DNA of woman leadership: ชูด้านแกร่งของผู้หญิงสร้างผู้นำที่เข้มแข็ง

เปิดประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตการทำงานมากกว่า 20 ปีของ คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand หรือคุณเจี๊ยบ ผู้บริหารหญิงเก่งแห่งวงการไอที ที่ได้มีโอกาสผ่านโปรแกรมการสร้างนักบริหารหญิงของ Microsoft และเคยเป็น 1 ใน 8 ผู้บริหารหญิงจากผู้บริหารสูงสุดของสำนักงาน Microsoft ทั้งหมด 200 คนทั่วโลก ผู้ที่เชื่อว่ามั่นว่า “Leaders are made, not born”

stong-woman-leadership-01

Ceiling Glass หรือ Sticky Floor?


จากข้อมูลย้อนหลังบริษัทชั้นนำระดับโลก Fortune 500 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีผู้หญิงได้เป็นผู้บริหารสูงสุดเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1 คน ในปี1998 เป็น 44 คนในปี 2022 อย่างไรก็ตาม คุณเจี๊ยบกล่าวถึงงานเขียนของ Rebecca Shambaugh ที่นำเสนอแนวคิดใหม่ว่าจากเดิมที่เชื่อว่าในโลกการทำงานมีเพดานกระจกที่มองไม่เห็น (Ceiling Glass) เป็นข้อจำกัดของการที่ผู้หญิงที่จะขึ้นไปสู่ตำแหน่งบริหารสูงสุดขององค์กร แต่ความท้าทายจริงๆ ที่ผู้หญิงต้องเผชิญไม่ใช่ Ceiling Glass ที่อยู่ด้านบน แต่เป็น Sticky Floor ที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของผู้หญิงเอาไว้ โดยสรุปออกมาได้ 7 ข้อ ได้แก่


1) Challenges with work/life balance : ความท้าทายในการบาลานซ์ระหว่างหน้าที่งานกับบทบาทความเป็นลูกสาว ภรรยา แม่ที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกผิดตลอดเวลา


2) Letting perfectionism get in the way : ความต้องการให้คนอื่นทำงานสมบูรณ์แบบ


3) Waiting for hard work to be recognized: ผู้หญิงมักจะรอให้เจ้านายเห็นผลงานตัวเองเลยไม่ได้ผลักดันงานให้เจ้านายเห็นเท่าที่ควร แนะให้เรานำเสนอผลงานตัวเองให้เจ้านายเห็นอย่างสม่ำเสมอ


4) Not speaking up in the moment; waiting for the right word at the right time : ในการประชุมอาจโดนผู้ร่วมงานผู้ชายนำไอเดียไปสรุปต่อที่ประชุม แล้วทำถูกมองว่าเป็นไอเดียของคนนั้น ทางแก้คือต้องพูดเน้นย้ำว่าไอเดียนั้นเป็นของตนเองให้เจ้านายและทีมงานรับรู้โดยทันที


5) Not leveraging mentors and creating a support network : แนะนำให้หา Mentor โดยคุณเจี๊ยบยกตัวอย่าง องค์กรอย่าง Microsoft ที่มีโปรแกรม Mentorship สร้างผู้บริหารหญิง ผลักดันโดย Melinda French Gates อดีตภรรยาของ Bill Gates ซึ่ง Melinda เคยผ่านประสบการณ์ความลำบากของการเป็นผู้บริหารหญิงของบริษัทในวงการที่ครอบงำโดยผู้ชายอย่างวงการไอที เธอจึงต้องการสนับสนุนการเติบโตของพนักงาน/ผู้บริหารหญิง


6) Lack of political savvy : ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในองค์กร แต่ต้องเข้าใจว่าการเมืองมีอยู่ทุกที่


7) Not asking for what you want :
ไม่เรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ


