ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เป็นมนุษย์เงินเดือนให้เหมือนนักธุรกิจ
เรื่อง: HR-The Next Gen
Hi-Light:
มาทำธุรกิจกับเราไหม เป้าหมายของเราคือ ยอดขายต้องลดลงกว่าปีที่แล้ว กำไรก็ต้องติดลบมากกว่าเดิม นี่เราเตรียมตัวเจ๊งในอีก 2 ปีข้างหน้า
นักธุรกิจที่ไหนจะคิดแบบนี้
สิ่งที่นักธุรกิจทำคืออะไร ก็ประเมินสถานการณ์ในแต่ละปีที่น่าจะเกิดขึ้น แล้วก็ลองประเมินทั้งยอดขาย และกำไรที่จะเกิดขึ้นตามสถานการณ์ต่าง ๆ ถ้าเศรษฐกิจดี ยอดขายกับกำไรจะเป็นยังไง ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ยอดขายกับกำไรจะออกมาหน้าตาเป็นยังไง ถ้ามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นมา จะกระทบกับยอดขายและกำไรเราแค่ไหน แล้วจุดแข็งจุดอ่อนของเราคืออะไร จากสถานการณ์ที่ประเมินเรามีโอกาสหรืออุปสรรคแค่ไหน
หลังจากนั้นก็วางแผนที่จะสู้ศึกอีกครั้ง
มนุษย์เงินเดือนก็ไม่คิดอะไรที่ต่างจากสิ่งที่ธุรกิจทำ ถ้าเป้าหมายของธุรกิจคือการทำกำไร แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราไม่ต้องการให้ชีวิตมีกำไรหรอกเหรอ
กำไรในชีวิตจริง ไม่ได้หมายถึงแค่ที่เป็นตัวเงินหรอกนะครับ ที่ไม่เป็นตัวเงิน ก็คือกำไรในชีวิตที่หลายคนอยากได้เหมือนกัน ความมีชื่อเสียง การได้รับความเคารพนับถือจากคนอื่น การได้รับความชื่นชมจากคนที่ทำงานด้วย ทั้งหัวหน้า ทั้งเพื่อนร่วมงาน ทั้งลูกน้อง นี่ก็กำไรทั้งนั้น
ถ้ากำไรที่เราอยากได้ ลอยมาหาเราได้เองนี่ถือว่าโชคดีมาก ซึ่งถ้าโชคดีเรื่อย ๆ ก็ยิ่งดีใหญ่ แต่ถ้าไม่เป็นแบบนั้นล่ะ จะทำอย่างไร เราเคยประเมินสถานการณ์ ประเมินความเป็นไปได้ในเรื่องการทำงานของเราบ้างมั้ย
มนุษย์เงินเดือนคือนักธุรกิจ และสินค้าของเราก็คือ เวลาและความรู้ความสามารถ
หนึ่งคน ก็มีหนึ่งธุรกิจของตัวเอง
ค่านิยมสมัยก่อน คนหนึ่งคนหรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจ ก็จะให้บริการกับลูกค้าคือบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้กับเราเป็นประจำ ได้แค่หนึ่งบริษัท ทั้งเวลา ทั้งความรู้ความสามารถที่เรามี ก็ใส่ให้กับลูกค้ารายเดียวก็คือบริษัทนี่แหละ เคยมีความคิดฝังหัวคนรุ่นนึงว่า พนักงานประจำคือพนักงานที่บริษัทจ้าง 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ถึงเวลาที่ระบุจริงในสัญญาจ้างงานคือ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น จันทร์ถึงศุกร์ก็ตาม แต่เชื่อผมสิว่ามีไม่น้อยที่คิดว่าเวลาทั้งชีวิตเป็นของบริษัท
แต่สมัยนี้ไม่ใช่แล้ว คนหนึ่งคนหรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น หมดแล้วจบกัน เวลาหลังจากนี้ เราสามารถขายความรู้ความสามารถให้กับคนซื้อคนอื่นได้ เท่าที่เวลาเรามี และความรู้ความสามารถของเราที่โดนใจลูกค้า
สถานการณ์เปลี่ยน ค่านิยมเปลี่ยน ถ้าเราตามไม่ทัน
ไม่มีอะไรที่น่าเสียดายเท่ากับการเสียโอกาส
แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเคยประเมินสถานการณ์ หรือตั้งคำถามในแต่ละปีกันบ้างมั้ย
รายได้รวมของปีนี้จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถ้าโบนัสมีผลต่อรายได้รวมในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะได้โบนัสตามที่คาด ถ้าผลประเมินมีผลต่อการพิจารณาโบนัส ผลงานต้องออกมาดีแค่ไหน ถึงจะมีผลให้การประเมินออกมาดี ที่สำคัญเรามีโอกาสที่จะเลื่อนตำแหน่งมากน้อยแค่ไหน ถ้าตำแหน่งที่สูงขึ้นหมายถึงรายได้ที่มากขึ้น และคนแบบไหนกันที่จะเป็นคนแรกที่มีสิทธิได้เลื่อนขั้น
SWOT Analysis เป็นเรื่องพื้นฐานในการวิเคราะห์ธุรกิจ ถ้าเรามองว่ามนุษย์เงินเดือนหนึ่งคนคือหนึ่งธุรกิจ แล้วทำไมเราไม่ลองทำ SWOT Analysis ให้กับตัวเราเองก่อน นิยามของ SWOT ใน Google มีเต็มไปหมด ทั้งแบบสั้น แบบยาว แต่ผมจะเสนอนิยามในแบบที่ผมเข้าใจนะครับ
SWOT Analysis จะต้องทำอย่างมีเป้าหมาย เพื่อให้เห็นภาพว่า อีกไกลแค่ไหนที่เราจะถึงเป้าหมาย แล้วถ้าเราอยากไปถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้น เราต้องวิ่งเร็วแค่ไหน และวิ่งเส้นไหนถึงจะใกล้ที่สุด
ถ้าเป้าหมายในวันนี้คือ การเติบโตจากเจ้าหน้าที่ไปเป็นผู้จัดการ มาลอง SWOT Analysis ดูซักทีดีมั้ยว่าอีกไกลแค่ไหนถึงจะใกล้
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพราะฉะนั้นก่อนจะไปรู้เขา รู้เราให้แน่นก่อนนะครับ