ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
น้องมีบุญชวนทำบุญ เสริมสร้างบารมี บูชาท้าวเวสสุวรรณ ทั่วไทย
ก่อนหน้านี้ น้องมีบุญชวนเพื่อนๆ สายมูไปร่วมทำบุญบูชาท้าวเวสสุวรรณในจังหวัดกรุงเทพ และใกล้เคียงกันไป (สามารถอ่านเพิ่มเติม ได้ ที่นี่ วันนี้จึงอยากจะชวนเพื่อนๆ ร่วมสักการะบูชาท้าวเวสสุวรรณที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ กันบ้าง
สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สะดวกเดินทาง สามารถร่วมทำบุญได้ง่ายๆ เพียงเปิดแอป และสแกน QR Code ก็สามารถทำบุญสุขใจได้เลย
วัดจุฬามณี
วัดเก่าแก่ที่มีอายุเกือบ 400 ปี เดินมีชื่อว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ช่วงปี พ.ศ. 2172-2190 โดยได้รับจิตศรัทธาจากท่าวท้าวแก้วผลึก ธิดาคนหนึ่งของท่านพลายซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด ต้นสกุลบางช้าง เป็นผู้สร้าง
ต่อมาในช่วงกรุงศรีอยุธยามีศึกสงครามกับพม่า ท่านนาค (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) พระอัครชายาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระครรภ์ ได้หนีมาหลบซ่อนในป่าทึบหลังวัดจุฬามณี และได้มีพระสูติการท่านฉิม หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สันนิษฐานว่าสถานที่ประสูติน่าจะเป็นใกล้ต้นจันทน์ และยังมีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งในขณะนั้นก็ทรงครรภ์เช่นกัน และได้มาหลบยังที่แห่งนี้พร้อมมีประสูติการเป็นพระธิดา คือ เจ้าฟ้าบุญรอด หรือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เดิมทีนั้น วัดจุฬามณีเคยเป็นวัดที่มีความรุ่งเรืองในสมัยที่อธิการเนียมเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 แต่เมื่อสิ้นท่านไปในปี พ.ศ. 2459 วัดก็แทบจะกลายเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาไม่กี่รูป สภาพวัดเสื่อมโทรม กำนันตำบลปากง่าม (ตำบลบางช้างในปัจจุบัน) ได้อาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ซึ่งเป็นพระลูกวัดบางกะพ้อม มาครองวัด เพื่อทำการดูแลไม่ให้วัดแห่งนี้ต้องกลายเป็นวัดร้างในที่สุด เมื่อหลวงพ่อแช่มมาจำพรรษาที่นี่ ท่านได้เริ่มการปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์และสร้างศาลาการเปรียญ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นจึงให้พระเนื่อง โกวิโท ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ท่านก็ได้ทำการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรมลง และต่อมาพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยเพียง 32 ปี ท่านได้สร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่จนเสร็จเป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน มีการปูพื้นชั้นบนสุดด้วยหินหยกสีเขียว จากการาจี ประเทศปากีสถาน
ภายในวัด ยังมีศาลาหลวงปู่เนื่องที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ฝาผนังลงรักปิดทอง บอกเล่าเรื่องทศชาติชาดก และส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าเป็นลายรดน้ำเรื่องนารายณ์สิบสองปาง และยังมีท้าวเวสสุวรรณที่ใครๆ ก็ต้องห้ามพลาด ในการไปกราบไหว้ขอพร เสริมสิริมงคล ทั้งในเรื่องการงาน การเงิน การเรียน และการเดินทาง
ที่อยู่ 93 หมู่ที่ 9 ถ. สมุทรสงคราม - บางแพ ตำบล บางช้าง อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม 75110
วัดหน้าต่างนอก
วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2300 หรือช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มาของชื่อวัดหน้าต่างนอกสันนิษฐานว่าอาจเป็นไปได้จาก 2 สาเหตุคือ ในสมัยนั้นกองทัพพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และตั้งค่ายทหารใกล้กับสะพานสีกุก อยุธยาจึงให้ทหารสอดแนมดูความเคลื่อนไหวของกองทัพพม่าโดยการเปิดหน้าต่าง ซึ่งมีทั้ง 2 แห่งคือ ‘หน้าต่างใน’ อันหมายถึงบริเวณที่ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดหน้าต่างใน ส่วน ‘หน้าต่างนอก’ หมายถึงบริเวณนอกทุ่ง ที่เป็นที่ตั้งวัดหน้าต่างนอกนั่นเอง ส่วนอีกข้อสันนิษฐานคือ ในสมัยก่อน พระภิกษุมีความเคร่งครัดในด้านการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน และเดิมที คาดว่าที่ตั้งของวัดหน้าต่างนอก เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดหน้าต่างใน ที่พระภิกษุใช้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และน่าจะมีการสร้างเสนาสนะขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ ต่อมา หลวงปู่เณรจึงได้ตั้งชื่อวัดด้วยอรรถโดยธรรมก็เป็นได้ กล่างคือ วัดหน้าต่างนอก หมายถึง อายตนะภายนอก เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ ส่วนวัดหน้าต่างใน หมายถึง อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ที่วัดหน้าต่างนอกแห่งนี้ ได้มีพิธีหล่อท้าวเวสสุวรรณ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 9.19น. เป็นองค์ท้าวเวสสุวรรณปางนั่งบัลลัง ขนาดความสูงประมาณ 2.3 เมตร โดยที่วัดแห่งนี้เคยมีการสร้างท้าวเวสสุวรรณมาแล้วเมื่อปีพ.ศ.2536 ในตอนนั้นหลวงพ่อแม้นเพิ่งมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ยังไม่เจริญ อาจเรียกได้ว่าเกือบเป็นวัดร้าง ต่อมาอดีตเจ้าคณะอำเภอบางไทร ได้บอกกับท่านว่า "พระครู ทำไมไม่สร้างท้าวเวสสุวรรณ ที่วัดละ วัดจะได้ใหญ่โต เจริญรุ่งเรือง" แต่ในตอนนั้นท่านไม่มีเงิน และวัดก็ไม่มีเงินเช่นกัน ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐาน ขอบารมีปู่เวสสุวรรณ ไม่นานนัก มีญาติโยมมาถวายเงินขอเป็นเจ้าภาพสร้างให้ หลังจากสร้างเสร็จ วัดก็เจริญขึ้น สามารถสร้างอุโบสถ สร้างศาลาได้ใหม่ กลายเป็นวัดที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบมา
ที่อยู่ ตำบล หน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13190
วัดจอมเกษ
วัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมทีมีชื่อว่า ‘วัดจอมปลวก’ เนื่องจากรอบบริเวณวัดมีจอมปลวกมากมาย ครั้งหนึ่งมีเจ้าจอมเสด็จมาทางชลมารคเพื่อมาบำเพ็ญกุศล และเปลี่ยนนามใหม่ให้กับวัดเป็น ‘วัดจอมเกษ’ ที่นอกจากจะไพเราะขึ้นแล้ว ก็ยังมีความหมายดีขึ้นอีกด้วย ในปีพ.ศ.2312 ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นวัด และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.2315
ภายในบริเวณวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิที่เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ซึ่งมักเรียกว่า ‘หลวงพ่อโต’ โดยสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2458 นอกจากนั้น ในวัดยังมีรูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่ที่อุโบสถ ต้นโพธิ์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปีถึง 3 ต้น และในด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะเก่าแก่สามารถเห็นได้จากหอระฆังเก่า สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน รวมถึงหอสวดมนต์ที่สร้างด้วยไม้
สำหรับท้าวเวสสุวรรณของวัดแห่งนี้ เป็นที่รู้จักในนาม ‘ยักษ์นั่งวัดจอมเกษ’ โดยหลวงพี่เลี้ยง (พระครูใบฎีกาจีระพงษ์ ธีรวโร) ได้เล่าถึงที่มาของการสร้างท้าวเวสสุวรรณว่าเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่งท่านได้ยินเสียงแว่วในยามรุ่งสาง ว่าให้สร้างท่านท้าวเวสสุวรรณขึ้นมาในวัดแห่งนี้ และที่สร้างเป็นยักษ์นั่ง ก็เพราะที่รอบโบสถ์ จะมียักษ์นั่งเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีโดยรอบ สร้างขึ้นเมื่อครั้งสมัยเจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ ได้ยินเสียงร่ำลือจากชาวบ้านที่ว่าที่วัดจอมเกษยักษ์ดุ ไก่มาก็หาย นกบินมาก็หาย จึงสร้างองค์ท้าวต่างๆ ไว้เพื่อช่วยปกปักรักษาคุ้มครองนั่นเอง
ที่อยู่ ตำบล ขยาย อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220
วัดป่าดาราภิรมย์
