ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
บุญหล่นทับได้รับมรดกที่ดินต้องจัดการยังไง
เมื่อการจากลาของบุคคลที่รักไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ป้าน้าอา นอกจากจะทำให้ผู้ที่ประสบกับเรื่องดังกล่าวต้องเศร้าโศกเสียใจแล้ว หลังจากจัดงานศพตามประเพณี ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวกับลูกหลานนั่นก็ คือ การบริหารจัดการมรดกของผู้เสียชีวิต หนึ่งในมรดกที่คนรุ่นเก่าชอบซื้อสะสมไว้เพื่อส่งต่อให้ลูกหลานก็คือ “ที่ดิน” เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข. เกิดเสียชีวิตไป ที่ดินแปลงนั้นจะกลายเป็นมรดกตกทอดมายังทายาทของผู้เสียชีวิต ตามสิทธิ ตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรมที่เจ้ามรดกหรือผู้เสียชีวิตได้ทำไว้ ทั้งนี้ในทางกฎหมายทายาทที่มีสิทธิหรือทายาทโดยธรรมนั้นมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังกัน ดังนี้
1. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2. บิดา มารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา ทั้งนี้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับอีกด้วย
เมื่อทราบว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน ผู้นั้นจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ
ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ตัวอย่างการขอรับมรดกที่ดิน
ที่ดินของคุณพ่อและคุณแม่ได้เสียชีวิตแล้วทั้งคู่ โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และมีทายาท 4 คน เมื่อไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจึงตกแก่ทายาทโดยชอบธรรม โดยการขอรับมรดกที่ดินทำได้ 2 วิธี
ผู้จัดการมรดกจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก ได้แก่ คำสั่งศาลที่แต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือคำพิพากษา เพื่อนำไปแสดงต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าถูกต้องก็จะจดทะเบียนให้ และเมื่อได้จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ผู้จัดการมรดกสามารถขอยื่นจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทต่อไปได้
ทายาทผู้ขอรับมรดกต้องนำหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน, ใบมรณบัตร, ทะเบียนบ้าน, บัตรประจำตัวประชาชน, สูติบัตร ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการประกาศภายใน 30 วัน หากไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้านภายใน 30วัน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนให้
นอกจากนี้หากมีทายาทรับมรดกหลายคน หากมีบางคนจะมาขอจดทะเบียนรับมรดกทั้งหมด จะต้องนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนมาให้คำยินยอมหรือนำหลักฐานแสดงว่าไม่รับมรดกของทายาทคนนั้นมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดเวลาที่ประกาศไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนให้
ในกรณีที่ผู้ขอไม่สามารถนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนมาให้คำยินยอมหรือไม่สามารถนำหลักฐานการไม่รับมรดกของทายาทคนดังกล่าวมาแสดงตามกำหนดเวลาที่ประกาศไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ หากผู้ขอจะขอให้จดทะเบียนโอนมรดกให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะจดทะเบียนโอนมรดกให้ไปเท่าที่ผู้ขอมีสิทธิอยู่เท่านั้น
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเมื่อทายาทโดยชอบธรรมเห็นพ้องต้องกันในการรับโอนมรดกที่ดินเพียงแค่เตรียมเอกสารให้พร้อมก็สามารถจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินได้ตามสิทธิที่พึงได้รับ ยกเว้นเสียแต่ในกรณีที่เกิดมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งระหว่างทายาทโดยธรรมซึ่งก็ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาในชั้นศาลต่อไป หากคุณได้รับมรดกที่ดินแล้วอยากปลูกสร้างบ้าน สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านได้ ดูรายละเอียดที่นี่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loans/home-builder.html
ข้อมูล :