอดคล้องวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่เว้นแม้แต่ภาคธนาคารที่มีบล็อคเชนเข้ามาเป็นนวัตกรรมทางด้านการเงินที่สำคัญ และด้วยสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนต้องหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี เพื่อดำรงชีวิตวิถีใหม่ให้อยู่รอดปลอดภัย ประเทศกัมพูชาเป็นตัวอย่างในการปรับตัว จากเดิมที่เป็นประเทศนิยมเงินสด และจับจ่ายใช้สอยแบบเผชิญหน้า กลับต้องหันมาพบปะกันบนโลกออนไลน์ และเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ในปี 2563 สันนิษฐานว่าคนกัมพูชาใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนถึง 71.3% ของประชากรทั้งหมด (จากการสำรวจของ Datareportal พบว่าคนกัมพูชาลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือถึง 21.18 ล้านคน ในขณะที่ประชากรกัมพูชามีเพียง 16.83 ล้านคน คิดเป็น 125.8% ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าใน 1 คนอาจใช้โทรศัพท์มากกว่า 1 หมายเลข และเข้าถึง Social Media จำนวน 12 ล้านบัญชี เท่ากับ 71.3% ของประชากรทั้งหมด) นับเป็นการเติบโตของโลกดิจิทัลในประเทศกัมพูชาอย่างมีนัยยะสำคัญ เรามาติดตามความเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศกัมพูชาไปพร้อมๆ กัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังกัมพูชา
สำหรับลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://scbcw-preprod.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก: ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ กัมพูชาพาณิชย์ (Cambodia Commercial Bank – CCB) https://scbcw-preprod.scb.co.th/ccb/corporate-banking.html
ข้อมูลอ้างอิง
1.Bran inside. “รู้จักโปรเจค Bakong ระบบธุรกรรมดิจิทัลของกัมพูชา ที่เกิดมาเพื่อลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์” https://brandinside.asia/bakong-app-cambodia-nbc/ (ค้นหาเมื่อ 23/8/64)
2.The standard. “กัมพูชา รั้งอันดับ 2 ของโลก ขึ้นเป็นประเทศที่คืบหน้าใช้เงินดิจิทัลแบบ CBDC กับประชาชนรายย่อยในภาคธุรกิจมากที่สุด” . https://thestandard.co/cambodia-using-cbdc-currency/ (ค้นหาเมื่อ 23/8/64)
3.อีไฟแนนซ์ไทย. “แบงค์ชาติกัมพูชา เตรียมเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัล บากอง”. http://www.efinancethai.com/LastestNews/app.index.aspx?id=b24yWTZkdXlJR0k9&year=2020&month=2&lang=T&v=2018&security= (ค้นหาเมื่อ 23/8/64)
4. อีไฟแนนซ์ไทย. “แบงก์ชาติกัมพูชา เปิดตัวระบบชำระเงินบนบล็อกเชนภายใต้โครงการ บากอง”. http://www.efinancethai.com/LastestNews/app.index.aspx?id=RklvSGt5dlNVSGc9&year=30&month=10&lang=T&v=2018&security= (ค้นหาเมื่อ 23/8/64)
5.กรุงเทพธุรกิจ. “โควิด หนุนเงินดิจิทัลโต กัมพูชาเล็งเลิกพึ่งดอลลาร์”. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953186 (ค้นหาเมื่อ 30/8/64)
6. อีไฟแนนซ์ไทย. “CBDC คืออะไร? ทำไม ธ.กลางทั่วโลกต้องเร่งศึกษา”. https://www.efinancethai.com/Advertorial/AdvertorialMain.aspx?name=ad_202002281228 (ค้นหาเมื่อ 30/8/64)
7. Datareportal. “Digital 2021: Cambodia”. https://datareportal.com/reports/digital-2021-cambodia (ค้นหาเมื่อ 31/8/64)