เรื่องภาษีที่เจ้าของกิจการต้องรู้

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หลายธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบตามการเปลี่ยนแปลง บางที่สร้างโอกาสใหม่จากวิกฤติ และหลายที่ควบคุมรายจ่ายเพื่อให้อยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใด เรื่องภาษี ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องรู้


การวางแผนภาษี
เรื่องที่ควรทำตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ

1.ธุรกิจแบบแบบบุคคลธรรมดาหรือแบบนิติบุคคล

เจ้าของกิจการควรตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจว่าธุรกิจจะเป็นแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล เนื่องจากแต่ละรูปแบบมีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน หากธุรกิจมีรายได้สุทธิมากกว่า 750,001 บาท ควรจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล เนื่องจากผู้ประกอบการจะเสียภาษีเงินได้อยู่ที่ 15% ซึ่งน้อยกว่าอัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา

(อ้างอิง: อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560 https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/news/news11_2560.pdf และอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปี 2558 https://www.rd.go.th/publish/841.0.html )

 

เงินได้สุทธิ / กำไรสุทธิ

อัตราภาษีเงินได้

บุคคลธรรมดา

อัตราภาษีเงินได้

นิติบุคคล

0 – 150,000

ได้รับการยกเว้นภาษี

ได้รับการยกเว้นภาษี

150,001 – 300,000

5%

300,001 – 500,000

10%

15%

500,001 – 750,000

15%

750,001 – 1,000,000

20%

1,000,001 – 2,000,000

25%

2,000,001 – 3,000,000

30%

3,000,001 – 5,000,000

20%

2.การวางแผนภาษีล่วงหน้า

ระบบบัญชีที่ดี ต้องวางแผนภาษีล่วงหน้า เริ่มจากการบันทึกรายรับ-รายจ่ายและการจัดเก็บเอกสารค่าใช้จ่ายอย่างครบถ้วนเป็นระบบ และถูกต้องตามมาตรฐานทางบัญชีและกฎหมายภาษีจะช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และสามารถวางแผนล่วงหน้าถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจริงที่จะช่วยลดหย่อนภาษีได้

(ผู้ประกอบการที่ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชีสามารถดาวน์โหลด โปรแกรมบัญชีของกรมสรรพากร ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆที่ http://www.rd.go.th/publish/41464.0.html )


3.กำหนดวัตถุประสงค์

หากเจ้าของกิจการต้องการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทโดยคำนึงถึงกิจการที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตด้วย หากมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมรูปแบบธุรกิจ ควรแก้ไขวัตถุประสงค์ของบริษัทให้ถูกต้องตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตั้งกฎเกณฑ์ไว้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างถูกต้อง


4. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากกิจการมีรายได้สุทธิเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ควรพิจารณาจดภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ ( https://www.rd.go.th/publish/307.0.html ) และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกินมา ทั้งนี้ หากเจ้าของกิจการไม่ปฏิบัติตามจะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร

เจ้าของกิจการควรทราบถึงรายจ่ายที่ช่วยให้ประหยัดภาษีได้ ดังนี้

1.การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินมา

ในอัตรา 40% ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ และเครื่องจักร และในอัตรา 20% ของทรัพย์สินประเภทโรงงาน


2.ค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยแจ้งการใช้สิทธิจ้างงานผู้สูงอายุผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ได้ที่ https://newstartup.rd.go.th/taxdeduct/main.jsp

 

3.ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยยื่นรายละเอียดการวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพื่อตรวจสอบและรับรอง

 

4.ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน

สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งในกรณีส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรม และกรณีฝึกอบรมให้ลูกจ้างของตนเอง

 

5.ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC

สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยเป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2564

 

6.การบริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วย COVID-19

สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถหักรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ และผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2564


การวางแผนภาษีที่ดี นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจราบรื่น โดยเฉพาะจากศักยภาพของรายจ่ายที่เอื้อสิทธิประโยชน์ทางภาษี การหมั่นศึกษาหรือติดตามข่าวสารจากกรมสรรพากรจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่พลาดสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