บริการด้านชำระเงิน
SCB EASY Pay
บริการชำระเงินด้วย QR Code
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
น้องมีบุญ พาไหว้วัดปัง สายมู
เรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในประเทศไทยเรานั้นมีมานานแล้ว โดยเฉพาะวัดดังๆ ที่เหล่าบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายมาขอพรแล้วได้รับความสำเร็จตามที่ขอ เมื่อเห็นผลบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ ก็มีการบอกต่อจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง หลายคนที่มีความประสงค์อยากจะประสบความสำเร็จตามที่ปรารถนาเหมือนเช่นคนอื่นๆ บ้างก็นิยมเดินทางมาที่วัดเหล่านี้เพื่อสักการะทำบุญขอพร โดยวัดที่น้องมีบุญจะพาไปเยือนในวันนี้จะเป็นวัดปังๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่ม “สายมู” จะมีวัดอะไรกันบ้าง ตามน้องมีบุญไปเที่ยวกันเลย
วัดเทวราชกุญชร
วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีชื่อเดิมว่า “วัดสมอแครง” มีข้อสันนิษฐานว่า อาจจะมาจากต้นสมอที่กระจายอยู่ภายในวัด แต่ก็มีบางกลุ่มคาดว่าอาจจะเพี้ยนมาจากภาษาเขมร ซึ่งคำว่า “ถะมอ” ที่แปลว่า หิน เมื่อรวมกับคำว่า แครง จึงได้ความหมายว่า หินแกร่ง ก็เป็นได้
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ต้นราชสกุลกุญชร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดแห่งนี้จึงได้รับการอุปถัมภ์โดยราชสกุล “กุญชร” สืบต่อมา
จนเมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดสมอแครงได้ถูกใช้เป็นที่ฌาปนกิจศพของขุนนางฝ่ายวังหน้า ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงพระนคร และเป็นวัดในเขตความรับผิดชอบของวังหน้า นอกจากนี้ยังมีปรากฏหลักฐานในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 2 จุลศักราช 1183 เกี่ยวกับการฌาปนกิจ วัดแห่งนี้ยังคงได้รับการดูแล และปฏิสังขรณ์เสมอมาทั้งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในครั้งหลังนี้ ได้มีการยกสถานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง พร้อมพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเทวราชกุญชร” โดยคำว่า “กุญชร” หมายถึง ช้าง และ ”เทวราช” หมายถึง พระอินทร์
ต่อมาในปี พ.ศ.2546 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานนามของพระประธานว่า พระพุทธเทวราชปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถที่มีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม อาทิ ภาพพุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดา ทศชาติชาดก ตอนสุวรรณสามชาดก และภาพเครื่องตั้งบูชาแบบจีน
นอกจากนี้ ยังมีพระวิหาร มณฑปจตุรมุขที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พิพิธภัณฑ์สักทอง และหอพระรัตนตรัยอันเป็นสถานที่สำคัญของวัดแห่งนี้อีกด้วย
สำหรับสายมู ที่วัดแห่งนี้มี “องค์อมรินทรเทวราช” หรือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร ที่ผู้คนให้ความศรัทธา และมากราบไหว้สักการะ ขอพรเสริมสิริมงคลกันเป็นประจำ
ที่อยู่ 90 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล แขวง ดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
วัดยานนาวา
อีกวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านเมืองมาตั้งแต่กรงศรีอยุธยา ชื่อว่า “วัดคอกควาย” ต่อมาได้รับการยกสถานะวัดเป็นพระอารามหลวง ในสมัยกรุงธนบุรี และเมื่อถึงสมัยพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างพระอุโบสถ พระราชทานวิสุงคามสีมา และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า " วัดคอกกระบือ " ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิต เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดยานนาวาซึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ไว้ พร้อมทั้งทรงให้สร้างพระเจดีย์ มีฐานเป็นสำเภาเท่าขนาดเรือสำเภาจริง ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย จนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2387 และพระราชทานนามว่า “วัดญาณนาวาราม” ซึ่งในตอนนั้น ทรงมีพระราชดำรัสว่า “คนภายหน้าอยากจะเห็นว่า เรือสำเภาเป็นอย่างไรจะได้มาดู” เรือสำเภานี้จึงเปรียบได้ดังอนุสรณ์สำหรับคนรุ่นหลังนั่นเอง เพราะในยุคนั้น การเดินทางเพื่อค้าขายมักใช้เรือสำเภาเพื่อการเดินทาง ขนส่งสินค้า แต่เรือกำปั่นของฝรั่งก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จึงทรงพยากรณ์ว่าในไม้ช้า เรือสำเภาก็จะสูญหายไปในที่สุด