ทั้งนี้ ในโลกธุรกิจยุคใหม่ คุณเจี๊ยบกล่าวถึงแนวคิดการของทำธุรกิจของ Melanie Perkins ผู้ก่อตั้ง “Canva” เทคสตาร์ทอัพสัญชาติออสเตรเลีย ที่แม้จะไม่เคยมีคอนเน็คชั่นกับใน Silicon Valley เลย แต่ด้วยทัศนคติ We Can, Resilience, Perseverance ไม่ยอมแพ้ พร้อมลุกขึ้นมาใหม่ และความเชื่อมั่นในไอเดียของตนเอง ทำให้ Melanie สามารถสร้าง Canva จนประสบความสำเร็จมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

บริหารด้วย 3I & A-B-C-D-E Leadership


การเป็นผู้นำในโลกยุคหลังโควิด (Modern Leadership) คุณเจี๊ยบมองว่ามีหลักการสำคัญ 3 ข้อหรือ “3I” ประกอบด้วย Inspire สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานสร้างผลงานได้ดีขึ้น Instill สร้างผลงานตอบโจทย์ purpose ขององค์กร ลูกค้าให้ได้ และ Influence สร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ในส่วน DNA ที่ Leadership ในอนาคตควรจะมี ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่  SELF, OTHERS, ORGANIZATION, LIFE-CENTRIC  ทั้งนี้ จากประสบการณ์ 20 ของการทำงานกับองค์กรยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีสหรัฐอเมริกาของคุณเจี๊ยบที่เริ่มต้นด้วยการเป็นวิศวกรที่ Seagate จนมาสู่การเป็นผู้บริหารไมโครซอฟต์ดูแลตลาดเอเชีย 14 ประเทศ และสามารถจัดการกับปัญหาละเมิดลิชสิทธิ์ในประเทศจีนด้วยการนำ 4 ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ OEM ของจีนมาเซ็นต์สัญญา Pre-Install ซอฟต์แวร์ Window ถูกลิขสิทธิ์ได้ คุณเจี๊ยบจัดการกับงานที่ท้าทายต่างๆ ด้วยแนวคิด A – B – C – D - E of Leadership ได้แก่


- Be “ A TTENTIVE” and curious : ตั้งคำถามกับคำว่า “ไม่” ว่าทำไม “ไม่ให้” มีเหตุผลอะไร แล้วจะทำยังไงถึงจะ “ให้” หรือ “ทำได้” นำไปสู่การปรับแผน วิธีการที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ ในเรื่องของการนำทีม ต้องพูดคุยให้ทีมงานเข้าใจตรงกันว่าอะไรเรียกว่าความสำเร็จของทีม มีความเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน และทำในสิ่งที่จะทำให้ทีมบรรลุเป้าหมาย (Eyes on the GOAL)


- Be “ B oundless” : ทลายขีดจำกัดและกรอบต่างๆ ของตัวเอง เปลี่ยนสถานการณ์จาก “ทำไม่ได้” เป็น “ถ้าจะทำให้ได้ต้องทำอย่างไร” (From I Can’t – to WHAT IF)  ด้วยการคิดนอกกรอบที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ให้ตอบโจทย์เป้าหมาย


- “ C onquer” Your Fear : ความกลัวไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถ้าเราไปทำงานที่ไหนแล้วไม่กลัว แสดงว่างานนั้นไม่ใหญ่พอ ซึ่งการที่คนอื่นมองเรา เขาจะเชื่อมั่นในตัวเรามากกว่าที่เราเชื่อมั่นในตัวเอง ดังนั้นเมื่อมีคนยื่นความท้าทายมาให้ เราก็ต้องเชื่อมั่นในตัวเองและเปลี่ยนความท้าทายนั้นให้เป็นตำนานที่คนจดจำ และเมื่อเรามองย้อนกลับไปแล้วจะไม่เสียใจ


