ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
บริหารพลังงานอย่างไร เพิ่มกำไรธุรกิจโรงแรม
ค่าไฟฟ้าเป็นหนึ่งในต้นทุนการทำธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จากการมีเครื่องอำนวยสะดวกบริการแขกเข้าพัก ไม่ว่าจะเป็นแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น โทรทัศน์ ลิฟท์ ฯลฯ รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในงานหลังบ้านอีก เช่นปั๊มน้ำ เครื่องล้างจาน ไฟทางเดิน เครื่องฟอกอากาศ พัดลมเติมอากาศ เป็นต้น ส่งผลให้มีค่าไฟฟ้าจำนวนมากตามมา ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานพุ่งสูงขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำอย่างไรจะลดค่าไฟลงได้?
คุณอภิชาติ ปู่มี Business Development Director บริษัทแพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตนวัตกรรมเครื่องทำน้ำร้อน และเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานและบริการตรวจวัดการใช้พลังงาน มาให้ความรู้ในโครงการอบรมหลักสูตร
SCB IEP BOOTCAMP : THE HOSPITALITY SURVIVAL
ที่ภูเก็ต
แค่ลดต้นทุนค่าไฟลง กำไรก็เพิ่มขึ้นแล้ว
ตามภาพรวมรายจ่ายโรงแรมทั่วประเทศ ค่าไฟคิดเป็น 12% ของต้นทุน เฉพาะโรงแรมภาคใต้ ค่าไฟคิดเป็นประมาณ 24% ของต้นทุน ดังนั้นหากผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ แม้มีรายได้เท่าเดิมก็เท่ากับได้กำไรเพิ่ม ดังนั้น โรงแรมที่มีระบบบริหารดี จะนำค่าไฟไปคำนวณเป็นต้นทุนของ Room Night Rate ในแต่ละเดือน ตัวอย่างโรงแรมหนึ่งที่ในเดือนที่มี Occupancy Rate เกือบเต็ม ค่าต้นทุนค่าไฟ คือ 247 บาทต่อห้องต่อคืน อีกเดือนหนึ่งที่ Occupancy Rate 67% ต้นทุนค่าไฟ 284 บาทต่อห้องต่อคืน เป็นต้น แต่จากตัวเลขที่ได้บ่งชี้ว่าค่าไฟไม่ได้แปรผันตามจำนวนแขกที่เข้าพัก กลายเป็นแขกที่เข้าพักลดลงแต่ต้นทุนค่าไฟแพงขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ ต้องรู้ให้ได้ว่าค่าไฟแพงเพราะอะไร?
เจาะรายละเอียดวิธีคิดค่าไฟ
คุณอภิชาติสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการคิดค่าไฟ 2 ประเด็น ได้แก่
2 สิ่งนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้นการบริหารจัดการลดต้นทุนพลังงาน ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการโรงแรมที่จัดโปรโมชั่นลดราคาจัดงานแต่งงานในวันธรรมดาลง 25% แต่กลายเป็นว่าช่วงวันธรรมดา ค่าไฟเป็นแบบ Peak แพงกว่า Off-Peak ช่วงเสาร์อาทิตย์ กลายเป็นจัดโปรลดราคา รายได้เพิ่มขึ้นไม่มาก แต่กลับมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เทียบกับการไม่จัดโปรโมชั่น แม้ไม่มีคนจองแต่ต้นทุนก็ไม่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของเรื่องค่าดีมานด์ ปัจจุบันการไฟฟ้าฯ มีมิเตอร์ AMR (Automatic Meter Reading) สามารถดูกราฟการใช้พลังงานทุกๆ 15 นาที การนำข้อมูลมิเตอร์มาวิเคราะห์ร่วมกับค่าไฟและ Occupancy Rate จะสามารถตรวจพบค่าไฟที่สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นได้
ตรวจสอบการใช้พลังงาน บริหารจัดการให้ดี