พระอุโบสถรูปเรือสำเภานี้ สร้างเทียบเท่ากับขนาดจริง คือ ความยางด้านบนตั้งแต่หงอนข้างบนถึงท้ายบาหลี 21 วา 2 ศอก ส่วนความยาวด้านล่างวัดแต่พื้นดินตลอดลำ 17 วา 1 ศอกเศษ ส่วนกว้างตอนกลางลำ 4 วา 3 ศอก ส่วนสูงตอนกลางลำ 2 วา 3 ศอก มีพระเจดีย์อยู่ในลำสำเภา 2 องค์ องค์ใหญ์ฐานกว้าง 3 วา 1 ศอกเศษ สูงจากพื้นถึงยอด 6 วา (1 วา เท่ากับ 2 เมตร และ 1 ศอก เท่ากับ 50 เซนติเมตร) พระอุโบสถนี้จัดเป็นงานศิลปกรรมที่สวยสมบูรณ์ มีเอกลักษณ์ หน้าบันที่มีช่วงหลวงทำเป็นลายเทพพนม ประดับด้วยลวดลายสัตว์หิมพานต์
สายมูที่ทำการค้าขาย ห้ามพลาดที่จะมาทำบุญสักการะที่นี่ เพราะเชื่อว่าหากใครได้ไหว้บูชา จะทำให้การค้าเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา
ที่อยู่ 40 ถ. เจริญกรุง แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
วัดมหาบุศย์
ความเก่าแก่ 200 กว่าปี ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายของวัดมหาบุศย์ หรือที่ใครหลายคนอาจเรียกจนติดปากว่า “วัดแม่นาคพระโขนง” แต่เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดสามบุตร” โดยมีชายสามคนซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้ร่วมกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา โดยสร้างขึ้นจากไม้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดชำรุดทรุดโทรมได้ง่ายจนในที่สุดก็กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาพระมหาบุตร ผู้ซึ่งได้เปรียญ 5 ประโยค สำนักวัดเลียบ เดินทางมาที่บริเวณนี้เพื่อเยี่ยมญาติโยม ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ เพื่อบูรณะวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนละแวกคลองพระโขนง และเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น “วัดมหาบุตร” ตามนามของท่าน และได้มีการเปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็น “วัดมหาบุศย์” ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2455 ได้มีการบูรณะวัด และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2459 ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ได้มีการรื้อถอนอุโบสถเก่าแล้วทำการสร้างขึ้นใหม่ หน้าบันสลักลายกนกไทยรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
วัดมหาบุศย์ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจาก “ศาลย่านาค” ที่มีคู่รักนิยมพากันมากราบไหว้ขอพรตามตำนานแม่นาคพระโขนง รวมไปถึงศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองที่ให้พรด้านการงาน การเรียน โชคลาภ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลเกณฑ์ทหารยังมีหนุ่มๆ หลายคน มาบนบานขอพรจากศาลเก่าที่วัดแห่งนี้ เพื่อไม่ให้จับได้ใบแดงแล้วต้องเข้าไปเป็นทหารด้วยเช่นกัน
ที่อยู่ ซอยสุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมมีชื่อเรียกว่า พระธมเจดีย์ ไม่ใช่วัดเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินสุวรรณภูมิ แต่มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า พระเจดีย์ใหญ่เป็นรูประฆังคว่ำ โครงสร้างเป็นไม้ซุงรัดด้วยโซ่ ก่ออิฐถือปูน และประดับด้วยกระเบื้องปูทับ มีวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พระปฐมเจดีย์แห่งนี้ อาจจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อคราวที่พระสมณทูตเดินทางมาเผยแผ่ศาสนา ด้วยพระเจดีย์มีลักษณะทรงโอคว่ำ เช่นเดียวกันกับพระสถูปสาญจี แต่มียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งอาจจะมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ และพระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย ครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ และพระราชทานนามใหม่ว่าประปฐมเจดีย์ ทรงเชื่อว่าที่นี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ แต่ในกาลต่อมามีการพบเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่กว่าประปฐมเจดีย์อีกหลายองค์
นอกจากนี้ ที่ลานชั้นลดด้านทิศใต้ มีพระประธานพระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี รวมถึงผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ ยังเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 และพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไว้อีกด้วย
ที่วัดแห่งนี้ มีการจัดนมัสการองค์ประปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวมทั้งหมดเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมชมความงามของเจดีย์แห่งนี้ในยามค่ำคืน มีอาหาร และมหรสพต่างๆ รวมทั้งร่วมทั้งสืบสานประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ตามความเชื่อแต่โบราณว่าหากถวายผ้ากาสาวพัสตร์แด่พระภิกษุสงฆ์ จะได้บุญกุศลยิ่งนักจึงทำให้ประเพณีดังกล่าวทำสืบเนื่องมาช้านาน