- Be a “ D reamer” with Determination: เป็นคนช่างฝันที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ที่สำคัญคือการหาเมนทอร์ที่จะช่วยบอกเราว่าการจะทำความฝัน/ไอเดียนี้ให้เป็นจริงได้ เราต้องรู้ตรงไหนบ้าง แล้วลงมือทำให้เป็นจริง  ทำเป็นการก้าวออกจาก Comfort Zone ทำสิ่งที่ท้าทาย


- E mbrace Your Choice: ยอมรับการเลือกของตัวเอง ด้วยคำถามว่า “ทำไมบริษัทต้องมีเรา” และทำความเข้าใจ ช่วยแก้ไขปัญหารวมถึงวิธีการพัฒนาธุรกิจให้ลูกค้า

หลัก 20 – 50 สร้างความเปลี่ยนแปลง


ในการผลักดันเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มุ่งหน้าไปในทิศทางใหม่ ความยากคือการจะให้คนยอมเปลี่ยนแปลงตามเรา คุณเจี๊ยบได้แบ่งปันแนวคิดของคุณ Satya Nadella CEO Microsoft ในเรื่องนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงในองค์กรเปรียบเหมือนการที่เราจะขับรถบัสออกจากสถานี เทียบสัดส่วนพนักงานใน 100 คนจะมี 20 คนที่เห็นด้วยกับคุณ แล้วพร้อมกระโดดขึ้นรถ แล้วมีคนนั่งรอดูว่าเมื่อรถบัสจะขับออกไปจะได้กระโดดขึ้นทันอีกประมาณ 50 คน แล้วก็กลุ่มที่เหลืออีก 30 คนคือคนที่คิดว่ารถบัสไม่น่าจะขับออกไปได้ ซึ่งผู้บริหารมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อเปลี่ยนความคิดของ 30% หลัง แต่ลืมไปว่า 20% รอให้เราออกรถ ในความเป็นจริงแล้ว เราควรให้ความสำคัญกับ 20% มากที่สุด เพราะเมื่อรถเริ่มขยับ 50% จะรีบมาขึ้นรถเอง แล้วในกลุ่ม 30% ก็อาจมีบางส่วนยอมขยับแล้วออกแรงวิ่งตามรถให้ทัน เพราะเราทุกคนมีสิ่งที่เรียกว่า “FOMO” (Fear of Missing Out) ที่ไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ส่วนที่เหลือที่ไม่ยอมขยับเลยก็ต้องปล่อยไป คุณเจี๊ยบใช้หลักการ 20-50 นี้ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อมาเป็นคุมบังเหียนที่ IBM (ประเทศไทย)


นอกจากนี้ คุณเจี๊ยบยังกล่าวถึงสิ่งที่สำคัญคือ ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ออกจาก Comfort Zone เพราะถ้าเรากล้าทำแล้วแม้ผลที่ออกมาจะล้มเหลว แต่อย่างน้อยก็จะไม่มีคำถามติดค้างในใจทีหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “Mindset” ที่สามารถใช้ได้ทั้งเรื่องงานและการใช้ชีวิต  เพราะถ้าเราไม่เปลี่ยน เราอยู่ไม่ได้ การเปลี่ยนจึงไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไรให้คนเปลี่ยนจาก Fixed Mindset เป็น Growth Mindset  และการจะเป็นผู้นำได้ไม่ใช่ว่าต้องมีคุณสมบัติความสามารถเหมือนกับผู้นำคนอื่น แต่ให้โฟกัสที่จุดแข็ง บริหารจุดอ่อนของตัวเอง และคิดให้ใหญ่ เริ่มต้นเล็กๆ ขยายให้เร็ว (Think BIG START small Scale FAST)


ที่มา : การสัมมนา NIA SCB IBE#4 Innovative Women Enterprise พลังแห่งผู้นำหญิงสู่องค์กรฐานนวัตกรรม : “DNA of Woman Leadership” คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand วันที่ 18 มกราคม 2566