ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ถือกองทุน LTF ครบกำหนด 7 ปีแล้ว วางแผนอย่างไรดี ?
คุณเป็นคนหนึ่งที่เคยลงทุนกองทุน LTF ไว้เมื่อหลายปีก่อนใช่ไหม ?
ช่วงต้นปีแบบนี้ นักลงทุนที่เคยลงทุนกองทุน LTF เอาไว้เพื่อลดหย่อนภาษี แล้วได้ถือกองทุนไว้จนครบกำหนดระยะเวลาตามเงื่อนไขแล้ว ก็มักจะเกิดคำถามที่ต้องตัดสินใจตอนช่วงต้นปี ว่า
“เราควรขาย LTF ที่ถือครบกำหนดออกไปหรือไม่ และ ถ้าขายแล้ว เอาเงินไปไหนต่อดี ?”
นี่คือแผนการจัดการเงินลงทุนกองทุน LTF ที่ครบกำหนดแล้ว ซึ่งนักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจ
ทบทวนเงื่อนไขสำคัญของกองทุน LTF
ก่อนอื่นเรามาทบทวนเงื่อนไขสำคัญของกองทุน LTF กันครับ กองทุน LTF คือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว โดยผู้ที่ซื้อกองทุน LTF
ต้องถือครบ 7 ปีปฏิทิน
นั่นหมายความว่า
ยอดเงินลงทุนในกองทุน LTF ปี 2560 จะครบกำหนดในปี 2566 นี้พอดี
สามารถขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน
· หน่วยลงทุน LTF ที่ซื้อในปีก่อนหน้าปี 2560 เช่น ปี 59, 58, 57 … ถือว่าครบกำหนด 7 ปีปฏิทินแล้วทั้งสิ้น จึงสามารถขายได้ โดยไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุนเช่นกัน
· ส่วนหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2561-62 ถือว่า
ยังไม่ครบกำหนด
7 ปีปฏิทิน
จึงยังไม่สามารถขายได้ หากขายจะถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมทั้งมีภาระต้องจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ และต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนที่ผิดเงื่อนไข ถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืนซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย จึงขอแนะนำให้นักลงทุนตรวจสอบให้มั่นใจว่าขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าหน่วยลงทุนของเราครบกำหนดแล้วหรือยัง สามารถตรวจสอบหน่วยลงทุนที่ครบอายุขายคืนผ่าน บลจ.ที่เราลงทุนได้
ย้ำอีกครั้ง ว่าก่อนขาย LTF คืน ควรตรวจสอบให้ดีว่าขายถูกต้องตามเงื่อนไขการลงทุน ถ้าตรวจสอบแน่ใจแล้วก็มาดูที่คำถามสำคัญกันเลย
เราควรขาย LTF ที่ถือครบกำหนดออกไปหรือไม่ และ ถ้าขายแล้ว เอาเงินไปไหนต่อดี ?”
คำตอบคือ ขึ้นกับความต้องการของเรา โดยมีทางเลือกใหญ่ๆ เพื่อใช้จัดการกับกองทุน LTF ครบกำหนดอย่างน้อย 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1
ถือกองทุน LTF ที่ครบกำหนดแล้วต่อไป
กรณีนี้ สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีแผนการใช้เงิน และมีเงินสดมากพอที่จะลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีรอบปี 2566(กองทุน SSF หรือ กองทุน RMF) โดยไม่จำเป็นต้องขายกอง LTF ที่ครบกำหนดออกมา Re-Invest เลย และไม่ต้องการปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนจากกอง LTF เดิม เพราะพอใจกับผลการดำเนินงานซึ่งลงทุนในหุ้นไทย 100% อยู่แล้ว
ข้อดี
คือ ง่าย ไม่ต้องทำอะไร
ข้อเสีย
คือ ไม่ได้บริหารพอร์ตอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงการปรับพอร์ตจากตลาดหุ้นไทยเพื่อกระจายไปยังการลงทุนตลาดอื่นๆที่โอกาสกำลังเปิดกว้างในระยะยาว และการบริหารเม็ดเงินลงทุนที่สามารถใช้เม็ดเงินชุดเดิม วนมาลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF ได้โดยไม่ต้องเติมเม็ดเงินใหม่
ทางเลือกที่ 2
ขายกองทุน LTF ที่ครบกำหนดแล้วนำเงินมาใช้จ่าย
นักลงทุนจำนวนไม่น้อย มักขายกองทุน LTF เมื่อครบกำหนดเวลา โดยไม่ได้สนใจว่าผลตอบแทนที่ได้จาก LTF ณ ขณะนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะถือว่า ได้กำไรมาแล้วตั้งแต่ใช้ลดหย่อนภาษี ซึ่งทางเลือกในการใช้เงินนั้นเปิดกว้าง ตั้งแต่
· ให้รางวัลแก่ตนเอง เช่น ซื้อของที่อยากได้ ท่องเที่ยวในที่ที่อยากไป ฯลฯ แต่ก็ต้องระมัดระวังวังการใช้เงิน ควรให้รางวัลชีวิตในระดับพอดี เพิ่มพลังชีวิตให้เดินหน้าได้อย่างมีพลัง
· ใช้ลดภาระหนี้ก้อนใหญ่ที่ยังผ่อนจ่ายอยู่ เช่น โปะหนี้รถยนต์ โปะหนี้บ้าน ซึ่งจะช่วยลดเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายในอนาคตได้ การมีหนี้น้อยตัวเบา ก็สร้างพลังชีวิตได้เช่นกัน
· ใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี กรณีนี้คือโครงการช้อปดีมีคืน (1 ม.ค.-15 ก.พ. 2566) ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินการใช้จ่ายที่ได้ทั้งสิ่งของที่ต้องการและยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย
ข้อดี
คือ ได้นำเงินสดออกมาใช้จ่ายในแบบที่ต้องการ
ข้อเสีย
คือ การขายกองทุนหุ้น เป็นการลดสัดส่วนการลงทุน ซึ่งอาจจะกระทบเป้าหมายการลงทุนระยะยาวของเรา อย่าลืมว่ากอง LTF ที่ครบกำหนดนั่นคือเงินออมเงินลงทุน ถ้าเราขายเพื่อใช้จ่ายก็จะหมดไปอย่างน่าเสียดาย เพราะที่สุดท้ายแล้วมนุษย์เงินเดือน คนทำธุรกิจ ฟรีแลนซ์ จำเป็นต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้ลงทุนระยะยาวเพื่อเป้าหมายสร้างพอร์ตการลงทุนเพื่อวัยเกษียณด้วย การขายกองทุนโดยไม่มีการนำเงิน Re-Invest กลับมาลงทุนเลย จะทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายหรือไปถึงได้ช้าลง
ทางเลือกที่ 3
ขายกองทุน LTF ที่ครบกำหนด แล้วนำมาลงทุนต่อ(Re-Invest) เพื่อไปถึงเป้าหมายระยะยาว
ทางเลือกนี้คือการเดินเส้นทางนักลงทุนที่มีการแยกส่วนเงินลงทุนออกจากเงินใช้จ่ายอย่างชัดเจน เมื่อถือครองครบกำหนดแล้วก็ยังคงเลือกที่จะเปลี่ยนรูปแบบจากกอง LTF เดิม ไปสู่กองทุนใหม่เพื่อรักษาสัดส่วนการลงทุนให้คงเดิมและเพิ่มขึ้นตามเวลา สำหรับผู้ที่ต้องการปรับแผนการลงทุนใหม่หรือผู้ที่มีเม็ดเงินลงทุนจำกัด แต่ยังต้องการได้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2566 นี้ ถือเป็นโอกาสดีที่เมื่อกองทุน LTF ครบกำหนดก็สามารถขายคืนได้ แล้วนำเงินมาลงทุนต่อในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน SSF หรือกองทุน RMF ได้ เนื่องจากทั้ง 2 กองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายกว่า ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ หุ้นตามธีม รวมทั้งตราสารหนี้และพันธบัตร ฯลฯ โดยเราสามารถเลือกลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยง และความสนใจได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้มากขึ้นอีกด้วย
หากยังไม่แน่ใจกับสภาพตลาดที่ยังคงผันผวน เงินเฟ้อยังอยู่ การขึ้นดอกเบี้ยยังอยู่ สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังอยู่ และเศรษฐกิจถดถอยก็ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญอยู่ อยากขายกอง LTF แล้วพักเงินไว้ก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ตลาด แล้วค่อยหาจังหวะทยอยซื้อ SSF RMF ในโอกาสนี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ มีกองทุนนำเสนอเป็นทางเลือกไว้ดังนี้
SCBINCA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ อินคัม (ชนิดสะสมมูลค่า)
มีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน คือ
· เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PIMCO GIS Income Fund (กองทุนหลัก) Class Accumulation สกุลเงิน USD กองทุนหลักกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ประเภทต่างๆทั่วโลก ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าสินทรัพย์
· ชื่อบลจ.ที่บริหารกองทุนหลัก PIMCO Global Advisors (Ireland) Limited
· กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) โดยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
· กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
SCBGSIF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล สตราทีจิก อินเวสเมนท์ (ชนิดสะสมมูลค่า)
มีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน คือ
· เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PIMCO Global Investment Grade Credit (Institutional share class) (กองทุนหลัก) กองทุนหลักลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสินทรัพย์ทั้งหมดในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้
· ชื่อบลจ.ที่บริหารกองทุนหลัก PIMCO Global Advisors (Ireland) Limited
· กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) รวมถึงการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากการลงทุน
· กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม : กองทุนไทยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ส่วนกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
SCBSET กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (ชนิดสะสมมูลค่า)
มีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน คือ
· ลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยเน้นลงทุนในหุ้นไทย ที่มีผลในการคำนวณดัชนี SET โดยผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ต่างๆที่กองทุนลงทุน จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนมีการเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกันกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนี SET มากที่สุด
· กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management)
· กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม : มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management/Index Tracking)
SCBINDO กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นอินโดนีเซีย (ชนิดสะสมมูลค่า)
มีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน คือ
· เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว(Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก) สกุลเงิน USD กองทุนหลักมุ่งหวังที่จะสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานของดัชนี MVIS Indonesia Index
· ชื่อบลจ.ที่บริหารกองทุนหลัก Van Eck Associates Corporation
· กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) โดยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในสกุลเงินต่างประเทศเทียบกับสุกลเงินบาท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
· กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ส่วนกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
และสำหรับนักลงทุนที่อายุประมาณ 50 ปี อยากย้าย LTF ครบกำหนดอายุไปซื้อกอง RMF เพื่อวนลงทุนรับผลประโยชน์ทางภาษีและถือครองกองทุนอีกเพียง 5 ปี(อายุ 55 ปี)ก็จะครบกำหนด และ
ต้องการปกป้องเงินต้น
ก็จะมีกองความเสี่ยงต่ำอย่าง
· SCBRM1 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ เน้นการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐและบริษัทที่มีความมั่นคงและพื้นฐานดีและ/หรือเงินฝากระยะสั้นเพื่อสภาพคล่องซึ่งกำหนดอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน) ไม่เกิน 1 ปี เพื่อลดความผันผวนจากการลงทุน
· SCBRM2 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการเลี้ยงชีพ เน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้อาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง และลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะตัดสินใจในการลงทุนอย่างไร เพื่อให้การลงทุนของเราเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เราควรศึกษาข้อมูลของแต่ละกองทุนให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน พิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยงในระดับที่รับได้ และอย่าลืมวางแผนเป้าหมายการเงินระยะยาวเอาไว้เพื่อความมั่นคงในอนาคต
สนใจลงทุนใน SCBINCA, SCBGSIF, SCBSET, SCBINDO, SCBRM1 และ SCBRM2 วันนี้ เริ่มต้นยังไง ?
ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้
1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
SCBINCA https://www.scbam.com/fund/morningstar/fund-information/scbinca
SCBGSIF https://www.scbam.com/fund/foreign-investment-fund-mixed/fund-information/scbgsif
SCBSET https://www.scbam.com/fund/index-fund/fund-information/scbset
SCBINDO https://www.scbam.com/fund/foreign-investment-fund-equity/fund-information/scbindoa
SCBRM1 https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrm1
SCBRM2 https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrm2
คำเตือน:
· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
· กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
· ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
· กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนรวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB EASY App
#SCB x #นิ้วโป้งFundamentalVI
#SCBEASY #SCBINCA #SCBGSIF #SCBSET #SCBINDO #SCBRM1 # SCBRM2
#SSF #RMF #กองทุนลดหย่อนภาษี