ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
7-Eleven ตลาดรีเทลรุ่งรับ Next Normal ในกัมพูชา
ปัจจุบัน ธุรกิจค้าปลีกเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในหมู่นักลงทุนในประเทศไทย แม้จะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง แต่หลาย ๆ บริษัท ก็เล็งเห็นถึงโอกาสการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศ “กัมพูชา” ที่กำลังเป็นที่จับตามองในหมู่ธุรกิจค้าปลีก เพราะนั่นคืออีกหนึ่งประเทศใน CLMV ที่น่าลงทุน หรือขยายธุรกิจ เนื่องด้วยเศรษฐกิจที่มีการเติบโตแม้ในช่วงที่มีการระบาดของโรค Covid-19 โดย DITP คาดการณ์ GDP ในปี 2565 เติบโตที่ 5.66 % และมีโอกาสเติบโตถึง 6.4% ในปี 2566 และด้วยการคาดการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมที่มีการเติบโตนี้ ทำให้บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยอย่าง CP ALL หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นบริษัทที่บริหารธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ได้ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชา ซึ่งแน่นอนว่าการขยายธุรกิจของ CP ALL ครั้งนี้จะทำให้การแข่งขันในตลาดรีเทลของประเทศกัมพูชามีความเข้มข้น และน่าติดตามมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศด้วยเช่นกัน
ธุรกิจ 7-Eleven ในประเทศกัมพูชาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทลูกของ CP ALL หรือ CP ALL (Cambodia) Co., Ltd. ซึ่งในช่วงเริ่มต้นบริษัทบริหารงานโดยทีมผู้บริหารมากประสบการณ์จากประเทศไทย และมีการทยอยจ้างพนักงานท้องถิ่นเป็นจำนวนมากสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยบริษัทได้เปิด 7-Eleven สาขาแรก ณ กรุงพนมเปญ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าชาวกัมพูชา
การเข้าสู่ตลาดร้านสะดวกซื้อของ 7-Eleven ถือเป็น “Next Normal” และเป็น Development ก้าวสำคัญของตลาดรีเทลของประเทศกัมพูชา ทำให้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อคึกคักมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ลูกค้าหรือผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากร้านสะดวกซื้อชั้นนำจากประเทศไทย ซึ่งในช่วงเริ่มต้นการลงทุน 7-Eleven จัดตั้งร้าน 7-Eleven จะเริ่มจากเมืองธุรกิจที่สำคัญ เช่น กรุงพนมเปญ จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพระสีหนุ เป็นต้น ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีร้านสะดวกซื้อที่มีชื่อเสียงเข้าไปดำเนินธุรกิจแล้วหลายราย
ปัจจุบัน สาขาหลักของ 7-Eleven ในประเทศกัมพูชา ได้แก่ 7-Eleven Chroy Changvar (สาขาแรก), 7-Eleven PTT Preak Pnov Station, 7-Eleven PTT Prey Kei station, 7-Eleven PTT Chbar Ampov station, 7-Eleven PTT Phsar Touch station, 7-Eleven Rule Monivong, และ 7-Eleven Season Mall Poipet
สินค้าที่วางจำหน่ายใน 7-Eleven กว่า 90% เป็นสินค้าที่มาจากประเทศไทย เป็นสินค้าที่เราคุ้นตา สินค้าที่สามารถเห็นได้ทั่วไปตาม 7-Eleven ในประเทศไทย นี่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายธุรกิจ ผ่าน Modern Trade นั่นคือการใช้ 7-Eleven หรือแม้แต่ห้างร้านที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในการส่งออกสินค้าเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ทำให้เป็นแบรนด์เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีร้านสะดวกซื้อที่ได้รับความนิยมในประเทศกัมพูชา มีอยู่หลายเจ้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการท้องถิ่น เช่น Kiwi Mart, Lucky Express/Supermarket, Chip Mong Express, Nham24, และ Smile Mini Mart เป็นต้น ร้านจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน เช่น AEON Maxvalu, Super Duper, และ Circle K เป็นต้น และร้านสะดวกซื้อจากประเทศไทย เช่น 7-Eleven และ Mini Big C เป็นต้น
การขยายสาขาของ 7-Eleven และร้านค้าปลีกในอนาคตนั้น นอกจากจะช่วยเพิ่มพูนมูลค่าทางการค้าให้สินค้ามากยิ่งขึ้นแล้ว ยังสามารถเจาะตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในกัมพูชาที่ไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคนต่อปี (ช่วงก่อนเกิดโรคระบาด) และกลุ่มนักธุรกิจ รวมทั้งคนทำงานต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เป็นจำนวนมากกว่าแสนคน อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยหลาย ๆ ราย ที่สามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของตัวเองไปจำหน่ายในตลาดกัมพูชาได้ โดยผ่านการเจรจากับ 7-Eleven ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่ต่างจากไทย