คุณอภิชาติยกตัวอย่าง พูลวิลล่าของโรงแรม 4 ดาวขึ้น 5 ดาว เปิดแอร์ทั้งวันเพราะกลัวไม่เย็น เมื่อแขกเปิดประตูโล่งๆ เข้ามา แอร์ก็หายหมด แต่เมื่อไปอ่านรีวิวพบว่าแขกต้องการความโล่ง อากาศธรรมชาติ จริงๆ ก็สามารถเปิดแอร์ 4-5 โมงได้ ไม่ต้องเปิดทั้งวัน การบริหารจัดการที่เป็นสิ่งจำเป็น
อีกหนึ่งการบริหารจัดการพลังงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบคือ เรื่องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก (Peak Load) เกิดจาการใช้เครื่องไฟฟ้าต่อเนื่อง เช่น แอร์ เครื่องทำน้ำร้อน ลิฟต์ ปั๊มน้ำ รวมถึงเครื่องทำความร้อน (ฮีทเตอร์) ขนาดใหญ่ที่กินไฟสูง ซึ่งมีอยู่ในขั้นตอนของเครื่องล้างจาน สระว่ายน้ำออนเซน 45 กิโลวัตต์ เป็นต้น ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองข้ามหรือคิดไม่ถึง นอกจากนี้ ยังมีปั๊มส่งน้ำจากข้างล่างขึ้นไปถึงบนถังสูง ถ้าเดินเครื่องตอนบ่าย 3 โมงที่เป็นเวลา Peak Time ก็ทำให้ Peak Load เกิดค่าไฟสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยคือ ไฟดับแล้วไม่มีการปิดสวิตท์ พอไฟมา เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างก็ติดพร้อมกันหมดก็เกิด Peak Load โดยเฉพาะไฟสปอตไลท์ที่กินไฟค่อนข้างสูง
ดังนั้น ต้องตรวจสอบการใช้พลังงานตัวเอง จึงจะสามารถวางแผนลดพลังงานและหาทางแก้ไขได้ เช่น ใช้อุปกรณ์เข้ามาช่วย เช่น Timer เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ หรือหาวิธี/มาตรการหลีกเลี่ยงการใช้ไฟช่วงเวลา PEAK เช่น จัดโปรโมชั่น/กิจกรรมให้คนออกมาข้างนอก ลดการใช้แอร์ในห้อง ฯลฯ ทั้งนี้ การบริหารจัดการเป็นการลดต้นทุนพลังงานถูกที่สุดและได้ผลเร็วที่สุด
หาอุปกรณ์ช่วยลดต้นทุน
เทคโนโลยีของ PAC ช่วยให้ประหยัดพลังงานและต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ เช่น การระบายอากาศ ทำตามมาตรฐานตราสัญลักษณ์ SHA รวมถึงการปรับอากาศ เนื่องมาจากไวรัสโควิด โดย ASHRAE ที่เป็นสมาคมเกี่ยวกับปรับอากาศ มีหลักในการป้องกันโควิด โดยใช้ฟิลเตอร์ และ ยูวีฆ่าเชื้อโรค แล้วยังมีการการฟอกอากาศ ล้างแอร์ การเติมอากาศแบบประหยัดพลังงาน หรือ ERV (Energy Recovery Ventilation) ทำให้อากาศสะอาดได้ง่ายที่สุด และสามารถควบคุมความชื้น ที่มีผลเรื่องเชื้อรา แล้งยังประหยัดพลังงานด้วย เพราะตามที่กฎหมายกำหนดให้เติมอากาศเข้าห้องพักให้ได้ 2 เท่าของพื้นที่ แต่เติมเข้ามาก็มีเรื่องของความร้อนและความชื้น ปัญหาจึงอยู่ที่เติมยังไงให้อากาศสะอาดแล้วไม่สิ้นเปลือง เพราะการเติมอากาศเข้ามาเยอะ ก็จะทำให้ห้องทั้งร้อนทั้งชื้น แอร์ก็ทำงานหนักกินไฟมากขึ้น ซึ่งการใช้เครื่องเติมอากาศแบบ ERV จะไม่กระทบกับการใช้พลังงานของแอร์
วิธีการปรับปรุงคุณภาพอากาศแบบประหยัดพลังงาน ได้แก่
ที่สุดแล้ว ในภาวะเช่นนี้ ธุรกิจไม่ควรมองข้าม การตรวจสอบภาพรวมการใช้พลังงานจะช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมหาโซลูชั่นที่จะประหยัดต้นทุนค่าใช้ไฟนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นได้
ที่มา: SCB IEP BOOTCAMP : THE HOSPITALITY SURVIVAL, PHUKET