สำหรับสายมู เมื่อมาที่วัดแห่งนี้จะนิยมไปกราบสักการะ องค์พระปฐมเจดีย์ และพระร่วงโรจนฤทธิ์ เพื่อให้ประสบความสำเร็จสมหวังเกี่ยวกับ หน้าที่การงาน การเรียน สุขภาพ รวมไปถึงการขอบุตร
ที่อยู่ 27 ถนน เทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000
วัดจุฬามณี
วัดเก่าแก่ที่มีอายุเกือบ 400 ปี เดินมีชื่อว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ช่วงปี พ.ศ. 2172-2190 โดยได้รับจิตศรัทธาจากท่าวท้าวแก้วผลึก ธิดาคนหนึ่งของท่านพลายซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด ต้นสกุลบางช้าง เป็นผู้สร้าง
ต่อมาในช่วงกรุงศรีอยุธยามีศึกสงครามกับพม่า ท่านนาค (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) พระอัครชายาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระครรภ์ ได้หนีมาหลบซ่อนในป่าทึบหลังวัดจุฬามณี และได้มีพระสูติการท่านฉิม หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สันนิษฐานว่าสถานที่ประสูติน่าจะเป็นใกล้ต้นจันทน์ และยังมีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งในขณะนั้นก็ทรงครรภ์เช่นกัน และได้มาหลบยังที่แห่งนี้พร้อมมีประสูติการเป็นพระธิดา คือ เจ้าฟ้าบุญรอด หรือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เดิมทีนั้น วัดจุฬามณีเคยเป็นวัดที่มีความรุ่งเรืองในสมัยที่อธิการเนียมเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 แต่เมื่อสิ้นท่านไปในปี พ.ศ. 2459 วัดก็แทบจะกลายเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาไม่กี่รูป สภาพวัดเสื่อมโทรม กำนันตำบลปากง่าม (ตำบลบางช้างในปัจจุบัน) ได้อาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ซึ่งเป็นพระลูกวัดบางกะพ้อม มาครองวัด เพื่อทำการดูแลไม่ให้วัดแห่งนี้ต้องกลายเป็นวัดร้างในที่สุด เมื่อหลวงพ่อแช่มมาจำพรรษาที่นี่ ท่านได้เริ่มการปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์และสร้างศาลาการเปรียญ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นจึงให้พระเนื่อง โกวิโท ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ท่านก็ได้ทำการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรมลง และต่อมาพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยเพียง 32 ปี ท่านได้สร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่จนเสร็จเป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน มีการปูพื้นชั้นบนสุดด้วยหินหยกสีเขียว จากการาจี ประเทศปากีสถาน
ภายในวัด ยังมีศาลาหลวงปู่เนื่องที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ฝาผนังลงรักปิดทอง บอกเล่าเรื่องทศชาติชาดก และส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าเป็นลายรดน้ำเรื่องนารายณ์สิบสองปาง และยังมีท้าวเวสสุวรรณที่ใครๆ ก็ต้องห้ามพลาด ในการไปกราบไหว้ขอพร เสริมสิริมงคล ทั้งในเรื่องการงาน การเงิน การเรียน และการเดินทาง
ที่อยู่ 93 หมู่ที่ 9 ถ. สมุทรสงคราม - บางแพ ตำบล บางช้าง อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม 75110
น้องมีบุญ พาท่องเที่ยวสุขใจ ไหว้พระ ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกันแล้ว ขอชวนมาบริจาคเงินทำบุญแบบ E-Donation บำรุงศาสนสถาน สร้างบุญกุศลผ่านแอป SCB EASY กันต่อ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
>> สแกน QR Code ทำบุญทันใจ
>> กด “ยอมรับ” ให้ธนาคารที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลรายการนี้ ให้แก่ กรมสรรพากร และ/หรือ หน่วยรับบริจาค เพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
>> ใส่จำนวนเงินบริจาค กดปุ่มยืนยัน เพียงเท่านี้ เงินก็จะถูกส่งไปเข้าบัญชีของวัดโดยตรง
ข้อมูลบริจาคที่ส่งไปกรมสรรพากรจะถูกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยเราสามารถคลิกดูรายละเอียดข้อมูลที่บริจาค E-Donation ไปแล้ว ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง่ายสะดวกทันใจ สายบุญยุคดิจิทัล
สามารถเลือกวัดที่ต้องการทำบุญเพิ่มเติม ผ่านการ สแกน QR Code ได้ที่ >>
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/other-services/e-donation.html
ทำบุญสุขใจ ผ่าน SCB EASY App โดยตรง เลือกวัดที่ต้องการทำบุญ ได้ที่ >>
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/easy-donation.html
Description