เดิมที ที่นี่เป็นป่าช้าร้างใกล้กับสวนเจ้าสบาย พระตำหนักดาราภิรมย์ของเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ และเป็นพระราชชายาในรัชกาลที่ 5 ต่อมา พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ได้ธุดงค์มาทางภาคเหนือ เข้าพำนัก และบำเพ็ญกรรมฐานที่ป่าช้าร้างแห่งนี้ เมื่อชาวบ้านเห็นก็ต่างพากันเลื่อมใสศรัทธา จึงร่วมมือร่วมใจกันสร้างเสนาสนะต่างๆ ถวายเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ และประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2481 จนเมื่อปีพ.ศ.2484 เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าดารารัศมี ได้ถวายที่ดินซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานพระตำหนักให้แก่วัด วัดป่าดาราภิรมย์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
ภายในวัด งดงามไปด้วยสถาปัตยกรรม และศิลปะแบบล้านนา ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐาน ‘พระสยัมภูโลกนาถ’ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะสุโขทัย ส่วนภายในวิหารหลวงอันงดงามประดิษฐานพระพุทธมหาธรรมมิกราชเจ้าพระเจ้าธรรมจักรพรรดิ์ ซึ่งวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 และพระราชชายาเจ้าดารารัศมี นอกจากนั้นยังมีมณฑปพระจุฬามณีศรีบรมธาตุ และมณฑปพระเจ้าทันใจอีกด้วย
สำหรับท้าวเวสสุวรรณที่วัดป่าดาราภิรมย์นั้น ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าวัด เชื่อว่าเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง ผู้คนจึงมักมาบูชา ขอพรด้านการเงิน และที่นี่ยังมีเหรียญองค์ท้าวเวสสุวรรณให้เช่าบูชามาแล้วหลายรุ่นอีกด้วย
ที่อยู่ 514 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ 50180
วัดสุชน
วัดเก่าแก่อีกแห่งของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เดิมทีถูกใช้เป็นที่ตั้งค่ายในสมัยพระเจ้าตากสิน เพื่อยกทัพไปตีก๊กพระยานครเมื่อปีพ.ศ.2312 โดยก๊กพระยานครนั้นตั้งอยู่ที่บ้านบางค่าย ทำแพตามแนวคลองเพื่อให้ทหารข้ามไปรบ จึงเรียกบริเวณนั้นว่าบ้านทัพข้าม แต่เพี้ยนเสียงเรื่อยมาจนเป็นทัพขาม
ภายในวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถซึ่งประดิษฐานสมเด็จพระพุทธชยันตีศรีสุชน พระพุทธรูปปางเสวยวิมุตติสุข ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในโลก สร้างโดยศิลปะสกุลช่าง 4 สมัย คือ เชียงแสน สุโขทัย ศรีวิชัย และอินเดีย
สำหรับองค์ท้าวเวสสุวรรณที่วัดแห่งนี้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก และยังมีองค์ท้าวเวสสุวรรณประจำวันเกิดด้วย
ที่อยู่ 120 หมู่ 2 ตำบล สิชล อำเภอ สิชล นครศรีธรรมราช 80120
น้องมีบุญ พาท่องเที่ยวสุขใจ ไหว้พระ ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกันแล้ว ขอชวนมาบริจาคเงินทำบุญแบบ E-Donation บำรุงศาสนสถาน สร้างบุญกุศลผ่านแอป SCB EASY กันต่อ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
>> สแกน QR Code ทำบุญทันใจ
>> กด “ยอมรับ” ให้ธนาคารที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลรายการนี้ ให้แก่ กรมสรรพากร และ/หรือ หน่วยรับบริจาค เพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
>> ใส่จำนวนเงินบริจาค กดปุ่มยืนยัน เพียงเท่านี้ เงินก็จะถูกส่งไปเข้าบัญชีของวัดโดยตรง
ข้อมูลบริจาคที่ส่งไปกรมสรรพากรจะถูกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยเราสามารถคลิกดูรายละเอียดข้อมูลที่บริจาค E-Donation ไปแล้ว ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง่ายสะดวกทันใจ สายบุญยุคดิจิทัล
สามารถเลือกวัดที่ต้องการทำบุญเพิ่มเติม ผ่านการ สแกน QR Code ได้ที่ >> https://www.scb.co.th/th/personal-banking/other-services/e-donation/e-donation-religious-sites.html
ทำบุญสุขใจ ผ่าน SCB EASY App โดยตรง เลือกวัดที่ต้องการทำบุญ ได้ที่ >> https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/easy-donation.html