ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
วันหยุดเยอะขนาดนี้ ทำงานอย่างไรให้ทัน
เรื่อง: HR-The Next Gen
Hi-Lights:
ประเทศไทยวันหยุดเยอะไปหรือเปล่า?
เพื่อนคนนึงถามผมในวงปาร์ตี้ ซึ่งประมวลผลเร็ว ๆ แบบมึน ๆ เท่าที่ผมจำได้ ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่วันหยุดเยอะที่สุดในโลก อย่างน้อย ๆ ก็ไม่เยอะเท่าอินโดนีเซีย สมัยที่ผมไปทำงานที่จาการ์ตา วันหยุดเยอะจนงง เพราะพี่เล่นหยุดทุกเทศกาล หยุดทุกศาสนาเลย
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีวันหยุดมากที่สุดในโลก เลขที่ออกคือ 28 วัน ใช่ครับ เกือบเท่ากับหนึ่งเดือนเลยทีเดียว!
ทีนี้ว่ากันตามกฎหมายแรงงานไทย (ซึ่งน่าแปลกใจตรงที่เราไม่ค่อยจะอ่านกันเท่าไร) วันหยุดในกฎหมายแรงงานเรียกว่า วันหยุดตามประเพณี ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่า บริษัทจะต้องกำหนดให้มีวันหยุดไม่น้อยกว่า 13 วันใน 1 ปี โดยให้รวมวันแรงงานแห่งชาติเป็นหนึ่งในวันหยุดนี้ด้วย และวันหยุดประเพณีบริษัทต้องจ่ายค่าจ้างนะ
เน้นอีกที 13 วันต่อปี น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่มากกว่านี้ได้
เพราะฉะนั้น อย่าดราม่าว่าทำไมรัฐบาลประกาศวันหยุดแล้วบริษัทเราถึงไม่หยุด ทำไมคนอื่นเขาหยุดกันรัฐธรรมนูญบริษัทเราถึงไม่หยุด วันตรุษจีนก็ไม่ได้หยุด วันพืชมงคลก็ไม่ได้
เมื่อไรที่ปีนั้น ๆ เราได้วันหยุดไม่ครบ 13 วัน เดินเข้าไปคุยกับหัวหน้าเลยครับ
ที่พูดถึงเรื่องวันหยุด เพราะผมรู้สึกว่าช่วงนี้วันหยุดติด ๆ กันมาเยอะจังเลย สมัยเป็นเด็กน้อยเราทุกคนคงจะชอบให้มีวันหยุดกันเยอะๆ มากนะ รอว่าเมื่อไรจะถึงวันหยุดยาว แผนกินแผนเที่ยวนี่จะวุบวับอยู่ในหัวเลย แต่พอโตขึ้นความคิดมันเปลี่ยน หยุดเยอะขนาดนี้ จะทำงานทันได้ยังไง
บางทีปริมาณงานมันก็ไม่สัมพันธ์กับวันทำงานใช่ไหมล่ะครับ แล้ววันที่ต้องส่งงานมันก็ไม่ได้เลื่อนออกไป หรือหยุดพักได้เหมือนวันหยุดประเพณีเสียด้วย เพราะฉะนั้นคนใกล้ตัวผมจะไม่แปลกใจเลยที่ผมจะไปไหนมาไหนพร้อมแล็ปท็อปและถามหาไวไฟอยู่เสมอ
สมัยเด็กผมเคย (แล้วผมก็คิดว่าหลาย ๆ คนก็เคย) ทำการบ้านหรือทำรายงานส่งไม่ทัน หรือไม่พร้อมที่จะขึ้นพูดหน้าชั้น สิ่งที่เราทำคือการแกล้งป่วย ไม่ไปโรงเรียน เพื่อที่จะได้ทดเวลาไปขอส่งหรือขึ้นพูดหน้าชั้นในวันหลังแทน
ผมจะพูดในทุกๆ ครั้งที่มีโอกาสว่าความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาคือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นมืออาชีพ ถ้าเราทำไม่ได้ อย่าไปโกรธใครถ้าเขามองหน้าเราแล้วพูดเบาๆ พอให้ได้ยินว่า คนนี้เหรอ ไม่มืออาชีพเลย
วันหยุดวันลาจะมีมากแค่ไหนก็ไม่สามารถลดความเป็นมืออาชีพของเราได้ เว้นแต่ว่าเราไม่คิดจะบริหารมันให้ดี
สิ่งที่เราควรทำคือการรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น การรู้ล่วงหน้าแปลว่าเราได้มีการวางแผน ซึ่งการวางแผนก็คือส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ เรารู้อยู่แล้วว่าวันหยุดจะมาช่วงไหน เวลาทำงานเรามีมากมีน้อยอย่างไรเมื่อเทียบกับปริมาณงานที่มีอยู่ในมือ
ประเมินล่วงหน้าให้ออกว่าเรากำลังจะเจอปัญหาอยู่ใช่ไหม ถ้าใช่อะไรบ้างที่เราควรทำ
ข้อแรก มองให้ออกว่าควรทำอะไรก่อน ควรทำอะไรทีหลัง จัดลำดับงานให้ถูก และที่สำคัญอย่าลืมว่างานที่เราทำเป็นงานที่คนอื่นต้องเอาไปทำต่อ ถ้าเราจัดลำดับงานนั้นไว้สุดท้าย แปลว่าคนอื่นต้องรอให้เราทำเสร็จแล้วเค้าถึงเริ่มต้นทำงานได้ เพราะฉะนั้น อย่าลำดับงานโดยคิดถึงแต่ตัวเอง ต้องคิดถึงคนอื่นด้วย
ข้อสอง เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำ พยายามโฟกัสอยู่กับงานนั้นอย่าว่อกแว่ก แต่จะดีกว่ามาก ถ้าเราเผื่อเวลาไว้เล็กน้อย อย่าให้ตึงเกินไปนัก เพราะในโลกของความเป็นจริง มีโอกาสที่ปัญหาอื่นจะแทรกเข้ามาทำให้เราหลุดโฟกัสได้
ข้อสาม อย่าลืมบอกหัวหน้าถ้าดูแววแล้วมีโอกาสที่งานจะหลุดหรือช้ากว่าที่คิด โดยเฉพาะงานที่มีผลต่อลูกค้าหรือ Performance ของหน่วยงาน ต้องถือคติว่า รู้ล่วงหน้าก็พอจะหาทางแก้ทัน
ฝากไว้อีกนิดครับ ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่ติดสปีด ใครเร็วกว่าก็ชนะ จะคิดจะทำอะไรก็ต้องเร็วและแม่นยำ ถ้าเราทำงานช้า แล้วงานยังไม่มีคุณภาพ เราคงไม่ใช่คนที่ถูกเลือกแน่ ๆ ครับ