สาเหตุที่แบรนด์ 7-Eleven ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคประเทศกัมพูชาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกลุ่มชนชั้นกลางถึงบนมีการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นประจำ และกลุ่มแรงงานกัมพูชาทำงานในประเทศไทยหลายแสนคน รวมถึงสื่อโฆษณา ละคร ภาพยนตร์ เพลงของไทย จากหลาย ๆ ช่องทางที่เข้าถึงชาวกัมพูชาทำให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกของไทยมีความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน และเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายสินค้ามายังตลาดกัมพูชาให้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ถึงแม้ว่าร้านค้าแนว Modern Trade จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และไทย ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนกัมพูชา แต่ช่องทางหลักสำหรับการซื้อสินค้าของชาวกัมพูชา ร้อยละ 80 ยังคงเป็นตลาดแบบดั้งเดิม หรือ Traditional Trade เช่น ร้านแผงลอย และตลาดค้าส่ง ทำให้ Modern Trade มีสัดส่วนอยู่เพียง 20% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยว กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของ Modern Trade จะเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา นักท่องเที่ยว และผู้ที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไปเท่านั้น โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นคนวัยหนุ่มสาวที่มีกำลังซื้อสูง และสามารถเปิดรับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ เมืองที่โดดเด่นในการเข้าไปลงทุนและขยายตลาดคงจะหนีไม่พ้นกรุงพนมเปญ ด้วยจำนวนประชากร 1.6 ล้านคน ส่งผลให้ความต้องการของสินค้าและบริการขยายตัวได้ค่อนข้างไว เพราะมีกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ เผยถึงข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ประกอบการที่วางแผนจะเข้ามาขยายตลาดสินค้าไทยในกัมพูชา ดังนี้
1. ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องวางแผน และปรับรูปแบบการค้าที่เคยใช้จากในประเทศไทย เนื่องจากโครงสร้างและช่องทางการจำหน่าย กระจายสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคของคนส่วนใหญ่ค่อนข้างแตกต่างกัน การเข้ามาหาตัวแทนจำหน่ายหรือคู่ค้าที่ดีเพื่อช่วยจัดจำหน่ายเป็นช่องทางหลักที่ดีและเหมาะสม
2. สร้างจุดเด่นและความแตกต่าง รวมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ จึงจะสามารถจะแข่งขันกับคู่แข่งเดิมและอยู่รอดในตลาดนี้ได้
จากที่กล่าวมาข้างตัน ถึงแม้การค้าในประเทศกัมพูชาจะมีความท้าทายในเรื่องของคู่แข่งของตลาดค้าปลีกและการผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม จากเศรษฐกิจที่เติบโต กำลังซื้อของชาวกัมพูชาที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ความเป็นเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว และหลังจากการเปิดและขยายสาขาของ 7-Eleven ผู้ประกอบการก็มีลู่ทางและความเป็นไปได้มากมาย ที่จะทำธุรกิจค้าปลีก หรือนำสินค้าไทยเข้ามาจำหน่ายได้ผ่านการเจรจาทางการค้า ซึ่งธุรกิจและสินค้าในไทยส่วนใหญ่ก็เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวกัมพูชา ทำให้ง่ายแก่การลงทุนและสร้างชื่อเสียงของธุรกิจให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ในวงกว้าง
สิ่งนี้อาจนำไปประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ที่สนใจขยายธุรกิจ หรือขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศกัมพูชาไม่มากก็ดี ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือ การเคารพกฎหมาย และข้อปฏิบัติของสังคมที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากจะเน้นด้านคุณภาพของสินค้าและบริการแล้ว ต้องมีการคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ดียิ่งขึ้น
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก: ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขากัมพูชา https://www.scb.co.th/ccb/corporate-banking.html
แหล่งอ้างอิง
1. DITP. “เจาะลึกสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกในกัมพูชา”. https://www.ditp.go.th/contents_attach/560914/560914.pdf (ค้นหาเมื่อ 8/6/2565)
2. RYT9. “เรื่องเล่าจาก CLMV: 7-Eleven สาขาแรกในกัมพูชา และ Big C สาขาแรกในกรุงพนมเปญ”. https://www.ryt9.com/s/exim/3262336 (ค้นหาเมื่อ 8/6/2565)
3.ประชาชาติธุรกิจ. “เซเว่น ผุดสาขาแรกพนมเปญ ผนึก ปตท. ชิงตลาดค้าปลีก”. https://www.prachachat.net/economy/news-686946 (ค้นหาเมื่อ 8/6/2565)
4. MGR online. “เซเว่น อีเลฟเว่น เปิดสาขาที่ “ปอยเปต” สาขาแรกนอกกรุงพนมเปญ”. https://mgronline.com/indochina/detail/9650000024552 (ค้นหาเมื่อ 8/6/2565)
5. TNSC. “CLMV as our home market”. http://tnsc.com/wp-content/uploads/2018/10/Booklet-CLMV-Draft-Final-1.pdf (ค้นหาเมื่อ 9/6/2565)
6.DITP. “Fact Sheet กัมพูชา เม.ย. 65”. https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/778945/778945.pdf&title=778945&cate=947&d=0 (ค้นหาเมื่อ 10/6/2565)
7. DITP. “CPALL พร้อมขยายแฟรนไชส์ 7-Eleven ในกัมพูชา”. https://www.ditp.go.th/contents_attach/613679/613679.pdf (ค้นหาเมื่อ 10/6/2565)