ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เตรียมเกษียณอย่างไร ให้เหมือนมีเงินเดือนประจำ
สำหรับคนวัยทำงาน นอกจากการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับหน้าที่การงานและวางแผนอนาคตครอบครัวแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนต้องวาดฝันถึงการใช้ชีวิตบั้นปลายหลังเกษียณบ้าง บางคนเริ่มวางแผนตั้งแต่เมื่อแรกเข้าทำงาน ดูแลและเข้มงวดกับตัวเองตั้งแต่รายรับรายจ่าย เงินเดือนเดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้าย รวมไปถึงการวางแผนเพิ่มพูนเงินออม แต่มีอีกหลายๆ คนไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้เลยสักครั้ง คิดว่าใกล้ๆ ถึงอายุเกษียณค่อยเตรียมตัวก็คงทัน การใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นอีกจุดเปลี่ยนของชีวิตที่หยุดทำงานประจำและไม่มีรายได้ประจำหลักอีกต่อไป แต่ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเหมือนเดิม
แล้วเราจะวางแผนอย่างไรให้เกษียณสุข ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าเมื่อเกษียณแล้วจะมีรายได้อะไรเป็นสวัสดิการเข้ามาบ้าง อันดับแรกคือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นสวัสดิการช่วยเหลือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทุกคน เริ่มต้นที่ 600 บาทต่อเดือน และจะปรับขึ้นตามช่วงอายุ ต่อมา หากเรามีประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน เราก็จะได้เงินบำนาญชราภาพ เริ่มต้นที่ 3,000 บาทต่อเดือน และจำนวนเงินจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะวางแผนเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับช่วงเวลานั้นอย่างไร
ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณที่อายุ 60 ปี เดือนละ 30,000 บาท เป็นระยะเวลา 25 ปี จนถึงอายุ 85 ปีที่คิดว่าเราจะจากไปในช่วงนั้น ดังนั้นเราจะต้องมีเงินประมาณ 30,000 บาท คูณด้วย 300 เดือน (25 ปี x 12 เดือน) หลังเกษียณ ก็เท่ากับ 9 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย แล้วเราจะต้องเริ่มอย่างไรเพื่อให้มีเงินเพียงพอรองรับยามเกษียณตามที่ตั้งใจ
เป็นที่คุ้นเคยกันดีสำหรับผู้ที่มีรายได้และมีหน้าที่เสียภาษี ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) และประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งการจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไหนหรือควรซื้อทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับแผนที่วางไว้ของแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเบื้องต้นในการตัดสินใจ จึงสรุปคุณลักษณะของกองทุน RMF และประกันชีวิตแบบบำนาญ ได้ดังนี้
กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
สำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังจะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำไปหักลดหย่อนภาษี คือหากเราไม่ได้ซื้อประกันชีวิตทั่วไปที่เป็น 100,000 บาทแรก สามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท และด้วยคุณสมบัติของประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการกำหนดผลประโยชน์ที่แน่นอน ไม่ซับซ้อน เป็นรูปแบบการเก็บเงินที่แทบจะไม่มีความเสี่ยง จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการใช้เป็นเครื่องมือบริหารการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ
อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเบื้องต้นได้หลากหลายช่องทาง หรือแม้แต่ธนาคารเองก็จะมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญไว้บริการเช่นกัน อย่างที่ SCB จะมีประกันชีวิตแบบบำนาญให้เลือก 3 แบบตามระยะเวลาที่ต้องการเก็บเงิน คือแบบชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี 10 ปี และจนถึงอายุ 60 ปี โดยทุกแบบจะจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญทุกปีตั้งแต่อายุ 60-85 ปี และเงินบำนาญที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดตามปีที่กำหนด ซึ่งการที่เราได้รับเงินคืนเป็นงวดๆ หลังจากเกษียณนั้น สามารถเป็นวิธีการหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการบริหารการเงินหลังจากที่เราไม่ได้มีรายได้แล้ว พร้อมความคุ้มครองชีวิตตลอดสัญญาเพื่อความอุ่นใจของคนข้างหลัง
ข้อสำคัญสำหรับการเก็บเงินบริหารการเงินเพื่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ ไม่ว่าจะใช้รูปแบบเก็บเงินวิธีไหน เรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ คิดก่อนเริ่มก่อนจะได้เปรียบกว่า เพราะเราจะมีเวลายาวนานขึ้นในการเก็บสะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจ ก้าวสู่การเดินทางครั้งใหม่และให้การใช้ชีวิตยามเกษียณเต็มไปด้วยรอยยิ้ม
หากท่านใดสนใจสามารถขอคำแนะนำหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันเพื่อลดหย่อนภาษีได้ที่ SCB ทุกสาขา
หมายเหตุ:
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
บทความโดย คุณณาตยา สุขุม EVP, ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ผลิตภัณฑ์ประกัน สายงาน Bancassurance กลุ่มธุรกิจประกัน
ขอบคุณที่มา :
The Standard Wealth