ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ติดแผงโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านใช้แบบไหน และคำนวณอย่างไรให้คุ้มทุน
ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อสิบปีก่อนโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) อาจยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายหรือหายากมากที่จะได้เห็นบ้านเรือนในเมืองไทยติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือระบบโซลาร์รูฟกัน เพราะในอดีต ต้นทุนการติดตั้งนั้นเรียกว่าสูงทีเดียว ต้องเป็นบ้านที่มีกำลังทรัพย์มากๆ ถึงจะสามารถรับค่าใช้จ่ายนี้ได้ หรือบางบ้านอาจมีกำลังทรัพย์แต่เมื่อคำนวณการคืนทุนแล้วก็ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การติดตั้งคุ้มค่ามากขึ้น คืนทุนเร็วยิ่งขึ้น หลายบ้านเริ่มหันมาสนใจการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ส่วนหนึ่งเพราะกระแสรักษ์โลก การให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาด อีกส่วนหนึ่งนั้นก็คือเรื่องของความคุ้มค่าที่ได้ ความต้องการลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน หรือแม้แต่การขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีนโยบายให้การสนับสนุนมากขึ้นด้วยการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ผ่านโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม แม้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะสามารถช่วยลดค่าไฟได้จริง แต่จะคุ้มทุนหรือจะสามารถคืนทุนได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ รูปแบบการใช้ไฟของเจ้าของบ้านแต่ละหลัง เปรียบเทียบง่ายๆ หากเราลงทุนกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ในมูลค่าที่เท่ากัน บ้านที่มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่และใช้ไฟฟ้ามากย่อมคืนทุนเร็วกว่าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย และที่สำคัญที่สุดต้องเป็นบ้านที่ใช้ไฟในตอนกลางวันเป็นหลัก คือผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลยจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด (ระบบ On grid) เพราะในปัจจุบันระบบเก็บไฟฟ้า (Energy Storage) สำหรับใช้ในบ้านยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้การคุ้มทุนอาจนานขึ้นตามไปด้วย
บ้านแบบไหนที่ติดโซลาร์เซลล์แล้วคุ้ม
อย่างที่กล่าวไปตอนต้น ควรต้องเป็นบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันคือผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แล้วนำมาใช้งานเลย เช่น บ้านพักอาศัยที่มีพ่อแม่อยู่บ้าน คนวัยเกษียณ คนที่ทำงานที่บ้าน แบบ Work from home หรือ Home Office ทั้งหลาย กลุ่มคนเหล่านี้เหมาะสมเป็นอย่างมาก ระบบโซลาร์รูฟแบบ On grid ซึ่งคือระบบที่ต่อเชื่อมกับโครงข่ายการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับ อินเวอร์เตอร์ (Grid-tie Inverter) ที่จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ทันที ไม่มีการเก็บไฟไว้ เป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกันด้วยราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น และยังสามารถขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตเหลือระหว่างวันคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ด้วย โดยค่าไฟขั้นต่ำต่อเดือนที่แนะนำหรือเหมาะสมกับการติดโซลาร์เซลล์ จะอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท
หลักในการติดตั้งเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ก่อนอื่นต้องประเมินขนาดพื้นที่หลังคาและสำรวจให้ละเอียด ว่าควรติดตั้งทิศทางไหนและตำแหน่งใด ซึ่งมีหลักง่ายๆ ในการเลือกพื้นที่และทิศทางในการติดตั้งดังนี้
ทิศทางแสงแดด – ทิศทางที่เหมาะสมที่สุดเป็นทิศใต้เพราะได้รับแสงแดดทั้งวัน ส่วนทิศตะวันตกจะได้รับแสงในช่วงบ่าย แต่ก็ต้องไม่มีวัตถุใดๆ มาบดบังการรับแสงด้วย รวมถึงความลาดชันควรประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด
ตำแหน่งการติดตั้ง – ปกติแล้วจะนิยมติดอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในการกระทบและรับแสงอาทิตย์ แต่ทั้งนี้ควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงหลังคาก่อนว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการให้ได้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพที่ดีควรเผื่อพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 %
ต้องติดตั้งเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน
แน่นอนว่าโซลาร์เซลล์คุ้มทุนในระยะยาว เช่น ประมาณ 7-8 ปี หลังจากติดตั้ง (*ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย) แต่เพราะฉะนั้นเราต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในบ้านช่วงกลางวันก่อนว่าควรเลือกขนาดกำลังการติดตั้งเท่าไหร่จึงจะพอดีกับการใช้งาน โดยสามารถเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อนเบื้องต้น ตามขั้นตอนนี้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟ จะรวมค่าอุปกรณ์อย่างตัวแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ยึดแผง สายไฟและอื่นๆ อยู่แล้ว ยกเว้นในกรณีที่พื้นที่หน้างานมีความจำเป็นต้องดัดแปลงหรือเพิ่มเติมใดๆ โดยรวมแล้วราคาตั้งต้นจะอยู่ที่สำหรับระบบ 150,000 บาทสำหรับระบบขนาด 3 กิโลวัตต์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ที่เลือก แต่ถ้าถามว่าคุ้มมั้ย? ต้องลองคำนวณตามวิธีด้านบนกับผลที่ได้ในระยะยาว เพราะยิ่งถ้าไม่ได้มีแผนที่จะโยกย้าย เราต้องอยู่ในบ้านไปอีกนาน ถ้าคำนวณแล้วคุ้มการติดโซลาร์เซลล์ก็เป็นคำตอบที่ใช่สำหรับบ้านเรา เพราะนอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้กับสินทรัพย์ ประหยัดค่าไฟต่อเดือนแล้ว เรายังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันรักษาโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้นด้วย
*ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย รวมไปถึงสภาพแสงแดดหรือฝนฟ้าอากาศ
อ้างอิง